Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่องเที่ยว, เที่ยว, ท่อง , then ทยว, ทอง, ท่อง, ทองทยว, ท่องเที่ยว, เที่ยว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่องเที่ยว, 602 found, display 201-250
  1. บุษย์น้ำทอง : ดู บุษบราค ที่ บุษบ-.
  2. ประทัดจีน, ประทัดทอง, ประทัดใหญ่ : ดู ประทัด๒(๑).
  3. ปล้องทอง : น. ชื่องูชนิด Boiga dendrophila ในวงศ์ Colubridae ตัวโต ยาวประมาณ ๑.๗ เมตร สีดํามีลายสีเหลืองพาดขวางเป็นปล้อง ๆ ตลอดตัวอาศัยตามป่าโกงกางในภาคใต้ของประเทศไทย มีพิษอ่อน.
  4. ปิดทองหลังพระ : (สํา) ก. ทําความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะ เไม่มีใครห็นคุณค่า.
  5. เปล้าขลิบทอง : ดู กะอวม.
  6. ผ้าขี้ริ้วห่อทอง : (สํา) น. คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ.
  7. พ่อลิ้นทอง : (ปาก) น. คนที่พูดดี พูดเก่ง หรือพูดคล่องน่าฟัง.
  8. พิมพ์ทอง : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวยักษ์ หรือ ดาวสตภิสชะ ก็เรียก.
  9. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
  10. มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว : (สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
  11. ยี่สกทอง : ดู ยี่สก.
  12. ร่อนทอง : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  13. เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน : (สํา) น. คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทําให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น.
  14. ลายน้ำทอง : น. ลายหรือรูปภาพซึ่งเขียนเส้นทองบนพื้นสีหรือ เขียนสีบนพื้นทองบนเครื่องกระเบื้อง เช่นจาน ชาม กระโถน.
  15. ลิ้นทอง : ว. ที่พูดจาคล่องแคล่วไพเราะน่าฟัง.
  16. ลิ้นทอง : น. ชื่อนกชนิดหนึ่งตัวขนาดนกกรอด สีเหลืองหม่น ที่หัวมีสีเหลือง จัด. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ที่พูดจาคล่องแคล่ว ไพเราะน่าฟัง.
  17. สไบกรองทอง : น. ผ้าสไบที่ถักด้วยไหมทองไหมเงินให้เป็นลวดลาย โปร่งรูปดอกไม้เป็นต้น และมีผ้าซับในอีกชั้นหนึ่ง.
  18. สมิงทอง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  19. หงส์ทอง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  20. หมอนทอง : น. (๑) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. (๒) ชื่อทุเรียน พันธุ์หนึ่ง.
  21. หรดาลกลีบทอง : น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด เป็นแผ่นอัดแน่น หรือเป็นผง อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๔๙ สีเหลือง เป็นมัน มีสูตรเคมี As2S3 ใช้ประโยชน์เป็นสารให้สีเหลือง ใช้เขียนลายรดนํ้า สมุดดํา เป็นต้น. (อ. orpiment).
  22. หักทองขวาง : น. วิธีปักไหมทอง หักเส้นไปตามขวางลาย ใช้ปักเครื่องสูง.
  23. อำพันขี้ปลา, อำพันทอง : น. วัตถุสีเทาและสีเหลือง มีกลิ่นหอม ลอยอยู่ในทะเลหรือริมฝั่งทะเลของประเทศแถบร้อน เข้าใจว่า เป็นขี้ปลาวาฬชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
  24. เอาทองไปรู่กระเบื้อง : (สํา) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะตํ่ากว่า เป็นการไม่สมควร, เอาพิมเสนไปแลก กับเกลือ ก็ว่า.
  25. กัมพู : (แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กําพู กําภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).
  26. กระจับปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทำด้วยเงิน ทอง หรือนากเป็นต้น, จะปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม. จะปิ้ง).
  27. กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  28. กษัตริย์ : [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  29. กาญจน-, กาญจนา : [กานจะนะ-] (แบบ) น. ทอง. (ส.; ป. ก?ฺจน).
  30. จะปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม.); แผ่นโลหะที่ติดฝาหีบ สําหรับลั่นกุญแจ, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จะปิ้งหูกลอง จะปิ้งห่วงประตู.
  31. จับปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม. จะปิ้ง).
  32. จาน ๓ : (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นทอง. (ดู ทอง๒).
  33. ชาตรูป : น. ทอง. (ป., ส.).
  34. ดิ้น ๒ : น. เส้นเงิน ทอง หรือทองแดง สําหรับปักลวดลายบนผ้าหรือแพรเป็นต้น.
  35. ตะปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง จับปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก.
  36. ตับปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง จับปิ้ง หรือ ตะปิ้ง ก็เรียก.
  37. ทองกวาว : [-กฺวาว] (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นทอง. (ดู ทอง๒).
  38. ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
  39. ทองเครือ : ดู ทอง.
  40. ทองดำ ๑ : ดูใน ทอง.
  41. ทองแดง ๑ : ดูใน ทอง.
  42. ทั่ง : น. แท่งเหล็กสําหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิด เช่นเหล็ก ทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ.
  43. ไน ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cyprinus carpio ในวงศ์ Cyprinidae ตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ ในบางประเภทของปลา อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดําคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.
  44. ยี่สก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาว เพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดําเด่นพาด ตามยาวเฉพาะบนลําตัว ๗๘ แถบ ขนาดยาวกว่า ๙๐ เซนติเมตร, ยี่สก ทอง ก็เรียก.
  45. ไร ๓ : น. ทอง เช่น เรืองไร.
  46. แว่นเวียนเทียน : น. แว่นสำหรับใช้ติดเทียนทำขวัญ ทำด้วยเงิน ทอง หรือทองเหลือง รูปแบน ๆ มีปลายแหลมเหมือนใบโพสำหรับติด เทียน มีด้ามถือ.
  47. หิรัญ, หิรัญ- : [หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิร?ฺ?; ส. หิรณฺย).
  48. อวิญญาณกทรัพย์ : (กฎ; โบ) น. สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่ง นับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน.
  49. กนก : [กะหฺนก] (แบบ) น. ทองคํา เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กนกนัครา. (สมุทรโฆษ). (ป.; ส.).
  50. กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-602

(0.0892 sec)