Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่า , then ท่, ทา, ท่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่า, 407 found, display 101-150
  1. ถงาด : [ถะหฺงาด] ก. ทําท่าเผ่น, เยื้องท่า, ชะโงก, เงื้อม, ผ่านไป.
  2. ทอดสะพาน : ก. ใช้สื่อสายเข้าไปติดต่อทําความสนิทสนมกับผู้ที่ ต้องการคุ้นเคย, แสดงกิริยาท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย.
  3. ท่ามกลาง : น. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย. (ไทยเดิม ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).
  4. ทิ้งมะพร้าวห้าว : น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่า ทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, มัดหมู ก็ว่า.
  5. ที ๒ : น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ทีเสียที.
  6. เทพนม : [เทบพะนม] น. ชื่อรูปหรือลายมีเทวดาประนมมือ; ชื่อท่ามวย ท่าหนึ่ง, ชื่อท่ารําท่าหนึ่ง.
  7. เทวดายืนแท่น : น. เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่นว่า เทวดายืนแท่น.
  8. เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
  9. นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
  10. นางกราย : น. ท่ารําชนิดหนึ่งที่หมอช้างรําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จครั้งแรก แล้ว.
  11. นาฏ, นาฏ : [นาด, นาตะ, นาดตะ] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับ คําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.). นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละครหรือการฟ้อนรํา; (กฎ) งานเกี่ยวกับ การรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และ หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
  12. นายท่า : ( น. ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการที่ท่าเรือท่ารถ เช่นในการ ปล่อยเรือปล่อยรถตามกําหนดเวลาเป็นต้น.
  13. น้ำนิ่งไหลลึก : (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
  14. บทบาท : [บดบาด] น. การทําท่าตามบท, การรําตามบท, โดยปริยาย หมายความว่า การทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.
  15. บอกยี่ห้อ : (ปาก) ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคําพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัย ใจคอหรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น.
  16. แบะท่า : ก. ทําท่าเปิดโอกาสให้, ให้ท่า.
  17. แบะอก : ก. เปิดอกเสื้อแสดงท่าว่าเป็นนักเลงหรือไม่สุภาพ. ว. เรียกลักษณะการใส่เสื้อไม่กลัดกระดุมว่า ใส่เสื้อแบะอก.
  18. ประเท้า : ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
  19. ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
  20. ปัดเกล้า : น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งหมอช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ
  21. ปาง ๑ : น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง; ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ที่พักกลางป่าชั่วคราว เช่น ตั้งปาง.
  22. ปึ่ง ๑ : ว. ทําท่าไว้ยศไม่อยากพูดจาด้วย; ทําทีเฉยแสดงอาการคล้าย กับโกรธ, ปึ่งชา ก็ว่า.
  23. เป็นโล้เป็นพาย : ว. เอาการเอางาน, แข็งขัน, จริงจัง, ได้เรื่องได้ราว, เข้าท่าเข้าทางดี, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ทําไม่เป็นโล้เป็นพายเลย.
  24. เป่าฝุ่น : (ปาก) ก. หกล้มไม่มีท่า, พลาดพลั้งอย่างไม่เป็นท่า.
  25. ผาลาเพียงไหล่ : น. ชื่อท่ารําท่าหนึ่งในแม่ท่า.
  26. ผูก : ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือ ติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อ หรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วย เรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้าม กับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
  27. โผะ : ว. เสียงที่หมอและควาญช้างร้องเมื่อทําพิธีบํารูงาช้าง เป็นการ เยาะเย้ยเมื่อรําท่าต่าง ๆ แล้ว.
  28. พรหมสี่หน้า : [พฺรม] น. ชื่อกระบวนมวยท่าหนึ่ง, ชื่อกระบวนรํา ท่าหนึ่ง.
  29. พลิกตัว : ก. เปลี่ยนท่านอนจากท่าหนึ่งเป็นอีกท่าหนึ่งเช่นจากนอน หงายเป็นนอนตะแคง.
  30. พลิกแพลง : [แพฺลง] ว. ยักเยื้องถ่ายเทเป็นอย่างอื่น ๆ, ที่เปลี่ยนแปลง ให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา, เช่น พูดพลิกแพลง ทำพลิกแพลง เล่นพลิกแพลง เตะตะกร้อท่าพลิกแพลง. ก. กลับกลาย, เปลี่ยนแปลง, เช่น วิธีการพลิกแพลง; ดัดแปลง, ยักย้ายถ่ายเท, เช่น ช่างพลิกแพลง.
  31. พัดชา : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; ชื่อท่ารําท่าหนึ่ง.
  32. พิสมัยเรียงหมอน : น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า พรหมนิมิต พิสมัยเรียงหมอน. (ฟ้อน).
  33. เฟอะฟะ : ว. เลอะเทอะ เช่น น้ำเหลืองไหลเฟอะฟะ; ไม่เข้าท่า เช่น แต่งตัวเฟอะฟะ.
  34. ภาษาปาก : น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.
  35. มโนราห์ ๑ : น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารํา อย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
  36. มหาราชลีลา : น. เรียกท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลงเท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา.
  37. มองเสี้ยว : น. ท่าโขนท่าหนึ่ง.
  38. มัดหมู : น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอา มือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, ทิ้งมะพร้าวห้าว ก็ว่า.
  39. เมืองท่าปลอดภาษี : น. เมืองท่าหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในเขตเมืองท่าที่ การขนถ่ายสินค้าเข้าและสินค้าออกไม่ต้องเสียภาษี.
  40. แม่ท่า : น. แม่บท ท่าที่เป็นหลักของการรำ.
  41. แม่บท : น. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท; ท่าที่เป็นหลักของการรํา, แม่ท่า ก็เรียก.
  42. แม่ไม้ : น. ท่ารำและท่าต่อสู้ที่เป็นหลักในวิชากระบี่กระบองหรือมวย.
  43. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  44. ไม้เด็ด, ไม้ตาย : น. ท่าสําคัญในการต่อสู้กระบี่กระบองหรือมวยซึ่งทําให้ฝ่ายปรปักษ์ ไม่สามารถจะสู้ได้อีก, ตรงข้ามกับ ไม้เป็น, โดยปริยายหมายถึงวิธีการที่จะเอาชนะ ศัตรูได้ เช่น เขาใช้ไม้ตาย เขามีไม้ตาย.
  45. ไม้เป็น : น. ท่าสําคัญของกระบี่กระบองหรือมวยในการป้องกันตัวโดยใช้ปฏิภาณ ไหวพริบแก้ไขให้พ้นภัยจากปรปักษ์เมื่อคราวเข้าที่คับขัน, ตรงข้ามกับ ไม้เด็ด หรือ ไม้ตาย.
  46. ไม้หัวต้าย : น. ไม้หลักสำหรับปักกำกับหัวและท้ายเรือพระที่นั่งเวลาเทียบท่า.
  47. ย็อกแย็ก, ย็อกแย็ก ๆ, ย็อก ๆ แย็ก ๆ : ว. อาการที่ทำอย่างไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เข้าท่าเข้าทาง ไม่ถูกแบบถูกแผน หรือไม่ได้เรื่องได้ราว เป็นต้น เช่น ทำงานย็อกแย็ก เต้นย็อกแย็ก ๆ ทำ ย็อก ๆ แย็ก ๆ.
  48. ยักคอ : ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการ รำไทยอย่างหนึ่ง.
  49. ยักเงี่ยง : ก. หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือ ข้ามห้วย.
  50. ยักยี่ยักยัน : ว. ขะยิก ๆ, เขยก ๆ, ทําท่าขยับบ่อย ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-407

(0.0359 sec)