Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่า , then ท่, ทา, ท่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่า, 407 found, display 251-300
  1. บรทารกรรม : [-ทาระ-] (แบบ) น. การประพฤติผิดในเมียเขา. (ส.).
  2. วัชรธาตุมณฑล : [ทาตุมนทน, ทาดมนทน] น. สัญลักษณ์ในทาง ปัญญาอันคมกล้าที่สามารถตัดอวิชชาได้.
  3. กฎหมายอาญา : (กฎ) น. กฎหมายที่กําหนดลักษณะของการกระทํา ที่ถือว่าเป็นความผิด และกําหนดบทลงโทษทางอาญาสําหรับ ความผิดนั้น. (อ. criminal law).
  4. ก็ดี, ก็ได้ ๑ : นิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มี น้ำหนักเท่ากัน เช่น บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.
  5. กรรมคติ : [กํามะคะติ] น. ทางดําเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป).
  6. กระแจะ ๑ : น. ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสําหรับทาหรือเจิม โดยปรกติมี เครื่องประสม คือไม้จันทน์ แก่นไม้หอม ชะมดเชียง หญ้าฝรั่น.
  7. กรีฑา : [กฺรีทา] น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นประเภทลู่ และประเภทลาน; การเล่นสนุก เช่น กรีฑาร่าเริงรื่น; การเล่นสมพาส เช่น ในกามกรีฑากล. (กฤษณา); การประลองยุทธ์. (ส.).
  8. กรีธา : [กฺรีทา] ก. เคลื่อน, ยก, เดินทางเป็นหมู่เป็นกระบวน, (ใช้ในการยกทัพ).
  9. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  10. กะโล่ : น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้น แล้วหุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่. (รูปภาพ กะโล่)
  11. กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
  12. กำพต : [-พด] น. ลูกศร เช่น พระเอาโอสถ ทาลูกกําพต พาดสายศิลปคือ พระอัคนี สมเด็จสี่มือ ดาลเดชระบือ ระเบิดบาดาล. (สุธน).
  13. ไกล่ : [ไกฺล่] ก. ทา, ไล้.
  14. ขมิ้น ๑ : [ขะมิ่น] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทํายา ทําผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น.
  15. ข้าวจี่ ๑ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ข้าวเหนียวนึ่งนวดกับเกลือปั้นเป็นก้อน เสียบไม้ปิ้งไฟ บางทีใส่น้ำอ้อยงบข้างใน ทาไข่แล้วปิ้งไฟ.
  16. ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
  17. ขี้กระทาเกลือ, ขี้ทา : น. ขี้เกลืออันตกกระฉาบทาไปตามพื้นดิน หรือพื้นที่มีเกลือแห้งเกรอะอยู่เป็นกระ.
  18. คทา : [คะทา] (แบบ) น. ตะบอง. (ป.).
  19. คนทา : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง ๘ เมตร มีหนาม ทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสีขาว ผลกลมแป้นขนาดราว หัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทํายาได้ กิ่งใช้ทําไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก, พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้.
  20. ครีม : [คฺรีม] น. หัวนํ้านมส่วนที่ลอยขึ้นมา; อาหารที่ผสมด้วยครีมหรือมีลักษณะ คล้ายครีม เช่น ครีมหน้าขนมเค้ก; สิ่งที่มีนํ้ามันผสมอยู่และมีลักษณะ เหนียวข้นคล้ายครีม จะมีครีมผสมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม เช่น ครีมทาหน้า ครีมใส่ผม. ว. สีอย่างสีขาวออกเหลือง. (อ. cream).
  21. คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
  22. คูณ : ก. เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ, เท่า เช่น ทวีคูณ คือ ๒ เท่า ตรีคูณ คือ ๓ เท่า. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ x ว่า เครื่องหมายคูณ. (ป., ส. คุณ).
  23. เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
  24. โควิถี : น. ชื่อทางสําหรับโคจรของพระอาทิตย์. (ส. โควิถี = โคจร ของพระจันทร์ที่ผ่านดาวฤกษ์ภัทรปทา เรวดี และอัศวินี).
  25. จวง, จวงหอม : ดู เทพทารู, เทพทาโร.
  26. จับเขม่า : ก. เอาเขม่าผสมนํ้ามันตานีเป็นต้นทาไรผมให้ดํา.
  27. จาด ๑ : น. สีขาวใช้ทาฝาเรือนและอื่น ๆ.
  28. จาดตะกั่ว : น. สารประกอบชนิดหนึ่งของธาตุตะกั่ว เป็นสารสี สีขาว มีสูตร 2PbCO3•Pb(OH)2 ใช้เป็นองค์ประกอบของสีทาบางประเภท. (อ. white lead).
  29. ชลจัณฑ์ : น. นํ้าจัณฑ์ เช่น ชื่อชลจัณฑ์ ดุมุเมามน. (จิตรปทาฉันท์).
  30. ชั้นเดียว : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่า สองชั้นเท่าตัวหรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตรา จังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.
  31. ชาด : น. วัตถุสีแดงสดชนิดหนึ่ง เป็นผงก็มี เป็นก้อนก็มี ใช้ ทํายาไทยหรือประสมกับนํ้ามันสําหรับประทับตราหรือ ทาสิ่งของ, ชาดที่มาจากเมืองจอแสประเทศจีนเรียก ชาดจอแส, ชาดที่มาจากเมืองอ้ายมุ่ยประเทศจีนเรียก ชาดอ้ายมุ่ย. ว. สีแดงสดอย่างหนึ่ง เรียกว่า สีแดงชาด.
  32. แซ็กคาริน : (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2•CONH ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่า ของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. (อ. saccharin).
  33. ดินแดง : น. สารผสมละเอียดสีแดง ใช้ขัดเงินและทองแดง; ชื่อดินชนิดหนึ่ง สีแดง ใช้ทาและย้อม.
  34. ดินสอพอง : น. ดินอย่างหนึ่งสีขาว ใช้ทาตัวอย่างแป้ง.
  35. ตรีสุรผล : น. ยามีผลกล้า ๓ อย่าง คือ สมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพทาโร.
  36. ตะ : ก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่ ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.
  37. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  38. ตะกั่วแดง : น. สารประกอบประเภทออกไซด์ของตะกั่ว มีสูตร Pb3O4 ลักษณะ เป็นผงละเอียดสีแดงเข้ม ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสีทา และทําแก้ว, เสน ก็เรียก. (อ. red lead, minium).
  39. ถมตะทอง : น. เครื่องถมที่ทําโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน.
  40. ทลบม : [ทนละบม] (กลอน) ก. ประพรม, ลูบไล้, ฉาบทา, เช่น ทลบมด้วย รัตจันทน์.
  41. ท่อ ๔ : (ถิ่น-อีสาน) ว. เท่า, เสมอ.
  42. ทองตะโก : น. สีทองที่เกิดจากการใช้รงผสมนํ้ามันยางอาบลงบน แผ่นตะกั่ว ถ้าทาลงบนโลหะจะมีสมบัติจับแน่นและกันสนิมได้, ทองตะกู หรือ ทองตากู ก็เรียก.
  43. ทองตากู : น. ทองตะโก. ทองทราย น. ทองที่เป็นเม็ด ๆ อย่างทรายปนอยู่กับทราย. ว. มี พื้นทาทองให้เป็นจุด ๆ อย่างเม็ดทราย.
  44. ทะลอก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Parinari anamense Hance ในวงศ์ Chrysobalanaceae ไม้ใช้ทําเครื่องบนและเครื่องล่างของเรือน เมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันนํ้าซึมและผสมยางรักทําเครื่องเขิน.
  45. ทัง ๑ : น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Vernicia วงศ์ Euphorbiaceae คือชนิด V. fordii Airy Shaw และชนิด V. montana Lour. เมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันซึม.
  46. ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  47. ทางม้าลาย : น. พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามถนน โดยทา สีขาวดำเป็นแถบสลับกัน.
  48. ทาฐะ, ทาฒะ : (แบบ) น. เขี้ยว, งาช้าง. (ป. ทา?า; ส. ทาฒา).
  49. ทาฐิกะ, ทาฒิกะ : (ราชา) น. หนวด (ที่คาง), เครา. (ป. ทา??ก; ส. ทาฒิก).
  50. ทายัช : (แบบ) น. ทรัพย์มรดก. (ป. ทายชฺช; ส. ทายาทฺย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-407

(0.0443 sec)