Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่า , then ท่, ทา, ท่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่า, 407 found, display 151-200
  1. ยักเอว : ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
  2. ย่างเยื้อง : ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า.
  3. ย่างสามขุม : น. ท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวย นักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา มีตำแหน่ง วางเท้าเป็น ๓ เส้า.
  4. ยิมนาสติก : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แข่งขันกันโดยผู้เล่นต้องแสดงท่าต่าง ๆ ที่มีทั้งท่า บังคับและท่าสมัครให้เข้ากับอุปกรณ์การเล่นแต่ละอย่าง เช่น บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่ง. (อ. gymnastic).
  5. ยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงาน พระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บน แท่นว่า เทวดายืนแท่น.
  6. เย้ : ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทําท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวน จะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
  7. เยื้องกราย : ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ; เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายใน การตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
  8. เยื้องย่าง : ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, ย่างเยื้อง ก็ว่า.
  9. ระบำ : น. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความ บันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกอย ระบำฉุยฉาย. ก. ฟ้อนรำที่แสดงไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือ ความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้.
  10. รำ ๒ : ก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือ เพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธ ประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือเช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของ ใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.
  11. รำโคม : น. การรําแบบหนึ่ง ผู้เล่นถือโคมรําเป็นท่าต่าง ๆ, เดิมเล่นเฉพาะ ในงานหลวง.
  12. รำซุย : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  13. รำพัดชา : น. ท่ารําชนิดหนึ่งในพิธีคชกรรม.
  14. รำรำ, ร่ำร่ำ : ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่นรำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลําลํา ก็ว่า.
  15. รู้เชิง : ก. รู้กระบวนท่า, รู้ท่าที, รู้กลเม็ด, เช่น มวยคู่นี้ต่างก็รู้เชิงกัน.
  16. เรียบวุธ : ก. ถืออาวุธอยู่ในท่าเรียบ คือ ถือปืนแนบอยู่ทางขวา ส้นปืน จดดิน, เลือนมาจาก เรียบอาวุธ. (ปาก) ว. หมดเกลี้ยง เช่น กินเสีย เรียบวุธเลย.
  17. เรือขนาน : น. เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสําหรับข้ามฟาก; เรือที่จอด เทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง; เรือที่ใช้ในการทำสังฆกรรม ในน่านน้ำซึ่งจอดขนานไปกับลำน้ำให้ห่างจากฝั่งกว่าชั่ววักน้ำสาด.
  18. เรือลากจูง : น. เรือกลไฟสำหรับโยงหรือลากเรือใหญ่เพื่อเข้าเทียบท่า.
  19. ลงท่า : น. พระราชพิธีลงสรงในแม่น้ำของเจ้าฟ้า ทางราชการ เรียกว่า พระราชพิธีสระสนาน; พิธีนําช้างลงสรงสนานที่ท่า.
  20. ละครพันทาง : น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติ ต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
  21. ลำลำ : ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่น ลำลำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, รำรำ หรือ ร่ำร่ำ ก็ว่า.
  22. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  23. ลุก : ก. เคลื่อนขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน เช่น ลุกจากเก้าอี้ ลุกจากที่นอน, ตั้งขึ้น เช่น ขนลุก; เคลื่อนออกจาก เช่น ลุกแต่สุโขทัย. (จารึกสยาม); ไหม้โพลงขึ้น เช่น ไฟลุก.
  24. ลูกแป : น. วิธีเตะตะกร้อท่าหนึ่งด้วยหน้าเท้า คือ ทั้งฝ่าเท้าและ ข้างเท้าพร้อม ๆ กัน.
  25. ลูกไม้ ๓ : น. ท่ามวยหรือกระบี่กระบองซึ่งมีพลิกแพลงเป็นพิเศษจากท่า ธรรมดา; เล่ห์เหลี่ยม, กลเม็ด.
  26. เล่นหาง : ว. เรียกลักษณะการเขียนหนังสือที่ตวัดปลายตัวอักษรให้ ยาวออกเกินปรกติว่า เขียนเล่นหาง; เรียกลักษณะท่าเต้นของการ เชิดสิงโตโดยม้วนตัวงับหางตัวเองว่า สิงโตเล่นหาง; อาการที่ว่าว ปักเป้าติดลมสะบัดหางพลิ้วไปมา.
  27. เลียว ๑ : (กลอน) ว. แล้ว เช่น ชิสาท่านกุํลยว ลาญชีพ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
  28. วัชราสน์ : น. ท่านั่งขัดสมาธิเพชร. (ส.).
  29. วันทยหัตถ์ : น. ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตํารวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก มิได้ถืออาวุธ.
  30. วันทยาวุธ : น. ท่าเคารพด้วยอาวุธของทหาร ตํารวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบสวมหมวก และถืออาวุธอยู่กับที่.
  31. วางก้าม : ก. ทําท่าใหญ่โต, ทําท่าเป็นนักเลงโต, วางโต ก็ว่า.
  32. วางโต : ก. ทําท่าใหญ่โต, ทําท่าเป็นนักเลงโต, วางก้าม ก็ว่า.
  33. วางท่า : ก. ทําท่าไว้ยศ เช่น วางท่าเป็นอธิบดี, วางปุ่ม ก็ว่า.
  34. วางปุ่ม : ก. ทําท่าไว้ยศ, วางท่า ก็ว่า.
  35. วาดลวดลาย : ก. แสดงท่ารำหรือเต้นรำเป็นต้นได้งดงามไปตาม จังหวะดนตรี; (ปาก) แสดงชั้นเชิง เช่น วาดลวดลายในการโฆษณา.
  36. วิดพื้น : (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่ม ด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้น ไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับ ยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับ ทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไป อยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ.
  37. ศอกกลับ : ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคํา, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
  38. สนามบิน : น. (กฎ) พื้นที่ที่กำหนดไว้บนพื้นดินหรือน้ำสำหรับใช้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและบริภัณฑ์ซึ่งอยู่ภายในสนามบินนั้น; (ปาก) ท่าอากาศยาน.
  39. สะพานปลา : น. สะพานที่สร้างทอดยาวออกไปในนํ้า ใช้เป็นท่าเทียบ เรือประมงเพื่อขนปลาเป็นต้นขึ้นจากเรือ.
  40. หงสคติ : [หงสะคะติ] น. ท่าเดินอย่างหงส์ คือ มีลักษณะงดงามอ่อนช้อย และเป็นสง่า.
  41. หงส์ลีลา ๒ : [หงลีลา] น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน).
  42. หงสลีลา, หงส์ลีลา ๑ : [หงสะลีลา, หงลีลา] น. ท่าเดินอย่างหงส์.
  43. หนังง่า : น. ตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ (ลัทธิ).
  44. หมดรูป : ว. อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช, หมดท่า ก็ว่า.
  45. หมองูตายเพราะงู : น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจ ถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้ อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.
  46. หย็อง ๑ : ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. ว. มีอาการ หวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทําท่าหย็อง.
  47. หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ : ว. ทําท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที; ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง กระโดดหย็องแหย็ง ๆ.
  48. หักลำ : (สํา) ว. ทําให้เสียท่าหรือเสียเหลี่ยม.
  49. อกตัญญุตา : [อะกะตัน] น. ความเป็นผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ท่านทําแก่ตน. (ป.).
  50. อกตัญญู : [อะกะตัน] น. ผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ท่านทําแก่ตน. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-407

(0.0283 sec)