Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่า , then ท่, ทา, ท่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่า, 407 found, display 51-100
  1. ขี่ม้าตีคลี : น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
  2. ขี่ม้าเลียบค่าย : น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
  3. เข้าที : ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสําเร็จ.
  4. เข่าลอย : น. ท่าต่อสู้ของกีฬามวยไทยโดยกระโดดให้ตัวลอยแล้ว ใช้เข่ากระแทกคู่ต่อสู้.
  5. แขกเต้าเข้ารัง : น. ท่ารําท่าหนึ่ง.
  6. โข่ง ๒ : (ปาก) ว. เปิ่น, ไม่เข้าท่า; โค่ง.
  7. คเนจร : [คะเนจอน] ก. เที่ยวซัดเซไป. น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปใน ท่าเดิน. (ลัทธิ). (ส. คคเนจร ว่า ผู้ไปในท้องฟ้า).
  8. คุกพาทย์ : น. ชื่อเพลงปี่พาทย์เพลงหนึ่ง ใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการรําในท่าที่ดุร้าย.
  9. เค้เก้ : (ปาก) ว. ไม่เป็นท่า (ใช้แก่อาการหกล้มหรือนอนเป็นต้น) เช่น หกล้มเค้เก้ นอนเค้เก้.
  10. เครือวัลย์พันไม้ : น. ท่ารําละครชนิดหนึ่ง.
  11. งอย ๒ : ก. คอย เช่น งอยท่า.
  12. ง่า ๒ : น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ ว่า หนังง่า. (ลัทธิ).
  13. เงื้อ : ก. ยกมือขึ้นทําท่าจะทุบจะตี ในคำว่า เงื้อมือ, อาการที่มือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขึ้นทําท่าจะตีหรือฟันเป็นต้น เช่น เงื้อไม้ เงื้อมีด.
  14. เงื้อง่าราคาแพง : (สํา) ก. จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่า หรือวางท่าว่าจะทําเท่านั้น.
  15. เงือดเงื้อ : ก. เงื้อค้างท่าไว้.
  16. จดจ้อง, จด ๆ จ้อง ๆ : ก. ตั้งท่าจะทําแล้วไม่ลงมือทําเพราะไม่แน่ใจ.
  17. จดหมัด : ก. ตั้งท่ามวย.
  18. จบเห่ : (ปาก) ก. หมดเสียง; สิ้นท่า, หมดท่า; ยุติ.
  19. จังก้า : ว. ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้, ลักษณะที่ตั้งปืนกลเป็นต้นเตรียม พร้อมที่จะยิง.
  20. จับระบำ : น. กระบวนรําท่าต่าง ๆ. ก. เริ่มฟ้อนรํา.
  21. จำแทง : (โบ) ก. เผ่นขึ้น, โผขึ้น, ตั้งขึ้น, ชูขึ้น, งอกขึ้น; ถืออาวุธร่ายรําท่าแทง, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง รำจำแทงองอาจ เผ่นผงาดขับสารสีห์. (ลอ).
  22. จูงนางลีลา : น. ชื่อท่ารําชนิดหนึ่งที่ควาญช้างรําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ ครั้งแรกแล้ว.
  23. เจษฎา ๒ : [เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารํา; กรรม, การทําด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทํา, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).
  24. โจงกระเบนตีเหล็ก : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  25. ฉกจวัก : [-จะหฺวัก] ก. ชูหัวขึ้นแผ่พังพานทําท่าจะฉก (ใช้แก่งู).
  26. ฉลอง ๔ : [ฉะหฺลอง] (โบ) ก. ข้าม ในคำว่า ท่าฉลอง คือ ท่าสำหรับข้าม. (ข. ฉฺลง).
  27. ฉากน้อย, ฉากใหญ่ : น. ท่าละครชนิดหนึ่ง.
  28. ฉ่าง : ก. เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นต้น, ลองดูว่าท่าไหนจะดี, (โดยมากใช้ สําหรับเล่นลูกเต๋าหรือไพ่). ว. เสียงดังเช่นเสียงม้าล่อ.
  29. ฉุยฉาย : น. ชื่อเพลงร้องและท่ารําแบบหนึ่ง. ว. กรีดกราย.
  30. ฉุยฉายเข้าวัง : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  31. ชมพูพาดบ่า : น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งควาญช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ ครั้งแรกแล้ว.
  32. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  33. ชะรอย : ว. เห็นจะ, เห็นทีจะ, ท่าจะ, บางที, ในบทกลอนใช้ว่า รอย ก็มี.
  34. ชักซอสามสาย : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  35. ชักแป้งผัดหน้า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  36. ชักรอก : ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อน ผ่านร่องของรอกเพื่อยกลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้ แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.
  37. ช้างทำลายโรง : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  38. ช้างประสานงา : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.
  39. ช้างสะบัดหญ้า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  40. ช้านางนอน : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  41. เชิด : ก. ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น เชิดหน้า เชิดอก; โดยปริยาย หมายความว่า ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน ในคําว่า ถูกเชิด. ว. ที่ ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น ปากเชิด จมูกเชิด หน้าเชิด. น. ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา ไปมาอย่างรวดเร็วหรือการเดินทางระยะไกล เรียกว่า เพลงเชิด เช่น เชิดกลอง เชิดฉิ่ง เชิดฉาน เชิดนอก; ท่าโขน ท่าหนึ่ง.
  42. ซมซาน : ก. กระเสือกกระสนไปอย่างสิ้นท่าหรือสิ้นคิด, ซาน หรือ
  43. ซาน : ก. กระเสือกกระสนไปอย่างสิ้นท่าหรือสิ้นคิด, ซมซาน หรือ ซานซม ก็ว่า.
  44. ซานซม : ก. กระเสือกกระสนไปอย่างสิ้นท่าหรือสิ้นคิด, ซาน หรือ ซมซาน ก็ว่า. ว. งมงาย, ไม่รู้อะไร, เช่น โง่ซานซม, ซมซาน ก็ว่า.
  45. ดำหัว : น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทําในวันปีใหม่เพื่อเป็นการแสดง ความเคารพนับถือและรักใคร่ วิธีดําหัว คือ เอาสิ่งของและนํ้าที่ใส่เครื่องหอม เช่นนํ้าอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ และขอให้ท่านรดนํ้าใส่หัวของตนเพื่อให้ อยู่เย็นเป็นสุข.
  46. แดะ : ก. แอ่นตัวหรือดีดตัวขึ้น. น. เรียกท่าหนึ่งของวิชาพลศึกษาที่แอ่นตัวขึ้น ก่อนที่จะทิ้งตัวลงในการแข่งขันกระโดดไกล กระโดดสูง ราวเดี่ยว เป็นต้น.
  47. ตระเวนเวหา : น. วิธีรำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
  48. ตะติน : (กลอน) ว. เตาะแตะ, ต้อย ๆ, บอกอาการเดิน เช่น แล่นตะตินยงงท่า. (ม. คําหลวง ชูชก).
  49. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  50. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-407

(0.0669 sec)