Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างรวดเร็ว, รวดเร็ว, อย่าง , then รวดเร็ว, อยาง, อย่าง, อยางรวดรว, อย่างรวดเร็ว .

ETipitaka Pali-Thai Dict : อย่างรวดเร็ว, 440 found, display 151-200
  1. ตทงฺคนิพพาน : (นปุ.) ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌานมีปฐมฌานเป็นต้น อัฏฐกถาให้ วิ. ว่า ปฐมฌานาทินา เตน เตน องฺเคน นิพพานํ ตทงฺคนิพพานํ. ตทงฺคนิพพาน ศัพท์นี้มีในไตร. ๒๓ ข้อที่ ๕0 สูตรที่ ๙ แห่งปญจาลวรรค. ไม่ควรแปลว่า นิพพาน ชั่วขณะ ดังที่อาจารย์บางท่านแปล ควร แปลว่า ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌาน มี ปฐมฌาน เป็นต้น ตามที่อัฏฐกถาจารย์ ตั้ง วิ. ไว้ เพราะว่า “นิพพาน” นับเป็น ๑ ในโลกุตตรธรรม ๙ ไตร. ๓๑ ข้อ ๖๒0 และชาวพุทธฝ่ายเถรวาท ใช้คำ นิพพาน เป็นชื่อของจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทป – หานด้วยอริยมรรคที่ ๔ เป็นอกุปปา – วิมุตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น นิพพาน ชั่วขณะจึงไม่มี ขอฝากนักปราชญ์รุ่นหลัง ผู้หวงแหนพระพุทธศาสนาด้วย.
  2. ตปฺปร : (วิ.) ผู้มีสิ่งนั้น ๆ เป็นประธาน, ผู้มี ความเพียร, ผู้เอาใจใส่, ผู้ตั้งหน้า, ผู้ตั้ง หน้าตั้งตา (ตั้งใจทำ ทำอย่างจริงจัง ทำ อย่างมุ่งมั่น). วิ. ตํ ตํ จตฺถุ ปรํ ปธาน มสฺสาติ ตปฺปโร ลบ ต หนึ่งศัพท์.
  3. ตพฺภาว : ป. ความเป็นอย่างนั้น, ธรรมชาติที่เป็นจริง
  4. ตาทิน, ตาทิส, ตาทิสก, ตาที : ค. ซึ่งคงที่, ซึ่งเป็นเช่นนั้น, ซึ่งเหมือนอย่างนั้น
  5. ติกฏุก : นป., ค. ของเผ็ดร้อนสามอย่าง ดู กฏุก
  6. ติก, ติกกฏุก : นป., ค. หมวดสาม, อย่างละสาม, ประกอบด้วยสาม
  7. ติธา : ก. วิ. โดยส่วนสาม, อย่างสาม
  8. ติริยตรณ : นป. การข้ามอย่างขวางๆ
  9. ติวิธ : (วิ.) มีอย่างสาม, มีสามอย่าง.
  10. ตุวฏ : ก. วิ. อย่างเร็ว, อย่างพลัน
  11. เตธาตุก : นป. (โลก) อันประกอบด้วยธาตุสามอย่าง
  12. เตนหิ : (อัพ. นิบาต) ถ้าอย่างนั้น.
  13. ทกฺขิณนิกาย : (ปุ.) นิกายฝ่ายใต้, ทักษิณ นิกายชื่อนิกายสงฆ์ฝ่ายใต้ ( เอาแคว้นมคธ ของชมพูทวีป ( อินเดีย ) เป็นศูนย์กลาง การนับ ) คือนิกายหินยาน ( หีนยาน ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เถรวาท. ดู เถรวาท ด้วย.
  14. ทกฺขิณาวฏฺฏ : (ปุ. นปุ.) การเวียนไปทางขวา, ความเวียนไปทางขวา, การเวียนขวา, ทักษิณาวัฏ , ทักษิณาวรรต. การเดิน เวียนขวา เป็นการแสดงความเคารพ อย่างหนึ่ง. เวียนขวาหรือการเวียนขวา นั้น คือสิ่งที่เราจะเวียนอยู่ขวามือของเรา. ส. ทกฺษิณาวรฺต.
  15. ทกฺขิโณทก : (นปุ.) น้ำอันบุคคลพึงให้เพื่อทาน สมบัติอันเจริญ, ทักขิโณทก, ทักษิโณทก. เดิมคำนี้เป็นชื่อของน้ำที่เจ้าภาพถวายแด่ พระก่อนจะฉันภัตตาหาร เพื่อใช้บ้วนปาก ล้างมือหรือชุบมือ ( กรณีฉันด้วยมือ ) แต่ปัจจุบันนี้หมายถึงน้ำที่เจ้าภาพหลั่ง ( เทให้ใหลลงช้าๆ โดยไม่ขาดสาย ) เวลา ทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ล่วงลับไป แล้ว หรือเป็นชื่อของน้ำที่เจ้าของสิทธิ์ หลั่งลง เป็นการแสดงการมอบของที่ไม่ สามารถยกได้ให้เป็นสิทธิ์ขาด อีกอย่าง หนึ่ง เป็นชื่อของเต้าน้ำ ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเต้าษิโณทก คำกลอนมักตัดทักออก ใช้ว่า ษิโณทก.
  16. ทฺวย : (วิ.) สอง, สองอย่าง, (ส่วน) ทั้งสอง, มีส่วนสอง. วิ เทฺว อํสา อสฺส ทฺวยํ โมคฯ ณาทิกัณฑ์ ๔๙.
  17. ทฺวยการี : ค. ผู้ทำกรรมทั้งสองอย่างคือ ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว
  18. ทสธา : อ. โดยส่วนสิบ, สิบอย่าง
  19. ทสวิธ : ค. มีอย่างสิบ, มีสิบชนิด
  20. ทสฺสนานุตฺตริย : (นปุ.) ความเห็นอันประเสริฐ, ความเห็นอย่างประเสริฐ.
  21. ทฬฺห : อ. อย่างมั่นคง, อย่างแข็งแรง
  22. ทฬฺหทตฺตี : ค. มีความภักดีมั่นคง, จงรักภักดีเป็นอย่างมาก
  23. ทฬฺหปหาร : ป. การประหารอย่างแรง, การทุบหรือตีอย่างแรง
  24. ทิฏฺฐานุคติ : (อิต.) อันเป็นไปตามซึ่งความยินดี, ฯลฯ, อันเป็นไปตามซึ่งความเห็น, อันเป็นไปตามซึ่งทิฎฐิ, ความดูเยี่ยงด้วยสามารถแห่งทิฎฐิ, ความดำเนินตามซึ่ง สิ่งอันปรากฏ, แบบอย่าง.
  25. ทิพฺพกาม : ป. สิ่งที่น่าปรารถนาอันเป็นทิพย์, ความสุขอย่างสวรรค์
  26. ทิพฺพภูสา : (อิต.) ผ้าอันเป็นทิพย์, ผ้าทิพ, ผ้า ทิพย์, ผ้าทพ ผ้าทิพย์ ชื่อผ้าที่ห้อยตรง หน้าฐานพระพุทธรูป ทำเป็นลายผ้า เมื่อปั้นหุ่นฐานพระพุทธรูป เมื่อเทวัตถุอะไรลงไปตามที่ต้องการก็สำเร็จเป็นผ้าทิพย์พร้อมกับฐานนั้น. อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของพระราชอาสน์พนักพลับพลา.
  27. ทิวิภว : ค. ซึ่งมีในสวรรค์, เป็นอย่างสิ่งที่มีอยู่ในสวรรค์
  28. ทีปกปลฺลิกา : (อิต.) ตะคัน ชื่อเครื่องปั้นดิน เผา รูปคล้ายจาน สำหรับวางเทียนอบ หรือเผากำยาน หรือใช้ใส่น้ำมันตามไฟ อย่างตะเกียง, โคมตั้ง.
  29. ทุวงฺคิก : ค. ซึ่งมีองค์สอง, ซึ่งมีองค์ประกอบสองอย่าง
  30. ทุวิธ : (วิ.) มีอย่างสอง, มีสองอย่าง. วิ. เทฺว วิธา ยสฺส โส ทุวิโธ.
  31. เทสปญฺญตฺติ : (อิต.) บัญญัติของท้องถิ่น, เทส+ปญฺญตฺติ, บัญญัติของเทศบาล, เทสปาล+ปญฺญตฺติ. เทศบัญญัติ คือ กฎหมายของเทศบาล มีผลบังคับอย่างเดียวกันกับกฎหมาย แต่ใช้บังคับเฉพาะ ของเทศบาลนั้นๆ.
  32. โทณ : (ปุ. นปุ.) โทณะชื่อเครื่องตวงอย่างหนึ่งเท่ากับ๔อาฬหกะอาฬหกะ๑เท่ากับ๔ปัตถุ.วิ.ทวติปวตฺตตีติโทณํ.ทุคมเน,โณ.ทุณฺวาคติยํหีสายญฺจ,โณ.
  33. โทหฬายติ : ก. แพ้ท้อง, อยากอย่างแรง (สำหรับหญิงตั้งครรภ์)
  34. ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต : (นปุ.) ธรรมจัก- กัปปวัตตนสูตร ชื่อพระสูตรซึ่งพระพุทธ- เจ้าทรงแสดงครั้งแรกแก่พระเบญจวรรคีย์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปฐมเทศนา.
  35. ธมฺมทสฺสน : (นปุ.) การเห็นซึ่งธรรม, ความเห็นซึ่งธรรม, ความเห็นธรรม, ธรรมทัศน์(ความเห็นธรรมอย่างแจ่มแจ้ง).
  36. ธุรการ : (ปุ.) การทำซึ่งหน้าที่, การทำหน้าที่, ธุรการ ชื่อบุคคลผู้ทำงานฝ่ายปกครอง มีหน้าที่เป็นแม่บ้านของหน่วยงานนั้นๆ อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของการจัดกิจการ โดยส่วนรวมของแต่ละหน่วย ซึ่งมิใช่งานฝ่ายวิชาการ.
  37. นครูปการิกา : อิต. เมืองที่มีกำแพงล้อมรอบอย่างมั่นคง
  38. นจฺจ : (นปุ.) การฟ้อน, การรำ, การฟ้อนรำ, การเต้น, การเต้นรำ, การรำแพน (ใช้ กับนกยูง). อีกอย่างหนึ่ง คำ การรำแพน เป็นชื่อของการเล่นไต่ลวดมในงานหลวง มือถือหางนกยูงสองมือ. วิ. นตนํ นจฺจํ, นตฺ คตฺตนาเม, โย. แปลง ตฺย เป็น จ แล้วแปลง จ เป็น จฺจ รูปฯ ๖๔๔. หรือแปลง ตฺย เป็น จฺจ ก็ได้ หรือ วิ. นฎนํ นจฺจํ. นฏฺ นตฺยํ, โย แปลง ฏฺ เป็น ตฺ รวมเป็น ตฺย แปลง ตฺย เป็น จฺจ.
  39. นตฺถิกทิฏฺธิ : (อิต.) ความเห็นว่าบุญและบาป ไม่มี วิ. นตฺถิกํ ปุญฺญปาปํ อิติ ทิฏฺฐ นตฺถิกทิฏฺฐ. นัตถิกทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง มีความเห็นปฏิเสธความดีหรือความชั่วที่คนทำแล้วว่าไม่มีผลแก่ผู้ทำ.
  40. นย : (ปุ.) ภาวะเป็นเครื่องนำไป วิ. นยติ เอเตนาติ นโย. ภาวะอัน... ย่อมนำไป วิ. นียตีติ นโย. การนำ, การนำไป, การดำเนินไป, การแนะนำ, การสั่ง, คำสั่ง, ความไป, ความเป็นไป, ความดำเนินไป, ความควร, ความสมควร, ความชอบ, ความถูกต้อง, ความสมเหตุสมผล, ความสมเหตุผล, ความคาดคะเน, อาการ, อุบาย, เล่ห์เหลี่ยม, วิธี, ทาง, แบบ, แบบอย่าง, นัย ( ข้อความข้อเค้า เค้าความใจความ เนื้อความ). วิ. นยนํ ปวตตนํ คมนํ วา นโย. นิ นี นย. วา นยเน, อ. ส. นย, นาย.
  41. นวรตน : (นปุ.) แก้วเก้าอย่าง, แก้วเก้าชนิด, แก้วเก้าประการ, นพรัตน์, เนาวรัตน์. แก้วเก้าอย่าง คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และ ไพฑูรย์. ส. นวรตฺน.
  42. นวโลห : (ปุ. นปุ.) โลหะเก้า,โลหะเก้าอย่าง,โลหะเก้าชนิด.โลหะเก้าประการ,โลหะเก้าคือเหล็ก,ปรอท,ทองแดง,เงิน,ทองคำ,เจ้าน้ำเงิน(แร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน),สังกะสี,ซิน,บริสุทธิ์(คือทองแดงบริสุทธิ์).ห้าอย่างข้างต้นเรียกปัญจโลหะตั้งแต่เหล็กถึงสังกะสีเรียกสัตตโลหะ.
  43. นวอรหาทิคุณ : (ปุ.) คุณของพระพุทธเจ้าเก้า อย่างมีอรหังเป็นต้น.
  44. นาคร, (นาคริก) : ค. ผู้อยู่ในเมือง, ชาวเมือง, อย่างชาวเมือง, สุภาพ, อ่อนโยน
  45. นาควตฺติก : ค. มีวัตรอย่างวัตรของนาค
  46. นาคาปโลกิต : นป. การเหลียวดูของช้าง (คือกลับทั้งตัว), ลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
  47. นาฏยรส : ป. รสแห่งนาฏยะมี ๙ อย่างคือ (๑) สิงฺคาร ความรัก (๒) กรุณา ความเอ็นดู (๓) วีร ความพากเพียรอาจหาญ (๔) อพฺภูต ความอัศจรรย์ (๕) หสฺส ความร่าเริง (๖) ภย ความกลัว (๗) สนฺต ความสงบ (๘) สิภจฺฉ ความเห็นแจ้ง (๙) รุทฺธ ความโกรธ
  48. นานปฺปการ นานปฺปการก : (วิ.) มีประการ ต่างๆ, นานัปการ (มีหลายอย่าง มีหลายประการ).
  49. นานาวิธ : (วิ.) มีอย่างต่างๆ, มีอหลายอย่าง.
  50. นิกฺกาม นิกาม : (วิ.) มีความใคร่ออกแล้ว วิ. นิกฺขนฺโต กาโม ยสฺมา โส นิกฺกาโม. ไม่มี ความใคร่ วิ. นตฺถิ กาโม เอตสฺสาติ นิกฺกาโม. ออกแล้วจากความใคร่ วิ. กาเหมิ นิกฺขนฺโต นิกฺกาโม. ลบ กฺขนฺต แล้วกลับบทหน้าไว้หลัง. ความหมาย อย่างสูง หมายเอาความตั้งใจทำความเพียรเพื่อละกิเลส โดยไม่ห่วงกายและ ชีวิตแบบคนบริโภคกามคุณห่วง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-440

(0.0764 sec)