Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าหน้าที่ตำรวจ, หน้าที่, ตำรวจ, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าหน้าที่ตำรวจ, 986 found, display 51-100
  1. เจ้าคารม : น. ผู้มีฝีปากคมคาย.
  2. เจ้าคุณ : (โบ) บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง; (โบ; ปาก) คำเรียกผู้มี บรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุที่เป็น พระราชาคณะ.
  3. เจ้าคุณจอม : น. ตําแหน่งพระสนมเอกวังหลวง.
  4. เจ้าแง่เจ้างอน, เจ้าแง่แสนงอน : ว. มีแง่งอนมาก.
  5. เจ้าจอม : น. ตําแหน่งพระสนมวังหลวง.
  6. เจ้าจำนำ : น. ผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจํา.
  7. เจ้าชีวิต : น. พระเจ้าแผ่นดิน.
  8. เจ้าตัว : น. ตัวของผู้ที่ถูกอ้างถึง.
  9. เจ้าถ้อยหมอความ : น. ผู้ที่ชอบเอากฎหมายมาอ้าง, ผู้มักใช้โวหาร พลิกแพลงไปในทางกฎหมาย.
  10. เจ้าถิ่น : น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต.
  11. เจ้าเนื้อ : ว. อ้วน.
  12. เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
  13. เจ้าบุญนายคุณ : น. ผู้มีบุญคุณ.
  14. เจ้าเบี้ย : น. นายเงิน.
  15. เจ้าประคู้น : น. คําเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้มาช่วยให้สมประสงค์, เป็นคำอุทานแสดงถึงการอ้อนวอน อธิษฐาน บนบาน หรือ สาปแช่ง เป็นต้น.
  16. เจ้าปู่ : น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, ปู่เจ้า ก็ว่า.
  17. เจ้าพนักงานภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานัก มีหน้าที่ถวายทรง พระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพ พระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.
  18. เจ้าพระเดชนายพระคุณ : น. ผู้มีบุญคุณมาก.
  19. เจ้าพ่อ : น. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
  20. เจ้าพายุ : น. ชื่อตะเกียงชนิดหนึ่งเมื่อเผาไส้แล้วสูบลมให้ดันนํ้ามันเป็นไอ ขึ้นไปเลี้ยงไส้ทำให้เกิดแสงสว่างนวลจ้า.
  21. เจ้าฟ้า ๑ : น. ชื่อกั้งขนาดกลางชนิด Acanthosquilla sirindhorn ในวงศ์ Nannosquillidae ลำตัวค่อนข้างแบนสีเหลืองนวล มีแถบสีดำ พาดขวางทุกปล้องตลอดความยาวลำตัวและแพนหาง ด้านบนของ หางนูนเป็น ๓ ลอน แต่ละลอนมีหนาม ๔-๖ อัน ขุดรูอยู่ตาม หาดทรายปนโคลน.
  22. เจ้าฟ้า ๒ : น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Phricotelphusa sirindhorn ในวงศ์ Potamidae กระดองและขาก้ามสีขาว เบ้าตาและขาสีม่วงอมดำ อาศัยอยู่บริเวณ น้ำตกตามซอกหินบนภูเขาระดับสูง พบในจังหวัดระนอง ราชบุรี และเพชรบุรี.
  23. เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร : น. ชื่อนกนางแอ่นชนิด Pseudochelidon sirintarae ในวงศ์ Hirundinidae ลำตัวสีดำ มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและขอบตาขาว ปากเหลือง เฉพาะ ตัวผู้มีหางยาวคล้ายเส้นลวด ๒ เส้นพบบริเวณบึงบอระเพ็ด, ตาพอง ก็เรียก.
  24. เจ้าภาษี : (โบ) น. ผู้ผูกขาดตัดตอนจากรัฐบาลไปเรียกเก็บภาษีบางอย่าง จากราษฎร.
  25. เจ้ามรดก : (กฎ) น. ผู้ตายซึ่งมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท.
  26. เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด : (สํา) น. ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
  27. เจ้าระเบียบ : ว. ที่ถือระเบียบอย่างเคร่งครัด, ระเบียบจัด.
  28. เจ้าเล่ห์ : น. ผู้มีกลอุบายพลิกแพลงต่าง ๆ.
  29. เจ้าเล่ห์เพทุบาย : ว. มีเล่ห์เหลี่ยมเพทุบายมาก.
  30. เจ้าเล่ห์แสนกล : ว. มีเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายมาก, แสนกล ก็ว่า.
  31. เจ้าสามสี : น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์ เช่นแสงไฟจากหลอดไฟ จะ มีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, พลอยสามสี ก็เรียก.
  32. เจ้าสำบัดสำนวน, เจ้าสำนวน : น. ผู้ใช้คารมพลิกแพลง.
  33. เจ้าสำราญ : ว. ที่ชอบฟุ้งเฟ้อใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน.
  34. เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา : น. ผู้ชอบทําเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไป ทําธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง.
  35. เจ้าหนี้ : น. เจ้าของหนี้; ผู้ขายเชื่อหรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้; (กฎ) บุคคลซึ่งมีมูลหนี้เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าลูกหนี้ และมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้.
  36. เจ้าหล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คํา ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย ในบุรุษที่ ๓.
  37. เจ้าอารมณ์ : ว. ที่โกรธง่าย, ที่เอาใจยาก.
  38. เจ้าอาวาส : น. พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ปกครองวัด.
  39. กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  40. กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
  41. กัน ๓ : ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่าย ในสิ่งที่จําเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวน เสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ ว่า เรือกัน.
  42. กุญแจมือ : น. ห่วงเหล็กมีกุญแจไข สําหรับเจ้าหน้าที่ใช้ใส่ข้อมือผู้ต้องหา.
  43. แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
  44. ข่มขืนใจ : (กฎ) ก. บังคับให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา โดยไม่สมัครใจ แต่จําต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๙.
  45. คณาธิการ : น. ผู้มีอํานาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทําหน้าที่ ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไปว่า พระคณาธิการ. (ป., ส. คณ + อธิการ).
  46. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  47. จตุลังคบาท : [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
  48. จัตุลังคบาท : [จัดตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้า ช้างทรงของพระมหากษัตริยหรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ์ พิทักษ์เท้ากุญชร. (ตะเลงพ่าย), จตุลังคบาท ก็ว่า.
  49. จีวรภาชก : (แบบ) น. ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมุติให้เป็นเจ้าหน้าที่ แจกจีวรที่สงฆ์ได้มาให้แก่ภิกษุ. (ป., ส.).
  50. ฉ้อราษฎร์บังหลวง : ก. การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎรแล้ว ไม่ส่งหลวงหรือเบียดบังเงินหลวง.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-986

(0.1091 sec)