Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าหน้าที่ตำรวจ, หน้าที่, ตำรวจ, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าหน้าที่ตำรวจ, 986 found, display 901-950
  1. สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
  2. สากิยมุนี : น. ศากยมุนี, พระนามของพระศากยพุทธเจ้า. (ป.).
  3. หน้ากระดูก : น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง.
  4. หน้ากร้าน : น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน.
  5. หน้าเชิด : น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่ง หรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.
  6. หน้าเบ้ : น. หน้าที่แสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ หรือ เจ็บปวด เป็นต้น.
  7. หน้าเลือด : ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะ เห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.
  8. หน้าเหี่ยว : น. หน้าที่ไม่เต่งตึง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สมปรารถนา เช่น ขอสตางค์แม่ไม่ได้ก็หน้าเหี่ยวกลับมา.
  9. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  10. หนี้สูญ : น. หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้จากลูกหนี้ได้.
  11. หมวกเหล็ก : น. หมวกสำหรับทหารหรือตำรวจสวมเพื่อป้องกันอันตราย จากอาวุธเป็นต้น.
  12. หมอ ๒ : (ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้าย หมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.
  13. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  14. หม่อมฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับเจ้านายที่มีศักดิ์เสมอกันหรือ สําหรับผู้หญิงใช้พูดกับเจ้านาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  15. หม่อมราชวงศ์ : น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมเจ้า.
  16. หม่อมห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย, ใช้คํานําหน้านามว่า หม่อม.
  17. หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
  18. หมายเกณฑ์ : (กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ที่ถูกเกณฑ์.
  19. หมายบังคับคดี : (กฎ) น. หมายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อ ศาลเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.
  20. หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
  21. หลงใหลได้ปลื้ม : (สำ) ก. ตื่นเต้นยินดีเมื่อตนเองหรือผู้อื่นได้ดิบได้ดีเป็นต้น เช่น อย่ามัวหลงใหลได้ปลื้มกับรางวัลจนลืมหน้าที่การงานของตน.
  22. หลบหนี้ : ก. หลบไม่ยอมพบเจ้าหนี้.
  23. หลวงจีน : น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของ เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
  24. หล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สําหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้ง บุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  25. หลุดมือ : ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือ ไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลา ไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
  26. หอคำ : น. เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้นฝ่ายเหนือ.
  27. ห่อน : ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคําประพันธ์บาง คราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).
  28. หอบังคับการ : น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงาน ควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจําเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตาม ที่ได้รับมอบหมาย.
  29. หักกลบลบหนี้ : (กฎ) น. การนําเอาหนี้ที่บุคคล ๒ คนต่างเป็นลูกหนี้และ เจ้าหนี้ในมูลหนี้อันมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างเดียวกัน มาหักลบกันเท่า จํานวนหนี้ที่ตรงกัน เพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.
  30. หัวโขน ๑ : น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยาย หมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.
  31. หัวซุกหัวซุน : ว. อาการที่หลบหนีอย่างรีบร้อนโดยไม่หยุดยั้ง เช่น ผู้ร้าย หนีตำรวจหัวซุกหัวซุน.
  32. หัวเทียน : น. เดือยหัวเสาสําหรับรับขื่อ; กลอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ซึ่งทํา หน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิง ผสมอากาศภายในกระบอกสูบ.
  33. หัวนกกระจอก : น. กลอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสวมอยู่ตรงกลางจานจ่ายไฟ ทํา หน้าที่หมุนจ่ายกระแสไฟแรงสูงให้เข้าสู่หัวเทียนเพื่อให้เกิดประกายไฟฟ้า ที่เขี้ยวหัวเทียน.
  34. หัวเรือใหญ่ : น. ผู้ออกรับแทนผู้อื่นเสียเอง, ผู้จัดการทุกอย่างให้ผู้อื่นด้วย ตนเอง, ผู้ที่ชอบเจ้ากี้เจ้าการทำเรื่องต่าง ๆ เสียเอง.
  35. หัวหอก : น. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่นำผู้อื่นไปก่อนในการต่อสู้ หรือการพัฒนาสังคมเป็นต้น เช่น ส่งทหารพรานเป็นหัวหอกไปค้นหา ผู้ก่อการร้าย.
  36. ห้าม : ก. ให้เว้นกระทํา, ไม่ให้ทําตามที่กําหนดไว้. น. เรียกภรรยาของเจ้านายที่ ไม่ใช่สะใภ้หลวง ว่า นางห้าม, เรียกหญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย ว่า หม่อมห้าม.
  37. หาไม่ ๓ : สัน. มิฉะนั้น, ไม่เช่นนั้น, เช่น เธอต้องออกไปจากบ้านของฉัน เดี๋ยวนี้ หาไม่ฉันจะแจ้งตำรวจว่าเธอบุกรุก.
  38. เหม็ง : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเหม็งประตูใด โปออกประตูนั้น เจ้ามือ ใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกข้างเคียงซ้ายหรือขวา เป็นเจ๊า ถ้าออกประตูตรงข้าม เจ้ามือกิน เช่น เหม็ง ๒ ถ้าออก ๒ เป็นถูก ออกหน่วย ออก ๓ เป็นเจ๊า ออกครบ เจ้ามือกิน.
  39. เหมาะสม : ว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.
  40. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  41. เหาจะกินหัว, เหาจะขึ้นหัว : (สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือ ผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.
  42. แหง ๑ : [แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
  43. แหย็ม : (ปาก) ก. เข้าไปยุ่งด้วยโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องของผู้ใหญ่ เด็กอย่างเราอย่าไปแหย็ม.
  44. ให้สินเชื่อ : (กฎ) น. ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต.
  45. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  46. องครักษ์ : [องคะ] น. ผู้ทําหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน เช่น องครักษ์นักการเมือง.
  47. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  48. อดิศร, อดิศวร : [อะดิสอน, สวน] น. ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่. (ส. อติ + อีศฺร, อติ + อีศฺวร).
  49. อติราช : [อะติราด] น. เจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่, มหาราช. (ป.).
  50. อธิการ : [อะทิกาน] น. เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสซึ่งไม่มีสมณศักดิ์ อย่างอื่นว่า พระอธิการ, เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งพระอุปัชฌาย์หรือ เจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า เจ้าอธิการ; ตําแหน่งสูงสุด ของผู้บริหารในวิทยาลัย. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-986

(0.1055 sec)