Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าหน้าที่ตำรวจ, หน้าที่, ตำรวจ, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าหน้าที่ตำรวจ, 986 found, display 301-350
  1. ขนมเปียกปูน : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผา ให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิและน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลง ใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาว เท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ก็เรียก.
  2. ขยด : [ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
  3. ขรัว : [ขฺรัว] น. คําเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่า. ว. เรียกคนที่มั่งมีว่า เจ้าขรัว.
  4. ขรัวตา : น. สามัญชนที่เป็นตาของพระองค์เจ้า.
  5. ขรัวยาย : น. สามัญชนที่เป็นยายของพระองค์เจ้า.
  6. ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
  7. ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
  8. ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
  9. ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  10. ขอเฝ้า : น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่ง เครื่องแบบราชการ.
  11. ข้อหา : น. คํากล่าวโทษ; (กฎ) คํากล่าวหาบุคคลว่าได้กระทําความผิด อาญา; คํากล่าวหาเกี่ยวกับข้อโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลใน ทางแพ่ง.
  12. ขับ ๒ : ก. ร้องเป็นทํานอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา. ขับซอ (ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
  13. ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ : (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบ ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อน เจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้น ก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
  14. ข้าพเจ้า : [ข้าพะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  15. ข้าพระพุทธเจ้า : [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคม ทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  16. ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
  17. ข้าราชการอัยการ : (กฎ) น. ข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการ ดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงาน อัยการ, ถ้ารวมถึงข้าราชการธุรการในสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย เรียกว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการ. (ดู อัยการ).
  18. ข้าว : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae โดยเฉพาะ ชนิด Oryza sativa L. เมล็ดเป็นอาหารหลัก มีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว.
  19. ข้าวเกรียบ : น. ของกินทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว เป็นแผ่น ตากให้แห้ง แล้วปิ้งหรือทอด มีหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง.
  20. ข้าวเกรียบปากหม้อ : น. ชื่อของว่างชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทําด้วยกุ้งหรือหมูเป็นต้น. ข้าวเกรียบอ่อน น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสม กับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำ เดือด มีไส้ทําด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงา.
  21. ข้าวตอก ๑ : น. ข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอก.
  22. ข้าวพอง : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยเมล็ดข้าวเจ้าทอดน้ำมันให้พอง เคล้ากับน้ำตาลแล้วอัดเป็นแผ่น.
  23. ข้าวมัน : น. ข้าวเจ้าที่หุงด้วยกะทิให้สุก มักกินกับส้มตำ, ข้าวเจ้า ผัดกับมันไก่ แล้วหุงแบบไม่เช็ดน้ำ; (ถิ่น-พายัพ) ข้าวเหนียวหุง แล้วมูนด้วยกะทิ.
  24. ข้าวเหนียว : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิ และนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและ นํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอา มานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.
  25. ข้าหลวง ๑ : น. (โบ) คนที่ถวายตัวเป็นข้าของพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย, คนใช้ของพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย.
  26. ข้าหลวงเดิม : น. คนใช้เก่าแก่ของเจ้านาย, คนที่พระเจ้าแผ่นดินเคย ใช้มาแต่เมื่อยังไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน, (ปาก) คนหรือสิ่งของที่ ใช้สอยถูกใจมาเป็นเวลานาน ๆ.
  27. ข้าหลวงน้อย : น. คนใช้ของเจ้านาย.
  28. ขี้หนู ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าโม่ทับน้ำ ยีให้ร่วนแล้วนึ่งให้สุก ใส่น้ำเชื่อม เคล้าให้ฟูเป็นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทราย โรยด้วยมะพร้าว ทึนทึกขูด, (ราชา) ขนมทราย.
  29. ขุดเพ็ด : น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
  30. ขุนแผน ๑ : (โบ) น. พรหมธาดา. (เจ้าแห่งแผน คือพระพรหม).
  31. ขุนหมื่น : (โบ) น. ข้าราชการชั้นต่ำพวกหนึ่งที่เจ้าสังกัดเอาประทวน ตั้งเป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง.
  32. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  33. เข้าทรง : ก. อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.
  34. เข้าเฝ้า : ก. ไปหาเจ้านาย.
  35. เข้าเวร : ก. เข้าอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้.
  36. เขียนทอง : น. เรียกผ้าลายแต้มทองสําหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายทรง.
  37. แขก ๑ : น. ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ, บางทีเรียกว่า แขกเหรื่อ; คนบ้านอื่นที่มาช่วยทํางาน.
  38. โขลน : [โขฺลน] (โบ) น. ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยใน พระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้าย ตํารวจ; ตําแหน่งราชการฝ่ายทหาร. (จารึกสยาม).
  39. ไข่ขาว : น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน มีสีขาวใสอยู่รอบ ๆ ไข่แดงเป็นสารโปรตีนทําหน้าที่ป้องกันส่วน ที่เป็นเซลล์ของไข่ เวลาเซลล์ของไข่แบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน ไข่ขาว จะเป็นอาหารของตัวอ่อนด้วย; (เคมี) กลุ่มของโปรตีน ซึ่งมีนํ้าหนัก โมเลกุลประมาณ ๖๕,๐๐๐ ถึง ๗๐,๐๐๐.
  40. คงคา ๑ : น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้า สําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.
  41. คณะกรมการจังหวัด : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด.
  42. คณะรัฐมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบ ด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.
  43. คณานุกรม : น. ฐานานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ ฝ่ายพระสงฆ์จีนและพระสงฆ์ญวน.
  44. คนกลาง : น. ผู้ถือเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย, ผู้ทําการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค.
  45. คนทรง : น. คนทรงเจ้าและผี.
  46. คมนาคม : [คะมะนาคม, คมมะนาคม] น. การติดต่อไปมาถึงกัน, การสื่อสาร; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการคมนาคม การขนส่ง การพาณิชยนาวี การสื่อสาร และการอุตุนิยมวิทยา. (ป. คมน + อาคม).
  47. ครอก ๒ : [คฺรอก] (โบ) น. เจ้าโดยกำเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรส และพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและ หม่อมเจ้าว่า เจ้าครอก.
  48. คร่ำ ๑ : [คฺรํ่า] ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทําหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  49. ครุย : [คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวม หรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.
  50. คฤหบดี : [คะรึหะบอดี] น. ชายที่เป็นเจ้าบ้าน, ผู้มีอันจะกินซึ่งเป็นเจ้าบ้าน, คหบดี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตี; ป. คหปติ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-986

(0.1110 sec)