Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าหน้าที่ตำรวจ, หน้าที่, ตำรวจ, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าหน้าที่ตำรวจ, 986 found, display 501-550
  1. ท้าว ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตําแหน่ง บรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คําประกอบชื่อผู้ชายที่ เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.
  2. ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
  3. ทำเนียบ ๒ : ก. เทียบ, เปรียบ. น. การลําดับตําแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบ แบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบสมณศักดิ์ ทําเนียบราชการ, การแบ่ง ประเภทช้างม้าเป็นต้นที่วางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบช้าง ทําเนียบม้า. (แผลงมาจาก เทียบ).
  4. ทำวัตร : ก. กระทํากิจที่พึงกระทําตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่น ไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทําวัตรพระ ก็ว่า; ทําสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
  5. ทิวงคต : (ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้ รับการเฉลิมพระยศพิเศษ).
  6. ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
  7. ทูล : ก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.).
  8. ทูลกระหม่อม ๑ : น. คําสําหรับเรียกเจ้าฟ้าซึ่งมีพระราชชนนีเป็น อัครมเหสีหรือมีพระราชชนนีเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ รัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง.
  9. เทพนารี : [เทบ-] น. นางกษัตริย์, เจ้าหญิง.
  10. เทพนิยม : [เทบ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าจํานวนมากประจําอยู่ใน สรรพสิ่ง แต่พระเจ้านั้นไม่มีอํานาจครอบครองโลก.
  11. เทพบดี : [เทบบอดี] น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอินทร์. (ส.).
  12. เทพพยากรณ์ : [เทบ-] น. คําทํานายเหตุการณ์ล่วงหน้าที่มนุษย์ ได้รับจากพระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง มักมีนักบวชหรือ คนทรงเป็นสื่อกลาง.
  13. เทพาธิบดี : น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอิศวร. (ป., ส.).
  14. เทพี ๑ : น. เทวี, เรียกหญิงที่ทําหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนา ว่า นางเทพี, หญิงที่ชนะประกวดความงาม เช่น เทพีสงกรานต์.
  15. เทเวศ, เทเวศร์, เทเวศวร์ : [-เวด] น. เทวดาผู้เป็นใหญ่, หัวหน้าเทวดา; พระราชา, เจ้านาย.
  16. เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
  17. แทน : ก. สนอง เช่น แทนคุณ. ว. ต่าง เช่น เอาเกลือแทนนํ้าปลา, อาการที่ บุคคลหนึ่งทําหน้าที่ในฐานะของอีกบุคคลหนึ่ง เช่น รักษาการแทน ทําแทน ไปแทน.''
  18. ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  19. ธนาคารโลก : น. คําสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและ วิวัฒนาการ ซึ่งทําหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน.
  20. ธเนศ, ธเนศวร : [ทะเนด, ทะเนสวน] (แบบ) น. เจ้าแห่งทรัพย์, คนมั่งมี; ท้าวกุเวร. (ส.).
  21. ธรรมการย์ : น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
  22. ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  23. ธุร-, ธุระ : [ทุระ] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทํา, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).
  24. นกต่อ : (สํา) น. คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลง เชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี).
  25. นครบาล : [นะคอนบาน] น. (เลิก) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองนครหลวง; ชื่อทบวงการเมืองระดับกระทรวงในสมัยก่อน คือ กระทรวงนครบาล ซึ่งมีหน้าที่ปกครองเขตนครหลวง; เรียกตำรวจที่มีหน้าที่ระวังและระงับ เหตุการณ์ทางอาญาในกรุงเทพมหานครว่า ตำรวจนครบาล.
  26. นครินทร์ : [นะคะ] น. จอมนคร, เจ้าเมือง, เมืองใหญ่. (ส. นคร + อินฺทฺร).
  27. นเคนทร์, นเคศวร : น. เจ้าเขา, เขาหิมพานต์, เขาไกรลาส. (ส.).
  28. นฤพาน : [นะรึ] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่ พระมหากษัตริย์) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จ
  29. นอนโรง : ก. นอนค้างคืนล่วงหน้าที่โรงก่อนกําหนดงาน (ใช้แก่โขน เป็นต้น) เช่น โขนนอนโรง.
  30. นักการ : น. พนักงานชั้นผู้น้อยตํ่ากว่าเสมียน ทําหน้าที่เดินหนังสือ.
  31. นักการเมือง : น. ผู้ฝักใฝ่ในทางการเมือง, ผู้ที่ทําหน้าที่ทางการเมือง เช่น รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา.
  32. นา ๓ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแล รักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแล ทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.
  33. นางกำนัล : น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับ พระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม.
  34. นางร้องไห้ : น. หญิงที่ทําหน้าที่หรือรับจ้างร้องไห้ครํ่าครวญถึงคุณความดี ของผู้ตาย.
  35. นางห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้านายที่ไม่ใช่สะใภ้หลวง.
  36. นายอำเภอ : ( (กฎ) น. ตําแหน่งเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งเป็น หัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบ ในการบริหารราชการของอําเภอ.
  37. นาศ : (แบบ) น. ความเสื่อม, การทําลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).
  38. น้ำคร่ำ : น. ของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอด เป็นต้น เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  39. นำจับ : (กฎ) ก. นําความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทําการจับกุม ผู้กระทําความผิด.
  40. น้ำดอกไม้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลาย กับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมชักหน้า ก็เรียก.
  41. น้ำเต้า : น. (๑) ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl. ในวงศ์ Cucurbitaceae อยู่ในจําพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้ง ใช้เป็นภาชนะได้; อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า; ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือ ฝัดลูกบาศก์ ซึ่งมี ๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง. (๒) โกฐนํ้าเต้า. (ดู โกฐนํ้าเต้า ที่ โกฐ).
  42. นิติกรณ์ : (กฎ) น. การรับรองของเจ้าพนักงานว่าเป็นตราสารที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย. (อ. legalization).
  43. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  44. นิวคลิอิก : น. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี ๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่ง เรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid) ซึ่งเรียก ย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทําหน้าที่เก็บรวบรวมและ ถ่ายทอดพันธุกรรม. (อ. nucleic acid).
  45. เนื้อเยื่อ : น. กลุ่มของเซลล์ที่มักมีลักษณะเหมือนกัน ทําหน้าที่ร่วมกัน. (อ. tissue). เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ น. เนื้อเยื่อส่วนที่ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เคลื่อนไหวได้. (อ. muscular tissue).
  46. เนื้อเยื่อบุผิว : น. เนื้อเยื่อที่ทําหน้าที่บุผิวนอก บุผิวใน บุโพรง บุท่อ บุต่อมของอวัยวะ. (อ. epithelial tissue).
  47. เนื้อเยื่อประสาท : น. เนื้อเยื่อของระบบประสาท ทําหน้าที่ติดต่อประสาน งานระหว่างอวัยวะภายใน และระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอก. (อ. nervous tissue).
  48. ใน : บ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ, เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).
  49. ในกรม : (ปาก) น. เรียกเจ้านายที่ทรงกรม, ย่อมาจากคําว่า เสด็จในกรม.
  50. บดีธรรม : น. หน้าที่ของผัว. (ส. ปติธรฺม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-986

(0.1049 sec)