Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าเมือง, เมือง, เจ้า , then จา, จามอง, เจ้, เจ้า, เจ้าเมือง, มอง, เมือง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าเมือง, 1244 found, display 1001-1050
  1. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  2. อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
  3. อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
  4. อัยยะ : น. ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย. (ป.).
  5. อา ๓, อ๋า : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยแทง อา เหม็ง ซั้ว กางปีก ๓ ประตู โปออก ประตูใดใน ๓ ประตูนั้น เจ้ามือใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน หมดทั้ง ๓ ประตู.
  6. อาชญา : [อาดยา, อาดชะยา] น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชําระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชําระความแพ่ง; คํา อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คํา อาญา เป็นพื้น.
  7. อาชญาบัตร : [อาดยาบัด, อาดชะยาบัด] (กฎ) น. ใบอนุญาตซึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้ประกอบการ อาชีพบางอย่างตามเขตที่กําหนด.
  8. อาญา : น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺ?า); (กฎ) คดีที่เกี่ยวกับการ กระทําความผิดตามกฎหมายอาญา เรียกว่า คดีอาญา แตกต่างกับ คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน ซึ่งเรียกว่า คดีแพ่ง.
  9. อาณาจักร : น. เขตแดนที่อยู่ในอํานาจปกครองของประเทศหนึ่ง ๆ; อํานาจปกครองทางบ้านเมือง, คู่กับ ศาสนจักร ซึ่งหมายความว่า อํานาจปกครองทางศาสนา.
  10. อาณานิคม : น. เมืองขึ้น, ประเทศที่อยู่ใต้อํานาจอธิปไตยของ ประเทศอื่น.
  11. อายุกตกะ, อายุตกะ : [ยุกตะกะ, ยุดตะกะ] น. นายส่วย, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่. (ส. อายุกฺตก; ป. อายุตฺตก).
  12. อาวาส : [วาด] น. วัด เช่น เจ้าอาวาส ที่อยู่ เช่น พุทธาวาส (พุทธ + อาวาส) คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หมายถึง โบสถ์ วิหาร สังฆาวาส (สังฆ + อาวาส) คือ ที่อยู่ของพระสงฆ์; ผู้ครอบครอง เช่น ฆราวาส (ฆร + อาวาส) คือ ผู้ครอบครองเรือน หรือผู้อยู่ครองเรือน. (ป., ส.).
  13. อาวุโส : ว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่า หรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการ ทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคํา อาลปนะ คือ คําที่ พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษา น้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคําที่ พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษา มากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).
  14. อินเดียนแดง : น. ชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมพวกหนึ่งในทวีปอเมริกา.
  15. อินทขีล : [ทะขีน] น. เสาหรือหลักหน้าประตูเมือง, หลักเมือง, เสาเขื่อน. (ป.; ส. อินฺทฺร + กีล).
  16. อิศร : [อิด] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นริศร มหิศร, หรือแผลงเป็น เอศร เช่น นฤเบศร. ว. เป็นใหญ่, เป็น ใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัวไม่ขึ้นแก่ใคร. (จาก ส. อีศฺวร ซึ่งมักใช้ อิศวร).
  17. อิศวร : [อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).
  18. อิสริยยศ : [อิดสะริยะยด] น. ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความ ยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศ ทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้า พระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดี ความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรม จึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระนามเดิม เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์.
  19. อิสริย, อิสริยะ : [อิดสะริยะ] น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นเจ้า, ความยิ่งใหญ่. (ป. อิสฺสริย; ส. ไอศฺวรฺย).
  20. อี๋ ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นลูกกลม ๆ ต้มนํ้าตาล.
  21. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  22. อีโปง ๒, อีโปงครอบ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ยซึ่งเรียกว่า ลูกอีโปง ลักษณะเป็นลูกบาศก์ หน้าทั้ง ๖ ด้านมีภาพนํ้าเต้า ปู ปลา กุ้ง เสือ ไก่ ให้ลูกค้าแทง ถ้าแทงถูกเจ้ามือใช้ ๓ ต่อ.
  23. อุทธรณ์ : [อุดทอน] น. การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, การเคลื่อนที่, การเสนอ, การ นำมาให้; ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เรียกว่า ศาลอุทธรณ์. ก. (กฎ) ยื่นฟ้องหรือยื่นคําร้องต่อศาลสูงคัดค้านคํา พิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น; ยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งหรือคํา วินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่; ร้องเรียน, ร้องทุกข์, เช่น ร้องอุทธรณ์. (ป., ส. อุทฺธรณ).
  24. อุปยุวราช : [อุปะยุวะราด, อุบปะยุวะราด] น. ตําแหน่งเจ้าในนครล้านช้างรอง พระเจ้าแผ่นดิน แต่อยู่เหนืออุปราช. (ป.).
  25. เอกภาคี : [เอกะ, เอกกะ] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัว ปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลําพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วม หรือรับรู้ด้วย.
  26. เอกสารราชการ : [เอกกะ] (กฎ) น. เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทํา ขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และหมายความรวมถึงสําเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย.
  27. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  28. เอางาน : ก. แสดงความเคารพเจ้านายชั้นสูงโดยแบมือเอาสันมือ ลงแล้วกระดกมือขึ้นน้อย ๆ ก่อนรับของ (ใช้แก่การรับของจาก เจ้านายชั้นสูงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม).
  29. แอบอ้าง : ก. เอาไปอ้างโดยเจ้าตัวไม่รู้.
  30. โองการ : น. คําศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคําศักดิ์สิทธิ์มาจาก พระดํารัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).
  31. โอย ๒ : (โบ) ก. อวย, ให้, เช่น คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ ด้านที่ ๒).
  32. โอรส : [รด] น. ลูกชาย (ใช้แก่เจ้านาย). (ป. โอรส ว่า ผู้เกิดแต่อก).
  33. ไอศวรรย์ : [ไอสะหฺวัน] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน; อํานาจ; (กลอน) สมบัติแห่งพระราชาธิบดี, ใช้ว่า ไอศุริย หรือ ไอศูรย์ ก็มี. (ส. ไอศฺวรฺย; ป. อิสฺสริย).
  34. มอง ๑ : ก. มุ่งดู.
  35. มอง ๒ : น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่งจำพวกอวน แต่เล็กสั้น และตาถี่กว่าอวน ใช้ในแม่น้ำลำคลอง.
  36. เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  37. จาคะ : น. การสละ, การให้ปัน. (ป.; ส. ตฺยาค).
  38. จาตุรนต์รัศมี : น. ผู้มีรัศมีแผ่ไปในทิศทั้ง ๔ คือ พระอาทิตย์. (ส.).
  39. มองการณ์ไกล : ก. คาดคะเน เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงโดยอาศัยเหตุผล หรือประสบการณ์เป็นต้น, เห็นการณ์ไกล ก็ว่า.
  40. มองเมียง : ก. เลียบ ๆ เคียง ๆ ดู.
  41. มองเสี้ยว : น. ท่าโขนท่าหนึ่ง.
  42. มัญจกะ, มัญจา : [มันจะกะ, มันจา] น. เตียง, ที่นอน. (ป., ส. มญฺจ, มญฺจก).
  43. ราชกิจจานุเบกษา : น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับ ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  44. แล ๑ : ก. ดู, มอง, เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา, ทอดตาดู เพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น.
  45. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  46. กรรมวาจาจารย์ : [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
  47. จ่า ๑ : น. หัวหน้า, หัวโจก, เช่น จ่าฝูง จ่าโขลง; ยศทหารและตํารวจชั้นประทวน
  48. จ่า ๒ : ก. บอก, เขียนบอก; ถูกปรับ (ในการเล่นโยนหลุมเป็นต้น).
  49. จ่า ๓ : น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ ตวัก ก็ว่า.
  50. เจ่า ๑ : น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1244

(0.1082 sec)