Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าเมือง, เมือง, เจ้า , then จา, จามอง, เจ้, เจ้า, เจ้าเมือง, มอง, เมือง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าเมือง, 1244 found, display 901-950
  1. สมจร : ก. ร่วมประเวณี เช่น เจ้าสมจรด้วยเมียข้าคนตนเองไซ้ ท่านให้ไหมให้ผัวมันเปนไท ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่แลเจ้า ข้ามิให้แลมันภากันหนีไกล (สามดวง) มีนิทานเรื่องนางนาค สมจรกับงูดิน.
  2. สมเด็จ : น. คํายกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือแต่งตั้ง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จ เจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ, ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี.
  3. สมนอก : น. เลกของเจ้านายที่ทรงกรมหรือขุนนางที่มีสิทธิ์มีเลก.
  4. สมใน : น. เลกของเจ้านายฝ่ายใน.
  5. สมพล ๑ : [พน] น. เลกของขุนนางที่ปกครองหัวเมือง; (โบ) แบบวิธีเลขไทย ในการฝึกหัดให้คูณคล่อง.
  6. สมภาร : [พาน] น. พระที่เป็นเจ้าอาวาส. (ป., ส. สมฺภาร).
  7. สมยอม : ก. ยอมตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาบางอย่าง (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เจ้าทุกข์สมยอมกับเจ้าหน้าที่.
  8. สมัญญา : [สะมันยา] น. ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญา ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ศาสดาของ ศาสนาเชนได้รับสมัญญาว่า มหาวีระ เพราะเป็นผู้มีความกล้าหาญมาก. (ป.).
  9. สมิงพราย : น. เจ้าผี.
  10. สยาม, สยาม : [สะหฺยาม, สะหฺยามมะ] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.
  11. สยามานุสติ : [สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึง ประเทศสยาม, ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  12. สรง : [สง] ก. อาบนํ้า (ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย). (ข.).
  13. สรเลข : [สอระ] น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองในสมัยโบราณ.
  14. สร้าง ๑ : [ส้าง] ก. เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้ทั้ง ทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างศัตรู สร้างชื่อเสียง.
  15. สลับเรือน : (โหร) ก. อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกัน ในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครองเรือนเกษตร ศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ไปครองเรือนเกษตรพุธ ราศีกันย์.
  16. ส่วนกลาง : น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง.
  17. ส่วนพระองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้า ขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์.
  18. ส่วนภูมิภาค : น. ส่วนหัวเมือง.
  19. ส่วนองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์.
  20. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  21. สวรรค, สวรรค์ : [สะหฺวันคะ, สะหฺวัน] น. โลกของเทวดา, เมืองฟ้า. (ส. สฺวรฺค; ป. สคฺค).
  22. สวรรคาลัย : ก. ตาย (ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง), (กลอน) ตาย.
  23. สวามิภักดิ์ : ก. ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อํานาจ เช่น ข้าศึกเข้ามา สวามิภักดิ์, สามิภักดิ์ ก็ว่า. (ส. สฺวามินฺ + ภกฺติ ว่า ความซื่อตรงต่อเจ้า).
  24. สวามิ, สวามี : [สะหฺวา] น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย; ผัว, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสวามี; เจ้าของ. (ส. สฺวามี, สฺวามินฺ; ป. สามิ).
  25. สอดไส้ : ก. ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่ง แปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้ธนบัตร ปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็นประโยชน์แก่ตน ปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอเซ็น. ว. เรียกขนม ชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วย ใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก.
  26. สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  27. สักกะ ๒, สักยะ : น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์, ศากยะ ก็ว่า. (ป.; ส. ศากฺย). (ดู ศากย, ศากยะ).
  28. สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  29. สังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์ หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด.
  30. สังฆการี : น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง.
  31. สังฆาธิการ : น. พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์นับตั้งแต่ ตําแหน่งเจ้าคณะภาคลงมาจนถึงตําแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส เรียกว่า พระสังฆาธิการ.
  32. สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
  33. สัญญาบัตร : น. ใบตั้งยศ บรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน ทรงตั้ง เช่น นายทหารสัญญาบัตร พระราชาคณะสัญญาบัตร พระครูสัญญาบัตร, ถ้าเป็นใบที่เจ้ากระทรวงตั้ง เรียกว่า ใบประทวน.
  34. สัทธาจริต : ว. มีความเชื่อเป็นเจ้าเรือน, มีนิสัยเชื่อง่าย, เช่น เขาเป็นคน สัทธาจริตเชื่ออะไรง่าย. (ป.).
  35. สันนิบาตเทศบาล : น. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาล เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วย เหลือสนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มี จุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย.
  36. สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
  37. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  38. สัสดี : [สัดสะดี] น. ผู้รวบรวมบัญชีคน, เจ้าหน้าที่บัญชีทหาร; การรวมบัญชีคน.
  39. สากิยมุนี : น. ศากยมุนี, พระนามของพระศากยพุทธเจ้า. (ป.).
  40. สากิย, สากิยะ : น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่า ศากยวงศ์ หรือ สากิยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ว่า ศากยะ หรือ สากิยะ, ถ้าเพศหญิง ใช้ว่า สากิยา หรือ สากิยานี. (ป.; ส. ศากฺย).
  41. หญิงหากิน : น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือ หญิงงามเมือง ก็ว่า.
  42. หดหู่ : ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรม แล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่ เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.
  43. หน่วงเหนี่ยว : [หฺน่วงเหฺนี่ยว] ก. รั้งตัวไว้, ดึงถ่วงไว้, กักไว้, เช่น เจ้าหน้าที่ หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหา.
  44. หนักแผ่นดิน : (สํา) ว. ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมือง ของตน, เสนียดสังคม.
  45. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ : (กฎ) น. หนังสือคํารับรองจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ออกให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อแสดง ว่าได้ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว.
  46. หน้าเลือด : ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะ เห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.
  47. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  48. หนี้สูญ : น. หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้จากลูกหนี้ได้.
  49. หมอ ๒ : (ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้าย หมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.
  50. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1244

(0.1113 sec)