Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าเมือง, เมือง, เจ้า , then จา, จามอง, เจ้, เจ้า, เจ้าเมือง, มอง, เมือง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าเมือง, 1244 found, display 651-700
  1. ฝ่าพระบาท : ส. ท่าน (ใช้แก่เจ้านาย), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  2. ฝ่ายขวา : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยม.
  3. ฝ่ายซ้าย : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้น นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง, โดยทั่วไป ใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์.
  4. ฝ่ายใน : น. เจ้านายและข้าราชการเป็นต้นที่เป็นสตรีสังกัดอยู่ภายใน พระราชฐานชั้นใน.
  5. ฝ่ายเป็นกลาง : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นไม่ฝักใฝ่หนักไปทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา.
  6. ฝ่ายหน้า : น. เจ้านายและข้าราชการซึ่งไม่ใช่ฝ่ายใน.
  7. เฝ้า : ก. ระวังดูแล, รักษา, เช่น เฝ้าไข้ เฝ้าขโมย เฝ้าบ้าน; มุ่งทำแต่สิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น เฝ้าถาม เฝ้าแต่ร้องไห้; จ้องดู, คอยดู, เช่น นั่งเฝ้า โทรทัศน์ตลอดวัน; (ราชา) ไปพบ, ไปหา, เช่น เฝ้าเจ้านาย.
  8. เฝ้าศพ : ก. อยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพในงานศพ.
  9. เฝ้าแหน : [–แหนฺ] ก. เฝ้าระวังเหตุการณ์, เฝ้าเจ้านายตามตําแหน่ง.
  10. ใฝ่ฝัน : ก. คิดอยากได้, มุ่งหวัง, เช่น ใฝ่ฝันอยากไปเมืองนอก. ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะดิ้นตาย (สํา) ก. มุ่งหวังจะสบายต้อง ทํางาน ถ้าเกียจคร้านจะลําบากยากจน.
  11. พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
  12. ฯพณฯ : [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).
  13. พธู : [พะ] น. เจ้าสาว; เมีย; ผู้หญิง. (ส., ป. วธู).
  14. พนักงานสอบสวน : (กฎ) น. เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอํานาจ และหน้าที่ทําการสอบสวน.
  15. พนักงานอัยการ : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่น ผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้; ข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดผู้มี อำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ในฐานะทนาย แผ่นดิน, อัยการ ก็เรียก.
  16. พนัสบดี : [พะนัดสะบอดี] น. เจ้าป่า. (ส. วนสฺปติ หมายถึง ต้นโพ ต้นไทร และต้นมะเดื่อ; ป. วนปฺปติ).
  17. พรรคการเมือง : น. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียว กัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย.
  18. พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  19. พระเจ้า : น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้า พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.
  20. พระชายา : (ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.
  21. พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
  22. พระทอง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; (กลอน) คําแทนชื่อเจ้านาย. พระทัย (ราชา) น. ใจ.
  23. พระนางเธอ : น. ตําแหน่งพระมเหสี ตํ่ากว่าพระนางเจ้า.
  24. พระนาย : น. คําเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า พระนายไวยวรนาถ.
  25. พระภูมิ : น. เทพารักษ์ประจําพื้นที่และสถานที่, พระภูมิเจ้าที่ ก็เรียก.
  26. พระรูป, พระรูปชี : น. เจ้านายที่เสด็จบวชเป็นชี.
  27. พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
  28. พระสนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่ม จากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าว ศรีจุฬาลักษณ์.
  29. พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
  30. พลอยสามสี : น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ, จะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงเจ้าสามสี ก็เรียก.
  31. พลัด : [พฺลัด] ก. พลาด หลุด หรือตกจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น ของพลัดจากมือ เด็กพลัดจากต้นไม้, พรากจากกันโดยไม่รู้ว่าหลงไปอยู่ที่ใด เช่น พลัดพ่อ พลัดแม่, พรากจากถิ่นฐานหรือบ้านเกิดเมืองนอนเดิม เช่น พลัดถิ่นฐานบ้านเมือง พลัดบ้าน พลัดเมือง.
  32. พสก, พสก : [พะสก, พะสกกะ] น. ชาวเมือง, พลเมือง. (ป. วส + ค; ส. วศ + ค ว่า ผู้อยู่ในอํานาจ).
  33. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  34. พ่ะย่ะค่ะ : ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลพระราชวงศ์ที่ดํารงพระยศ เจ้าฟ้า.
  35. พัดงาสาน : (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จ พระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า ''คามวาสี อรัญวาสี'' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่าย อรัญวาสี.
  36. พาณี : น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).
  37. พารา : น. เมือง, เขียนเป็น ภารา ก็มี.
  38. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  39. พิรากล : ว. เจ้ามารยา, เจ้าเล่ห์เจ้ากล.
  40. พิราลัย : ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา). (ส. วีร + อาลยว่า ที่อยู่ของนักรบ, สวรรค์).
  41. พื้นบ้าน : ว. เฉพาะถิ่น เช่น ของพื้นบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ พื้นเมือง เป็น พื้นบ้านพื้นเมือง.
  42. พุทธจักร : น. อํานาจปกครองคณะสงฆ์ทางพระพุทธศาสนา, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
  43. เพคะ : ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้เพ็ดทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้า ขึ้นไป.
  44. เพชฌฆาต : [เพ็ดชะคาด] น. เจ้าหน้าที่ประหารชีวิตนักโทษที่ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุดให้ประหารชีวิต. (ป. วชฺฌฆาตก).
  45. เพ็ดทูล : ก. พูดกับเจ้านาย, พิดทูล ก็ว่า.
  46. เพลง : [เพฺลง] น. สําเนียงขับร้อง, ทํานองดนตรี, กระบวนวิธีรําดาบรําทวน เป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).
  47. เพี้ย ๑ : น. ตําแหน่งขุนนางไทยแคว้นล้านนาและล้านช้าง คือ พญา. เพี้ยกวาน, เพี้ยกว้าน น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองสมัยโบราณ ทางล้านนาและล้านช้าง.
  48. โพ้นทะเล : ว. ห่างไกลจากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนโดยมีทะเลกั้น, เรียกชาวจีนที่อยู่นอกประเทศออกไปโดยมีทะเลกั้นว่า จีนโพ้นทะเล.
  49. โพยก๊วน : น. เอกสารที่เกี่ยวกับการส่งเงินทางจดหมายไปเมืองจีน. (จ.).
  50. โพรงแสม : [สะแหฺม] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้า รูปอย่างกระบอก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1244

(0.1020 sec)