Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าเมือง, เมือง, เจ้า , then จา, จามอง, เจ้, เจ้า, เจ้าเมือง, มอง, เมือง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าเมือง, 1244 found, display 401-450
  1. จิ : (แบบ) ก. จะ เช่น จิปากทั้งลิ้นล้า เพื่อเจ้าเจียรจันทร์. (ทวาทศมาส).
  2. จิตกาธาน : [จิดตะ-] น. เชิงตะกอน (สำหรับเจ้านาย), (ราชา) พระจิตกาธาน. (ป., ส. จิตก + อาธาน).
  3. จี้ ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้านวดกับกะทิ แล้วนึ่งให้สุก ปั้นเป็นก้อนกลมแบน หุ้มไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยว จนเหนียวผสมงาคั่ว แล้วคลุกนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุก.
  4. จีวรภาชก : (แบบ) น. ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมุติให้เป็นเจ้าหน้าที่ แจกจีวรที่สงฆ์ได้มาให้แก่ภิกษุ. (ป., ส.).
  5. จุดไต้ตำตอ : (สํา) ก. พูดหรือทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัว หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทําไม่รู้ตัว.
  6. จุดยุทธศาสตร์ : น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
  7. จุลจอมเกล้า : [จุนละ-] น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  8. จู้ ๑ : (ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.
  9. เจ๊สัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ้าขรัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
  10. แจ้งความ : ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
  11. โจท : [โจด] (โบ) ก. ฟ้อง เช่น ทาษโจทเจ้าว่ามิได้เปนทาษก็ดีว่าได้ส่งเงิน ค่าตัวแล้วก็ดี. (สามดวง).
  12. ใจ : น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
  13. ฉนวน ๑ : [ฉะหฺนวน] น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกําบัง ๒ ข้าง สําหรับพระมหากษัตริย์หรือ เจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. ก. กําบัง, คั่น, กั้น.
  14. ฉบัด : [ฉะ-] (กลอน) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่).
  15. ฉลอม : [ฉะหฺลอม] น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลาง ป่องตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชาย ทะเลแถบปากอ่าวสำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึก สงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
  16. ฉ้อราษฎร์บังหลวง : ก. การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎรแล้ว ไม่ส่งหลวงหรือเบียดบังเงินหลวง.
  17. ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
  18. ชฎาพอก : น. ชฎาที่ทําสําหรับสวมพระศพเจ้านาย.
  19. ชนบท : [ชนนะบด] น. บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป. (ป., ส. ชนปท).
  20. ชระลั่ง : [ชฺระ] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คําหลวง กุมาร).
  21. ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
  22. ช่วงสิทธิ์ : (กฎ) ก. เข้าสวมสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่ เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนาม ของตนเอง.
  23. ชวา : [ชะ] น. ชื่อเกาะสําคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของ ประเทศอินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชน ที่พูดภาษาชวาว่า ชาวชวา; ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปี่ชวา.
  24. ช่องกุด : น. ประตูแบบมียอดที่เจาะกําแพงเมืองหรือกําแพงวัง ชั้นนอกเป็นทางเข้าออก.
  25. ช่องตีนกา : น. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาท ใต้แนวใบเสมาของกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.
  26. ชะตา : น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทําให้รู้สึกชอบหรือ ไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสําแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลา เกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่ โหรคํานวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศีเรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
  27. ชะมด ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากันปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้ว ทอดน้ำมัน.
  28. ชักหน้า ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมนํ้าดอกไม้ ก็เรียก.
  29. ชั้ว ๒ : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงชั้วไว้ ๑ ประตู และ ขาย ๑ ประตูโปออกประตูที่ลูกค้าแทงชั้วไว้ เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าขายเจ้ามือกิน ถ้าออกประตูอื่น นอกจากนั้น ไม่ได้ไม่เสีย.
  30. ช้างเผือก ๒ : น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  31. ชาด : น. วัตถุสีแดงสดชนิดหนึ่ง เป็นผงก็มี เป็นก้อนก็มี ใช้ ทํายาไทยหรือประสมกับนํ้ามันสําหรับประทับตราหรือ ทาสิ่งของ, ชาดที่มาจากเมืองจอแสประเทศจีนเรียก ชาดจอแส, ชาดที่มาจากเมืองอ้ายมุ่ยประเทศจีนเรียก ชาดอ้ายมุ่ย. ว. สีแดงสดอย่างหนึ่ง เรียกว่า สีแดงชาด.
  32. ชาตา : น. เวลาเกิดของคน หรือเวลาสร้างสิ่งสำคัญเช่นบ้านเมือง เป็นต้นที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า.
  33. ชาน ๒ : น. เรียกพื้นเรือนนอกชายคาว่า นอกชาน, พื้นที่นอกตัวเรือน ตัวเมืองหรือตัวกําแพง เป็นต้น ออกไป เช่น ชานเมือง ชานกําแพง ชานเขื่อน.
  34. ชายา ๑ : (ราชา) น. หม่อมเจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์, ถ้าพระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์ เรียกว่า พระชายา.
  35. ชายานุชีพ : (โบ) น. ผัวประจําของหญิงงามเมือง. (ส. ชายานุชีวินฺ).
  36. ชาว : น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรือ อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมี อาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง หรือ นับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
  37. ชาวม่าน : น. เรียกเจ้าพนักงานที่ทําหน้าที่ไขพระวิสูตร ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ.
  38. ชีพิตักษัย : (ราชา) น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย, ใช้แก่หม่อมเจ้า ว่า ถึงชีพิตักษัย. (ส. ชีวิตกฺษย; ป. ชีวิตกฺขย).
  39. ชีวาลัย : (กลอน) น. ชีวิต เช่น ก็สิ้นชีวาลัยไปเมืองฟ้า. (รามเกียรติ์ ร. ๑). ก. ตาย เช่น เพียงศรีอนุชาชีวาลัย.
  40. ชุบตัว : ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้น อย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟ เพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้ กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรม เพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงใน ยุโรปและอเมริกาเช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.
  41. ชุบสรง : น. ผ้าผลัดอาบนํ้าเจ้านายหรือพระสงฆ์ เรียกว่า ผ้าชุบสรง.
  42. ชุ่ย ๒ : (วรรณ) ก. เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป, เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้, เช่น อ้ายพลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย เอางาชุ่ยสอยดาวเข้า ราวนม. (ขุนช้างขุนแผน).
  43. เช็คไปรษณีย์ : (กฎ) น. ตราสารสําหรับขายแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ในการส่งเงิน โดยเจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการ ไปรษณีย์แห่งหนึ่ง ให้เจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการไปรษณีย์ แห่งใดแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งระบุ นามไว้หรือผู้ถือตราสารนั้น.
  44. เชลียง : [ชะเลียง] น. ชื่อเครื่องดินเผาที่ทํามาจากเมืองเชลียง ซึ่งอยู่ใน อําเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย.
  45. เชีย : (โบ) ก. ไหว้ เช่น เชียเชิงเจ้าพ่อผัวแม่แง่. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  46. เชียง ๑ : น. คําเรียกเมืองทางภาคพายัพและเหนือขึ้นไป เช่น เชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง.
  47. ซอ ๒ : น. ชื่อเครื่องดนตรีพวกหนึ่งสําหรับสี ในพวกเครื่องสายหรือมโหรี มีคันชักสีให้ดัง มีหลายชนิด เช่น ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน. ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง. (ลอ).
  48. ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
  49. ซึง : น. เครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ รูปร่างคล้ายกระจับปี่ ตัวเป็นโพรง รูปกลมแบน เจาะรูระบายอากาศตรงกลาง มีคันต่อ จากตัวซึงขึ้นไปยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีสาย ๔ สาย.
  50. เซ่น : ก. เอาอาหารเป็นต้นไปไหว้หรือสังเวยผีหรือเจ้า เช่น เซ่นผี เซ่นเจ้า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ วัก เป็น เซ่นวัก, ใช้ว่า เซ่นวักตั๊กแตน ก็มี. เซ่นวักตั๊กแตน ก. เซ่น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1244

(0.1046 sec)