Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าเมือง, เมือง, เจ้า , then จา, จามอง, เจ้, เจ้า, เจ้าเมือง, มอง, เมือง .

Budhism Thai-Thai Dict : เจ้าเมือง, 340 found, display 301-340
  1. ปัญญา : ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้ความเข้าใจชัดเจน, ความรู้ความเข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ, ความรอบรู้ในกองสังขาร มองเห็นตามความเป็นจริง ดู ไตรสิกขา, สิกขา
  2. ผลญาณ : ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมัคคญาณ และเป็นผลแห่งมัคคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น; ดู ญาณ
  3. ภิกษุ : ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว, ชายที่บวชเป็นพระ, พระผู้ชาย; แปลตามรูปศัพท์ว่า ผู้ขอ หรือ ผู้มองเห็นภัยในสังขาร หรือ ผู้ทำลายกิเลส ดู บริษัทสหธรรมิก, บรรพชิต, อุปสัมบัน ภิกษุสาวกรูปแรก ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เทียบ ภิกษุ
  4. โยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี
  5. ร่ม : สำหรับพระภิกษุ ห้ามใช้ร่มที่กาววาว เช่น ร่มปักด้วยไหมสีต่างๆ และร่มที่มีระบายเป็นเฟือง ควรใช้ของเรียบๆ ซึ่งทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัดและอุปจาระแห่งวัด ห้ามกั้นร่มเข้าบ้านหรือกั้นเดินตามถนนหนทางในละแวกบ้าน เว้นแต่เจ็บไข้ ถูกแดดถูกฝนอาพาธจะกำเริบ เช่น ปวดศีรษะ ตลอดจน (ตามที่อรรถกถาผ่อนให้) กั้นเพื่อกันจีวรเปียกฝนตก กั้นเพื่อป้องกันภัย กั้นเพื่อรักษาตัวเช่นในเวลาแดดจัด
  6. ราชธรรม : ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน, คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี มี ๑๐ ประการ (นิยมเรียกว่า ทศพิธราชธรรม) คือ ๑.ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ ๒.ศีล ประพฤติดีงาม ๓.ปริจจาคะ ความเสียสละ ๔.อาชชวะ ความซื่อตรง ๕.มัททวะ ความอ่อนโยน ๖.ตบะ ความทรงเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ ๗.อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ ๘.อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน ๙.ขันติ ความอดทนเข็มแข็งไม่ท้อถอย ๑๐.อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม
  7. วัตรบท ๗ : หลักปฏิบัติ หรือข้อที่ถือปฏิบัติประจำ ๗ อย่าง ที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะหรือพระอินทร์คือ ๑.มาตาเปติภโร เลี้ยงมารดาบิดา ๒.กุเลเชฏฺฐาปจายี เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล ๓.สณฺหวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี ๕.ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินย ชอบเผื่อแผ่ให้ปัน ปราศจากความตระหนี่ ๖.สจฺจวาโจ มีวาจาสัตย์ ๗.อโกธโน หรือ โกธาภิกู ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้
  8. วาสนา : อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
  9. วิภัชชวาที : “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”, เป็นคุณบทคือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่นมองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ
  10. วิโมกข์ : ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ ๑.สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาแล้วถอนความยึดมั่นได้ มองเห็นความว่าง ๒.อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจัง แล้วถอนนิมิตได้ ๓.อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาได้
  11. ศีล ๑๐ : สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล ๘ แต่แยกข้อ ๗ เป็น ๒ ข้อ (= ๗-๘) เลื่อนข้อ ๘ เป็น ๙ และเติมข้อ ๑๐ คือ ๗.เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ ๘.เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ ๙.เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ ๑๐.เว้นจากการรับทองและเงิน; คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่าง) ว่า ๗.นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา- ๘.มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา- ๙.อุจฺจาสยนมหาสยนา- ๑๐.ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา- (คำต่อท้าย เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยมิ เหมือนกันทุกข้อ); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  12. ศีล ๘ : สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยนข้อ ๓ และเติมข้อ ๖-๗-๘ คือ ๓.เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี ๖.เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป ๗.เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ๘.เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย; คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่างจากศีล ๕) ว่า ๓.อพฺรหฺมจริยา- ๖.วิกาลโภชนา- ๗.นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา- ๘.อุจฺจาสยนมหาสยนา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ ๑ ในศีล ๕); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  13. ศีลาจาร : ศีลและอาจาระ, การปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ และมารยาททั่วไป; นัยหนึ่งว่า ศีล คือไม่ต้องอาบัติปาราชิกและสังฆาทิเสส อาจาระ คือ ไม่ต้องอาบัติเบาตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา
  14. สติปัฏฐาน : ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
  15. สมถะ : ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
  16. สังคีติ : ๑.การสังคายนา ดู สังคายนา๒.ในคำว่า “บอกสังคีติ” ซึ่งเป็นปัจฉิมกิจอย่างหนึ่งของการอุปสมบทท่านสันนิษฐานว่า หมายถึงการประมวลบอกอย่างอื่นนอกจากที่ระบุไว้ เช่น สีมาหรืออาวาสที่อุปสมบท อุปัชฌายะ กรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์
  17. สันตติ : การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วง ไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง; ในทางนางธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป
  18. สันทัสสนา : การให้เห็นชัดแจ้ง หรือชี้ให้ชัด คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน มองเห็นเรื่องราวและเหตุผลต่าง ๆ แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดูเห็นประจักษ์กับตา; เป็นลักษณะอย่างแรกของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริยา (ข้อต่อไป คือสมาทปนา)
  19. สัมปหังสนา : การทำให้ร่าเริง หรือปลุกให้ร่าเริง คือ ทำบรรยากาศให้สนุกสดชื่นแจ่มใส เบิกบานใจ ให้ผู้ฟังแช่มชื่นมีความหวัง มองเห็นผลดีและทางสำเร็จ; เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริยา (ข้อก่อนคือสมุตเตชนา)
  20. สัมมสนญาณ : ญาณหยั่งรู้ด้วยพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์, ญาณที่พิจารณาหรือตรวจตรานามรูปหรือสังขาร มองเห็นตามแนวไตรลักษณ์ คือรู้ว่า ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖)
  21. สามัญญลักษณะ : ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
  22. สุญญตวิโมข์ : ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ หมายถึงมองเห็นความว่างหมดความยึดมั่นคือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา พูดสั้นๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา (ข้อ ๑ ในวิโมกข์ ๓)
  23. สุญญตา : “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง 1.ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ 2.ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน 3.โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์ 4.ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; สุญตา ก็เขียน
  24. อชินปเวณิ : เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ มีขนอ่อนนุม จัดเป็นอุจจาสยนะมหาสยนะอย่างหนึ่ง
  25. อทิสสมานกาย : กายที่มองไม่เห็น, ผู้มีกายไม่ปรากฏ, ไม่ปรากฏร่าง, มองไม่เห็นตัว กล่าวคือ เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์บางประเภท (วิกุพพนฤทธิ์) อาจทำการบางอย่างโดยไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกาย; อีกอย่างหนึ่ง เป็นความเชื่อของพราหมณ์ว่าบรรพบุรุษที่ตายไป มีถิ่นเป็นที่อยู่เรียกว่าปิตฤโลก ยังทรงอยู่ด้วยเป็นอทิสสมานกาย ความเชื่อนี้คนไทยก็รับมาแต่ให้บรรพบุรุษเหล่านั้น คงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม อย่างที่เรียกว่า ผีเรือน
  26. อธิปัญญาสิกขา : การศึกษาในอธิปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง จนจิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ปราศจากกิเลสและความทุกข์ (ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า ปัญญา
  27. อธิษฐานธรรม : ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ, ธรรมเป็นที่มั่น มี ๔ อย่าง คือ ๑) ปัญญา ๒) สัจจะ ๓) จาคะ ๔) อุปสมะ (รู้จักหาความสงบใจ)
  28. อนุศาสน์ : การสอน, คำชี้แจง; คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔ นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เที่ยวบิณฑบาต ๒) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓) อยู่โคนไม้ ๔) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอตเรกลาภของภิกษุ) อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขา ๓) ฆ่าสัตว์ (ที่ให้าดจากความเป็นภิกษุหมายเอาฆ่ามนุษย์) ๔) พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
  29. อนุสติ : ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๒) ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๓) สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๔) สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕) จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖) เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรม ๘) กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม ๙) อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐) อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน
  30. อริยทรัพย์ : ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่นเงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ คือ สัทธา สีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา
  31. อริยวัฑฒิ : ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ ๑) ศรัทธา ความเชื่อความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม ๒) ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓) สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔) จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและในกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕) ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
  32. อโลภะ : ความไม่โลภ, ไม่โลภอยากได้ของเขา, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความโลภ คือ ความคิดเผื่อแผ่เสียสละ, จาคะ (ข้อ ๑ ในกุศลมูล ๓)
  33. อัตตวาทุปาทาน : การถือมั่นวาทะว่าตน คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา, อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)
  34. อัตตา : ตัวตน, อาตมัน; ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่าอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง; เทียบ อนัตตา
  35. อาจารวิบัติ : เสียอาจาระ, เสียจรรยา, มรรยาทเสียหาย, ประพฤติย่อหย่อนรุ่มร่าม มักต้องอาบัติเล็กน้อยตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาถึงทุพภาษิต (ข้อ ๒ ใน วิบัติ ๔)
  36. อาทิพรหมจริยกาสิกขา : หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย, ข้อศึกษาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์ เทียบ อภิสมาจาริกาสิกขา
  37. อารยวัฒิ : ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ ๑) ศรัทธา ความเชื่อความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม ๒) ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓) สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔) จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและในกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕) ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
  38. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ : ปรีชาคำนึงเห็นความเกิดและความดับแห่งสังขาร, ญาณที่มองเห็นนามรูปเกิดดับ (ข้อ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
  39. อุโบสถ : 1) การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐานคือตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช เม อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ; อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ 2) การอยู่จำ, การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ 3) วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ 4) สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคารหรืออุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียกว่าโบสถ์
  40. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-340]

(0.0258 sec)