Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เล่นสำนวน, สำนวน, เล่น , then ลน, ลนสำนวน, เล่น, เล่นสำนวน, สำนวน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เล่นสำนวน, 494 found, display 401-450
  1. หมากรุก : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากซึ่งมีรูปและชื่อต่างกันได้แก่ ขุน เรือ ม้า โคน เม็ด และเบี้ย เดินบนกระดานสี่เหลี่ยมจัตุรัส แบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันเรียกว่า กระดานหมากรุก.
  2. หมากลางถนน : น. หมาที่ไม่มีเจ้าของ, โดยปริยายใช้เป็นสำนวนเปรียบ เทียบคนที่ไม่มีสังกัด ไม่มีญาติพี่น้อง ยากจนอนาถา ไม่มีใครเหลียวแล เช่น เขาตายอย่างหมากลางถนน.
  3. หมากฮอส : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากเดินบนกระดานสี่เหลี่ยม จัตุรัสแบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันเหมือนกระดานหมากรุก แต่ระบายสี ๒ สีสลับกันทุกตา เดินหมากตามตาทแยง.
  4. หมาจนตรอก : (สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ใน สำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.
  5. หมาหยอกไก่ : (สํา) น. เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาว เป็นทีเล่นทีจริง.
  6. หยดย้อย : ว. ไพเราะจับใจ เช่น สำนวนหยดย้อย, ชดช้อยอ่อนหวาน เช่น งามหยดย้อย.
  7. หยอก : ก. เล่นหรือล้อไม่จริงจัง. ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่ามาก เช่น เก่งไม่หยอก คือ เก่งมาก.
  8. หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ : ว. ทําท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที; ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง กระโดดหย็องแหย็ง ๆ.
  9. หยอดหลุม : น. การเล่นชนิดหนึ่ง โดยวิธีโยนสิ่งของเช่นสตางค์เป็นต้น ลงหลุม.
  10. หย่ากัน : ก. ไม่กินกัน (ใช้แก่คู่ขาการพนันบางชนิด) เช่น ในการเล่นไพ่ ๒ คนนั้นเขาหย่ากัน.
  11. หยิกแกมหยอก : (สำ) ก. เหน็บแนมทีเล่นทีจริง.
  12. หยี ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมี เมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดํา เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดํา.
  13. หลวม : ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลือ อยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยาย หมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยัง หลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.
  14. หลวมตัว : ก. เผลอไผลหรือถลำตัวเข้าไปโดยเข้าใจผิดหรือเพราะรู้เท่า ไม่ถึงการณ์เป็นต้น เช่น เขาหลวมตัวเล่นการพนันจนหมดตัว.
  15. หลอกล้อ : ก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น, ล้อหลอก ก็ว่า.
  16. หวย ก ข : น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะ ในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีน มาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก.
  17. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  18. หัวหกก้นขวิด : (สํา) ว. อาการที่ซนเล่นไปตามความพอใจไม่ต้องเกรงใจ ใคร เช่น เด็กพวกนี้ไปหัวหกก้นขวิดที่ไหนมา, อาการที่เที่ยวไปตาม ความพอใจไม่อยู่ติดบ้าน เช่น พาเที่ยวหัวหกก้นขวิด.
  19. หาตัวจับยาก : (สํา) ว. เก่งมาก, หาคนเทียบเท่าได้ยาก, เช่น เขาเป็นคน เรียนเก่งหาตัวจับยาก เขาเล่นการพนันเก่งหาตัวจับยาก.
  20. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  21. หุยฮา : ว. เสียงหัวเราะเยาะเย้ย (มักใช้ในการละเล่น).
  22. หูเข้าพรรษา : ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
  23. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  24. เหยาะแหยะ : [-แหฺยะ] ว. ย่อหย่อน, ทําเป็นเล่น, ไม่เอาจริงเอาจัง, เช่น ทำงานเหยาะแหยะ.
  25. เหลา ๑ : [เห-ลา] น. ความหมิ่น; ความสนุก; การเล่น, การกีฬา; การหยอกเอิน; ความสะดวกสบาย. (ส.).
  26. ไหน ๆ : ว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการ ตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไป ไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว.
  27. ไหนจะ : ว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
  28. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  29. ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่า และออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ออกยักษ์ เป็น ออกยักษ์ ออกโขน.
  30. ออกงิ้ว : ก. แสดงอาการโกรธโดยทําท่าทางและส่งเสียงเอะอะตึงตัง อย่างเล่นงิ้ว.
  31. ออกยักษ์ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่าง เล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.
  32. อักขะ ๒ : [ขะ] น. ลูกเต๋า, ลูกบาศก์; การพนันเล่นลูกเต๋าหรือสกา. (ป.; ส. อกฺษ).
  33. อี ๒ : น. คําประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน; คําประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ใน การเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.
  34. อีแก่, อีแก่กินน้ำ : น. ชื่อการเล่นไพ่อย่างหนึ่ง.
  35. อีคว่ำอีหงาย : น. เรียกการเล่นชนิดหนึ่งในจําพวกหมากแยก ซึ่งมีการกินหงายเบี้ย.
  36. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  37. อีตัว : น. เบี้ยใช้ทอยในการเล่นบางอย่างเช่นต้องเต.
  38. อีโปง ๒, อีโปงครอบ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ยซึ่งเรียกว่า ลูกอีโปง ลักษณะเป็นลูกบาศก์ หน้าทั้ง ๖ ด้านมีภาพนํ้าเต้า ปู ปลา กุ้ง เสือ ไก่ ให้ลูกค้าแทง ถ้าแทงถูกเจ้ามือใช้ ๓ ต่อ.
  39. อีหลัดถัดทา : น. ส่วนหนึ่งแห่งคําร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า ''อีหลัดถัดทา''.
  40. อีโหน่อีเหน่ : น. เรื่องราวที่เกิดขึ้น ใช้ในทางปฏิเสธในสำนวนว่า ไม่รู้ อีโหน่อีเหน่.
  41. อุสวะ : [อุดสะวะ] น. การฉลอง, การรื่นเริง, การเล่นสนุก, มหรสพ. (ป. อุสฺสว; ส. อุตฺสว).
  42. อู้ ๒ : ก. ถ่วง, แกล้งทําให้เสร็จช้าลง, เช่น อู้งาน, รอเวลาไว้เพื่อหวังเอา ประโยชน์ ในความว่า อู้ไว้กินบ้อ (ในการเล่นบ้อหุ้น).
  43. เอาจริง ๒ : ว. เอาแน่, ไม่ล้อเล่น.
  44. เอาแต่ : ว. มุ่งเฉพาะอย่างเดียวเท่านั้น เช่น เอาแต่เรียน เอาแต่งาน เอาแต่กิน เอาแต่เล่น.
  45. เอาเถิด ๒, เอาเถิดเจ้าล่อ ๑ : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งไม่จำกัด จำนวนผู้เล่น โดยจะต้องมีคนหนึ่งอยู่โยง ณ หลักที่กำหนดไว้ มี หน้าที่ไล่จับผู้อื่นให้ได้ ถ้าจับใครไม่ได้เลยก็ต้องอยู่โยงต่อ ถ้าจับผู้ใด ได้ผู้นั้นต้องอยู่โยงแทน มีบทร้องประกอบว่า 'เอาเถิดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อไม่พอกันกิน'.
  46. ตะแหลนแป๋น : [-แหฺลน-] ว. ใช้ประกอบคํา แบน หมายความว่า แบนผิดส่วน.
  47. ละลนละลาน : ว. ลนลาน เช่น ถูกดุเสียจนละลนละลาน.
  48. กระดังงาลนไฟ : (สํา) น. หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
  49. ตะเหลนเป๋น : ว. ใช้ประกอบคํา สูง หรือ ยาว หมายความว่า สูงผิดส่วน ยาวผิดส่วน.
  50. ล่น : ก. วิ่ง, วิ่งเร็ว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-494

(0.0961 sec)