Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เล่นสำนวน, สำนวน, เล่น , then ลน, ลนสำนวน, เล่น, เล่นสำนวน, สำนวน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เล่นสำนวน, 494 found, display 51-100
  1. การละเล่น : น. มหรสพต่าง ๆ, การแสดงต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง.
  2. เครื่องเล่น : น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทํานองตลกขบขัน หรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช.
  3. เจ้าสำบัดสำนวน, เจ้าสำนวน : น. ผู้ใช้คารมพลิกแพลง.
  4. ชื่อเล่น : น. ชื่อที่ตั้งตั้งแต่เด็ก เป็นที่รู้กันในหมู่ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด.
  5. ถ้อยคำสำนวน : (กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่ง รายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
  6. ท้องสำนวน : น. เนื้อหาของเรื่อง.
  7. นอนเล่น : ก. นอนพักผ่อนโดยไม่คิดว่าจะหลับ.
  8. นั่งเล่น : ก. นั่งพักผ่อน.
  9. นาคเล่นน้ำ : น. นํ้าที่พุ่งเป็นลําขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, พวยนํ้า ก็ว่า.
  10. ปิดสำนวน : (ปาก) ก. ยุติการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี.
  11. ลูกเล่น : (ปาก) น. เล่ห์เหลี่ยม, ชั้นเชิง, กลเม็ด.
  12. เลี้ยงไว้ดูเล่น : ก. เลี้ยงไว้ก็ไม่เสียหายอะไร.
  13. เหราเล่นน้ำ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  14. หลอก ๒, หลอก ๆ : ว. ไม่จริง เช่น เผาหลอก, เล่น ๆ เช่น ทําหลอก ๆ ชกกันหลอก ๆ.
  15. ขลึง : [ขฺลึง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล่น เช่น พูดขลึง ว่า พูดเล่น.
  16. สนุกสนาน : ว. ร่าเริงบันเทิงใจ, เพลิดเพลินเจริญใจ, เช่น เด็ก ๆ เล่น สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน.
  17. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  18. เมน : ก. เล่น. (ช.).
  19. กบแจะ : (ปาก) ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยนหลุม โดยโยนสตางค์ หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), แจะ ก็ว่า.
  20. กรม ๒ : [กฺรม] (แบบ) น. ลําดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ). [ส.; ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น มวยกฺรุํ = ครอบครัวหนึ่ง].
  21. กรอกแกรก ๒ : [กฺรอกแกฺรก] (โบ) น. การเล่นพนันชนิดหนึ่ง. (ราชกิจจา. ล. ๑).
  22. กระดาน ๑ : น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ; ลักษณนามเรียกการแข่งขันที่เดิน บนตากระดานซึ่งถึงที่สุดแล้ว เช่นว่าเล่นหมากรุกชนะ ๒ กระดาน; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะอย่างกระดาน.
  23. กระดานโต้คลื่น : น. กระดานที่มีลักษณะแคบและยาว ใช้เล่นบนคลื่น โดยผู้เล่นยืนทรงตัวบนแผ่นกระดานแล้วให้คลื่นหนุนเคลื่อนไป. (อ. surfboard), เรียกการเล่นเช่นนั้นว่า การเล่นกระดานโต้คลื่น. (อ. surf-riding).
  24. กระดานลื่น : น. เรียกกระดานที่ตั้งสูงทอดต่าลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง, ไม้ลื่น ก็เรียก.
  25. กระดานหก : น. เครื่องดักสัตว์อย่างหนึ่งทําด้วยไม้กระดาน หกได้; เครื่องเล่นสำหรับเด็กอย่างหนึ่ง เป็นแผ่นไม้กระดาน ระหว่าง กึ่งกลางความยาวของไม้มีขาซึ่งตรึงติดกับแผ่นไม้ ผู้เล่นนั่งที่ปลายไม้ ทั้ง ๒ ข้างผลัดกันกระดกไม้กระดานให้ขึ้นลง.
  26. กระทิง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Calophyllum inophyllum L. ในวงศ์ Guttiferae ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, สารภีทะเล กากะทิง หรือ กระทึง ก็เรียก.
  27. กระบี่กระบอง : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยกระบี่ และกระบองเป็นต้น.
  28. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  29. กระอั้วแทงควาย : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งในการสมโภชของหลวง, บางทีเรียก กระอั้ว ว่า นางอั้ว เช่น นางอั้วเพ่งผัวเอน ควายเสี่ยว.
  30. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  31. กรีฑา : [กฺรีทา] น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นประเภทลู่ และประเภทลาน; การเล่นสนุก เช่น กรีฑาร่าเริงรื่น; การเล่นสมพาส เช่น ในกามกรีฑากล. (กฤษณา); การประลองยุทธ์. (ส.).
  32. กรีฑาสถาน : น. สถานที่เล่นกีฬา.
  33. กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
  34. กลอง ๒ : [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับ เพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รํากริช.
  35. กล่อมหอ : ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงาน บ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
  36. กลางแปลง : ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง.
  37. กอบด้วย : ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย. น. ชื่อไม้เถาชนิด Chilocarpus costatus Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก. น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy). [กอบ] ก. ประกอบ. (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม. (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. (ดู กะเพรา). ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ). น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก. ดู อีก๋อย. น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง๕เรียกว่า นิ้วก้อย, ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว, โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง. น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง, (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา. น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่กําหนด. (อ. golf).
  38. ก้อย ๑ : น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง ๕ เรียกว่า นิ้วก้อย; ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว; โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง.
  39. กะตุ๊ก, กะตูก : ก. ร้องกระแทกเสียงที่ริมหูคนอื่นว่า ''กะตุ๊ก'' จนหูอื้อ เป็นการล้อกันเล่น เรียกว่า กะตูกที่หู.
  40. กะระหนะ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่า เป็นเพลงเครื่องสายประสมปี่พาทย์ ทําตอนชมสวนหรือเล่นสนุก เช่น ในเรื่องอิเหนาตอนอุณากรรณ เล่นมโหรีกับพวกในสวนดอกไม้เมืองกาหลัง.
  41. กะเร่อกะร่า : อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนัน เลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า อย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  42. กะล่อกะแล่ : ว. ทีเล่นทีจริง. (ปาเลกัว).
  43. กะเล่อกะล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลย ถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่า อย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  44. กาฟักไข่ : น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง ผู้เล่นหาไม้หรือของอื่นมาคนละชิ้น สมมุติเป็นไข่ มอบให้แก่ผู้ที่ถูกจับสลาก สมมุติเป็นกา ผู้เป็นการักษาสิ่งนั้นไว้ในวงเขตที่กําหนด ผู้เล่นนอกนั้นคอยลักไข่.
  45. กายกรรม : น. การทําทางกาย; การดัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง, การเล่นห้อยโหนโยนตัวเป็นต้น. (ส. กาย + กรฺม; ป. กาย + กมฺม).
  46. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  47. กำตัด : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง; การพนันชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนกําถั่ว ใช้กําเบี้ย ต่างคนต่างถือแต้ม ไม่มีเจ้ามือ กําแล้วจะเติมหรือชักออกก็ได้.
  48. กินดาย : ก. กินดะไปจนหมด (ใช้เฉพาะการเล่นหมากแยก).
  49. กินแถว : ก. เอาตัวหมากออกจากกระดานตลอดทั้งแถว (ใช้เฉพาะการเล่นหมากแยก). ว. กระทบกระเทือนทุกคนในพวกนั้น, ถูกลงโทษทุกคนในพวกนั้น.
  50. กินรุก : ก. เดินหมากเข้าไปกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วอยู่ใน ตำแหน่งที่จะกินขุนของอีกฝ่ายหนึ่งทันที (ใช้ในการเล่นหมากรุก).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-494

(0.0923 sec)