Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กร้าน , then กราน, กร้าน .

Eng-Thai Lexitron Dict : กร้าน, more than 7 found, display 1-7
  1. hold out for : (PHRV) ; ยืนกรานสำหรับ ; Syn:hang out for, stand out for
  2. persistence : (N) ; การยืนกราน ; Related:การดื้อแพ่ง ; Syn:steadfastness, tenacity ; Ant:stamina
  3. persist with : (PHRV) ; ยืนกราน ; Related:เพียรพยายามทำ ; Syn:persist in
  4. stickle at : (PHRV) ; ยืนกรานใน ; Related:ยึดแน่นกับ
  5. Eng-Thai Lexitron Dict : กร้าน, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : กร้าน, 15 found, display 1-15
  1. กร้าน : (ADJ) ; rough ; Related:hard, coarse, weathered, jagged ; Syn:ด้าน, หยาบ, แข็ง, กระด้าง ; Ant:นุ่ม ; Samp:ชายชรายื่นมืออันหยาบกร้านที่ผ่านวันและวันเวลามานานปีลูบหัวเด็กหนุ่มอย่างอ่อนโยน
  2. หยาบกระด้าง : (ADJ) ; rough ; Related:rude, harsh, base, coarse, vulgar ; Syn:กร้าน, แข็ง, กักขฬะ ; Ant:อ่อนละมุน, อ่อนน้อม, สุขุม ; Def:ไม่ละเอียด ; Samp:จากที่เคยเป็นคนสุภาพเรียบร้อย บัดนี้เขาได้กลายเป็นคนหยาบกระด้างไปแล้ว
  3. หยาบกร้าน : (ADJ) ; rough ; Related:coarse, not smooth ; Syn:กระด้าง, แข็ง, หยาบ ; Ant:อ่อนนุ่ม ; Samp:ฝ่ามือหยาบกร้านลูบไล้เส้นผมกระเซอะกระเซิงของฉัน
  4. กราน : (V) ; assert ; Related:insist, uphold ; Syn:ยืนกราน ; Samp:เขายืนกรานว่าไม่ได้ทำผิด
  5. กราก : (ADV) ; rough ; Related:harsh to the touch ; Syn:กระด้าง, กร้าน ; Ant:นุ่ม ; Samp:ข้าวที่เธอหุงแข็งกรากจนกลืนไม่ลง
  6. เกลี้ยงเกลา : (ADJ) ; smooth ; Related:clear, even, clean, unblemished ; Syn:สะอาด, เนียน, หมดจด ; Ant:กร้าน, หยาบ, ขรุขระ, สาก, กระด้าง ; Samp:เสาใต้ถุนเรือนเป็นต้นไม้กลมปอกเปลือกจนได้เนื้อไม้ที่เกลี้ยงเกลา ดูแห้งกร้านแต่แข็งแรงรองรับตัวบ้าน
  7. เกลี้ยงเกลา : (V) ; be sleek ; Related:be smooth, be even, be neat and clean, be unblemished ; Syn:หมดจด ; Ant:กร้าน, หยาบ, หยาบกร้าน ; Samp:ใบหน้าของหล่อนเกลี้ยงเกลา สะอาดสะอ้าน แต่สีหน้าดูเฉย มองไม่ถนัดว่าทุกข์หรือสุข
  8. เนียน : (ADJ) ; smooth ; Related:tender, delicate ; Syn:เรียบ ; Ant:ขรุขระ, หยาบกร้าน ; Def:ลักษณะเนื้อที่ละเอียดนุ่มนวล ; Samp:เธอได้รับรางวัลสาวผิวเนียนจากการประกวดนางสาวไทย
  9. เนียน : (V) ; be delicate ; Related:be velvety, be soft, be silky ; Syn:เรียบ ; Ant:ขรุขระ, หยาบกร้าน ; Def:ีเนื้อละเอียดนุ่มนวล ; Samp:ผิวของหล่อนแม้จะคล้ำแต่ก็เนียนกว่าคนผิวขาวคนอื่นๆ
  10. กรานกฐิน : (V) ; Kathina Khandhaka ; Related:stretch out monk's robes in order to cut to a standard size ; Def:เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ; Samp:ชาวบ้านกำลังกรานกฐิน
  11. การยืนกราน : (N) ; insistence ; Related:insistency, persistence, persistency ; Syn:การยืนยัน, การยืนคำ ; Def:การยืนคำอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็นเป็นอื่น) ; Samp:การยืนกรานอย่างแข็งขันของสามีทำให้ภรรยาเชื่อได้ว่าเขาไม่ได้โกหก
  12. บึกบึน : (ADJ) ; strong ; Related:stout ; Syn:บึก ; Def:ที่แข็งแรงทรหดอดทน ; Samp:ผู้ชายไม่ใช่จะมีร่างกายกำยำและแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีใจคอบึกบึนและแข็งกร้านเยี่ยงสัตว์ป่าด้วย
  13. กราบกราน : (V) ; prostrate oneself ; Related:kowtow ; Syn:หมอบกราบ ; Def:เคารพนบนอบ ก้มหัวลง
  14. แค่น : (V) ; persist ; Related:resist, continue ; Syn:ขืน, ฝืน, ยืนยัน, ยืนกราน ; Def:ทำไม่เป็นหรือไม่สันทัดแล้วยังอวดดีขืนทำ ; Samp:เธอทำงานนี้ไม่ได้แต่แค่นจะทำ
  15. องค์กฐิน : (N) ; set of new robes offered to Buddhist monks ; Syn:ผ้ากฐิน ; Def:ผ้าผืนที่ถวายสงฆ์เพื่อกรานกฐิน ; Samp:ชาวบ้านกำลังช่วยกันจัดองค์กฐินอยู่ ; Unit:องค์

Royal Institute Thai-Thai Dict : กร้าน, more than 5 found, display 1-5
  1. กร้าน : [กฺร้าน] ว. มีผิวด้าน, มีผิวไม่สดใส; กระด้าง, แข็ง, หยาบ.
  2. หน้ากร้าน : น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน.
  3. กราน ๑ : [กฺราน] (โบ) น. ไฟ เช่น เชิงกราน, ธุมาก็ปรากฏแก่กราน. (กฤษณา).
  4. กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
  5. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : กร้าน, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : กร้าน, 6 found, display 1-6
  1. กรานกฐิน : ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
  2. จำพรรษา : อยู่ประจำวัด ๓ เดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น) หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง); วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา, วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา ; คำอธิษฐานพรรษา ว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ; ทุติยมฺปี อิมสฺมึ....; ตติยมฺปิ อิมสฺมึ....แปลว่า ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้ (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้) ; อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ ๑.เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒.จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ๓.ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ ๔.เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน (ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้วหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)
  3. จีวรกาลสมัย : สมัยหรือคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร; งวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่มิได้กรานกฐิน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึง เพ็ญเดือน ๑๒ (คือเดือนเดียว), อีกงวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่ได้กรานกฐินแล้ว ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ไปจนหมดฤดูหนาวคือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ (รวม ๕ เดือน)
  4. ผ้ากฐิน : ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้เป็นองค์กฐินสำหรับกราน แต่บางทีพูดคลุมๆ หมายถึงผ้าทั้งหมดที่ถวายพระในพิธีทอดกฐิน, เพื่อกันความสับสน จึงเรียกแยกเป็นองค์กฐิน หรือผ้าองค์กฐิน อย่างหนึ่ง กับผ้าบริวารหรือผ้าบริวารกฐิน อืกอย่างหนึ่ง ดู กฐิน
  5. สุภัททะ : ปัจฉิมสิกขิสาวก (สาวกผู้ทันเห็นองค์สุดท้าย) ของพระพุทธเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ปัจฉิมสาวก เดิมเป็นพราหมณ์ตระกูลใหญ่ ต่อมาออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน สุภัททปริพาชกได้ยินข่าวแล้วคิดว่าตนมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อแก้ข้อสงสัยนั้นเสียก่อนที่จะปรินิพพาน จึงเดินทางไปยังสาลวัน ตรงไปหาพระอานนท์ แจ้งความประสงค์ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอานนท์ได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าพระองค์เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้ว จะเป็นการรบกวนให้ทรงลำบาก สุภัททปริพาชกก็คะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้ พระอานนท์ก็ยืนกรานห้ามอยู่ถึง ๓ วาระ จนพระผู้มีพระภาคทรงได้ยินเสียงโต้ตอบกันนั้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่าสุภัททะมุ่งหาความรู้ มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์ ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าแล้ว ทูลถามว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ เหล่าครูทั้ง ๖ นั้น ล้วนได้ตรัสรู้จริงทั้งหมดตามที่ตนปฏิญญา หรือได้ตรัสรู้เพียงบางท่านหรือไม่มีใครตรัสรู้จริงเลย พระพุทธเจ้าทรงห้ามเสียและตรัสว่าจะทรงแสดงธรรม คือ หลักการหรือหลักความจริงให้ฟัง แล้วตรัสว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด สมณะ (คืออริยบุคคลทั้ง ๔) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะทั้ง ๔ จึงมีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะ และตรัสสรุปว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอยู่โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ให้บวชสุภัททะในสำนักของพระองค์ โดยประทานพุทธานุญาตพิเศษให้ยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ท่านสุภัททะบวชแล้วไม่นาน (อรรถกถาว่าในวันนั้นเอง) ก็ได้บรรลุอรหัตตผล นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก
  6. อัจเจกจีวร : จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน หมายถึง ผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อน ขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ (กำหนดเวลาปกติสำหรับถวายผ้าจำนำพรรษา คือ จีวรกาลนั่นเอง กล่าวคือ ต้องผ่านวันปวารณาไปแล้ว เริ่มแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ และถ้ากรานกฐินแล้ว นับต่อไปอีกถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔; เหตุรีบร้อนนั้น เช่น เขาจะไปทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจชีวิต หรือมีศรัทธาเลื่อมใสเกิดขึ้นใหม่) อัจเจกจีวรเช่นนี้ มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บไว้ได้แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน (คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) (สิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์)

ETipitaka Pali-Thai Dict : กร้าน, 9 found, display 1-9
  1. กฐินตฺถาร : ป. การกรานกฐิน, การขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรขึงที่ไม้สะดึงและทำจีวรให้สำเร็จ, การทำจีวรให้สำเร็จด้วยประการนั้นเรียกว่าการกรานกฐิน
  2. กฐินุทฺธาร : ป. การรื้อไม้สะดึงออก เพราะกรานกฐินเสร็จแล้วหรือเพราะสามารถจะทำได้
  3. กาลจีวร : (นปุ.) ผ้าเกิดในกาล, กาลจีวร คือ ผ้าที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ในกาลที่ทรงอนุญาต ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลาง เดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐินเลื่อนไปถึง กลางเดือน ๔.
  4. จีวรกาล : (ปุ.) คราวเป็นที่ถวายซึ่งจีวร, กาล เป็นที่ถวายจีวรของทายกทายิกา, คราว ที่เป็นฤดูถวายจีวร, จีวรกาล.จีวรกาล(ระยะ เวลาถวายผ้า) มีกำหนดตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าภิกษุได้ กรานกฐิน ก็เลื่อนไปถึงกลางเดือน ๔ และ เป็นเวลาที่ภิกษุเปลี่ยนไตรจีวรด้วย.
  5. ปณิปาต : ป. การหมอบลง, การหมอบกราน, การแสดงความเคารพ
  6. ปริปนฺถ : (ปุ.) อันตรายเป็นเครื่องเบียดเบียน รอบ, อันตรายในทางเปลี่ยว, ทางเปลี่ยว, หนทางเปลี่ยว, อันตราย อุ. โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ. ปริปุพฺโพ, ปถิ คติยํ, อ, นิคฺคหิตาคโม. ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึนขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถ้าได้กรานกฐินมีกำหนด ๗ เดือน คั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ไตร. ๒/๓๔.
  7. อกาลจีวร : (นปุ.) ผ้าอันเกิดขี้นในสมัยมิใช่กาล, ผ้าที่ทายกทายิกาถวายนอกเขตฤดูกาล (ที่ทรงอนุญาต) คือผ้าที่เกิดขึ้นนอกเขตกาลจีวร, อกาลจีวร.อกาลจีวรมีกำหนดดังนี้ถ้าภิกษุไม่ได้กรานกฐินมีกำหนด ๑๑ เดือน ตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึนขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน ๑๑ ถ้าได้กรานกฐินมีกำหนด ๗ เดือน คั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ไตร. ๒/๓๔.
  8. อตฺถต : กิต. ปูแล้ว, ลาดแล้ว, กรานแล้ว
  9. อตฺถารก : ค. ผู้ปู, ผู้ขึง, ผู้กราน

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : กร้าน, 1 found, display 1-1
  1. กราน, ลาด, ปู : อตฺถรติ [ก.]; อตฺถต [กิต.]

(0.1465 sec)