Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Budhism Thai-Thai Dict : ยา, 230 found, display 1-50
  1. ยาคู : ข้าวต้ม, เป็นอาหารเบาสำหรับฉันรองท้องก่อนถึงเวลาฉันอาหารหนักเป็นของเหลว ดื่มได้ ซดได้ ไม่ใช่ของฉันให้อิ่ม เช่น ภิกษุดื่มยาคูก่อนแล้วไปบิณฑบาต ยาคูสามัญอย่างนี้ ที่จริงจะแปลว่าข้าวต้มหาถูกแท้ไม่ แต่แปลกันมาอย่างนั้นพอให้เข้าใจง่ายๆ ข้าวต้มที่ฉันเป็นอาหารมื้อหนึ่งได้อย่างที่ฉันกันอยู่โดยมากมีชื่อเรียกต่างออกไปอีกอย่างหนึ่งว่า ดู โภชชยาคู
  2. ยามะ : สวรรค์ชั้นที่ ๓ มีท้าวสุยามเทพบุตรปกครอง
  3. ยามา : สวรรค์ชั้นที่ ๓ มีท้าวสุยามเทพบุตรปกครอง
  4. เภสัช : ยา, ยารักษาโรค, ยาแก้โรค เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔, เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด ๗ วัน คือ ๑.สัปปิ เนยใส ๒.นวนีตะ เนยข้น ๓.เตละ น้ำมัน ๔.มธุ น้ำผึ้ง ๕.ผาณิต น้ำอ้อย; ส่วนยาแก้โรคที่ทำจากรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก คือรับประเคนไว้แล้ว เก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต
  5. ยาสีสะ : ชื่อตำบล ซึ่งเป็นเนินเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดคยา พระพุทธเจ้าเทศนาอาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุสงฆ์ปุราณชฎิลทั้งหมดให้สำเร็จพระอรหัตที่ตำบลนี้
  6. กายานุปัสสนา : สติพิจารณาภายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อหนึ่ง ดู สติปัฏฐาน
  7. ชาคริยานุโยค : การประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ ดู อปัณณกปฏิปทา
  8. นิสสยาจารย์ : อาจารย์ผู้ให้นิสัย
  9. ปัจจยากร : อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท
  10. วิปัสสนายานิก : ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน คือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน
  11. วิริยารัมภกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ ๕ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  12. วิริยารัมภะ : ปรารภความเพียร คือลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว, ระดมความเพียร (ขอ ๔ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๗ ในลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘, ข้อ ๕ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในนาถกรณธรรม ๑๐)
  13. ไวยาวัจจะ : การขวนขวายช่วยทำกิจธุระ, การช่วยเหลือรับใช้
  14. สมถยานิก : ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ
  15. สวากขาตนิยยานิกธรรม : ธรรมที่พระพุทธเจากล่าวดีแล้ว นำผู้ประพฤติตามให้ออกไปจากทุกข์
  16. สันยาสี : ผู้สละโลกแล้วตามธรรมเนียมของศาสนาฮินดู ดู อาศรม
  17. อสีตยานุพยัญชนะ : อนุพยัญชนะ ๘๐ ดู อนุพยัญชนะ
  18. อัธยาจาร : ดู อัชฌาจาร
  19. อายาจนะ : การขอร้อง, การวิงวอน, การเชื้อเชิญ
  20. อุปัชฌายาจารย์ : อุปัชฌาย์และอาจารย์
  21. พาหุสัจจะ : ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ ๑.พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก ๒.ธตา ทรงจำไว้ได้ ๓.วจสา ปริจิตา คล่องปาก ๔.มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ ๕.ทิฏฺยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี ดู พหูสูต
  22. มหาวิกัฏ : ยา ๔ อย่าง คือ มูตร คูถ เถ้า ดิน ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน
  23. จตุปัจจัย : เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)
  24. พาหิย ทารุจีริยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในครอบครัวคนมีตระกูลในแคว้นพาหิยรัฐ ลงเรือเดินทะเลเพื่อจะไปค้าขาย เรือแตกกลางทะเลรอดชีวิตไปได้ แต่หมดเนื้อหมดตัว ต้องแสดงตนเป็นผู้หมดกิเลสหลอกลวงประชาชนเลี้ยงชีวิต ต่อมาพบพระพุทธเจ้า ทูลขอให้ทรงแสดงธรรม พระองค์ทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่ออารมณ์ที่รับรู้ทางอายตนะทั้ง ๖ พอจบพระธรรมเทศนาย่นย่อนั้น พาหิยะก็สำเร็จอรหัต แต่ไม่ทันได้อุปสมบท กำลังเที่ยวหาบาตรจีวร เผอิญถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดเอาสิ้นชีวิตเสียก่อน ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะทางด้านตรัสรู้ฉับพลัน
  25. ธุวยาคุ : ยาคูที่เขาถวายเป็นประจำ เช่นที่นางวิสาขาถวายเป็นประจำหรือที่จัดทำเป็นของวัดแจกกันเอง
  26. นวังคสัตถุศาสน์ : คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ๑.สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) ๒.เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด) ๓.เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น).๕.อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร) ๖.อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร) ๗.ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) ๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ) ๙.เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น); เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
  27. อาจารย : ผู้สั่งสอนวิชาความรู้, ผู้ฝึกหัดอบรมมรรยาท, อาจารย์ ๔ คือ ๑) บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา ๒) อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท ๓) นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย ๔) อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผูสอนธรรม
  28. กถาวัตถุ : ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑.อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ๒.สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓.ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ ๔.อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕.วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร ๖.สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗.สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น ๘.ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา ๙.วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ ๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ - 1. "Points of controversy"; name of the fifth book of the Abidhamma Pitaka. 2.a subject of discussion.
  29. กสาวเภสัช : น้ำฝาดเป็นยา, ยาที่ทำจากน้ำฝาดของพืช เช่น น้ำฝาดของสะเดา น้ำฝาดกระดอม น้ำฝาดบรเพ็ด เป็นต้น
  30. กาลิก : เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑.ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ ๒.ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๓.สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ ๔.ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
  31. กิริยาอาขยา : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระของประธาน เช่น คจฺฉติ (ย่อมไป) ปรินิพฺพายิ (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น
  32. กีสาโคตมี : พระเถรีสำคัญองค์หนึ่ง เดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตาย นางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่างๆ เพื่อหายาแก้ให้ฟื้น จนได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชในสำนักนางภิกษุณี วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทรงทรงจีวรเศร้าหมอง
  33. ขึ้นวัตร : โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือเมื่อภิกษุต้องครุกาบัติชั้นสังฆาทิเสสแล้วอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้หรือประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันสมควร เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น เรียกว่าขึ้นวัตรคือการสมาทานวัตรนั่นเอง ถ้าขึ้นปริวาสพึ่งกล่าวคำในสำนักภิกษุรูปหนึ่งว่า ปริวาสํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขึ้นปริวาส วตฺตํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขึ้นวัตร
  34. ยา : จังหวัดที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเมื่อครั้งโปรดนักบวชชฎิล และได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรที่ตำบลคยาสีสะในจังหวัดนี้ ปัจจุบันตัวเมืองคยาอยู่ห่างจากพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้พระพุทธเจ้าประมาณ ๗ ไมล์
  35. ยากัสสป : นักบวชชฎิลแห่งกัสสปโคตร ตั้งอาศรมอยู่ที่ตำบลคยาสีสะเป็นน้องชายคนเล็กของอุรุเวลากัสสปะ ออกบวชตามที่ชาย พร้อมด้วยชฎิล ๒๐๐ ที่เป็นบริวาร ได้ฟังพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร บรรลุพระอรหัตและเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก
  36. คิลานปัจจัย : ปัจจัยสำหรับคนไข้, ยารักษาโรค
  37. จันทร์ : ไม้จันทร์ เป็นไม้มีกลิ่นหอมใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม
  38. เจ้าอธิการแห่งอาหาร : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์) ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก) ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)
  39. ฉกามาพจรสวรรค์ : สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม ๖ ชั้น คือ ๑.จาตุมหาราชิกา ๒.ดาวดึงส์ ๓.ยามา ๔.ดุสิต ๕.นิมมานรดี ๖.ปรนิมมิตวสวัตดี
  40. ชตุเภสัช : พืชที่มียางเป็นยา, ยาทำจากยางพืช เช่น มหาหิงคุ์ กำยาน เป็นต้น
  41. เทวโลก : โลกของเทวดา, ที่อยู่ของเทวดา ได้แก่ สวรรค์กามาพจร ๖ ชั้น คือ ๑.จาตุมมหาราชิกา ๒.ดาวดึงส์ ๓.ยามา ๔.ดุสิต ๕.นิมมานรดี ๖.ปรนิมมิตวสวัตดี
  42. บรรพ : ข้อ, เล่ม, หมวด, ตอน, กัณฑ์ ดังคำว่า กายานุปัสสนา พิจารณาเห็นซึ่งกาย โดยบรรพ ๑๔ ข้อ มี อานาปานบรรพ ข้อที่ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น
  43. เบญจศีล : ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา มีคำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา ๒.อทินฺนาทานา ๓.กาเมสุมิจฺฉาจารา ๔.มุสาวาทา ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา ต่อท้ายด้วย เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ
  44. ปัจจัย : 1.เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด 2.ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)
  45. ปัณณเภสัช : พืชมีใบเป็นยา, ยาทำจากใบพืช เช่น ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพรา เป็นต้น
  46. ผลเภสัช : มีผลเป็นยา, ยาทำจากลูกไม้ เช่น ดีปลี พริก สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น
  47. โพธิ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  48. โพธิพฤกษ์ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  49. เภสัชชขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งคัมภีร์มหาวรรควินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเภสัชคือ ยาบำบัดโรค ตลอดจนเรื่องยาคู อุทิสสมังสะ กัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิก ๔
  50. โภชชยาคู : ข้าวต้มสำหรับฉันให้อิ่ม เช่น ข้าวต้มหมู เป็นต้น มีคติอย่างเดียวกันกับอาหารหนัก เช่น ข้าวสวยต่างจากยาคูที่กล่าวถึงตามปกติในพระวินัย ซึ่งเป็นของเหลวใช้สำหรับดื่ม ภิกษุรับนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งไว้ฉันยาคูไปก่อนไม่ได้ ดู ยาคู
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-230

(0.0479 sec)