Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สันโดษ , then สนฺโตส, สันโดษ .

Eng-Thai Lexitron Dict : สันโดษ, more than 7 found, display 1-7
  1. loner : (N) ; ผู้อยู่สันโดษ ; Related:คนสันโดษ
  2. lorn : (ADJ) ; ถูกทอดทิ้ง ; Related:โดดเดี่ยว, สันโดษ
  3. secluded : (ADJ) ; เป็นส่วนตัว ; Related:เก็บตัว, สันโดษ, ไม่ติดต่อโลกภายนอก, โดดเดี่ยว, สงบ ; Syn:private, hidden, withdrawn, isolated, sequestered
  4. sequester : (VI) ; โดดเดี่ยว ; Related:แยกตัวออกมา, สันโดษ ; Syn:separate, isolate
  5. anchoress : (N) ; ผู้หญิงที่อยู่อย่างสันโดษเพื่อการรักษาศีล
  6. anchoret : (N) ; ผู้ที่อยู่สันโดษเพื่อรักษาศีล ; Syn:anchorite
  7. anchorite : (N) ; ผู้ที่อยู่สันโดษเพื่อรักษาศีล ; Syn:anchoret
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : สันโดษ, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : สันโดษ, 10 found, display 1-10
  1. สันโดษ : (ADV) ; in solitude ; Def:อยู่ลำพังคนเดียวหรือห่างไกลจากชุมนุมชน ; Samp:ครูคนนี้ยังคงใช้ชีวิตอย่างสันโดษกลางไร่กลางสวนเรื่อยมา
  2. สันโดษ : (ADJ) ; solitary ; Related:reclusive, isolated ; Def:เกี่ยวกับความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ ; Samp:เป็นคนสันโดษอย่างเขาก็สบายดี ไม่ต้องดิ้นรนทะเยอทะยาน
  3. ความสันโดษ : (N) ; solitude ; Related:retirement, privacy ; Syn:ความโดดเดี่ยว ; Def:การอยู่คนเดียวหรือห่างไกลจากชุมชน ; Samp:เขาอยู่ในความมืดเพียงลำพังมีความสุขอยู่กับความเหงาและความสันโดษ
  4. ความสันโดษ : (N) ; contentment ; Related:satisfaction, gratification ; Def:ความยินดีหรือความพอใจเท่าที่ตนมีอยู่และความพอใจ ความยินดี ความสบายใจในสิ่งรอบข้าง ; Samp:บรรยากาศสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนที่เข้าไปอาศัยอยู่ดูเป็นลักษณะของความสันโดษมีชีวิตที่ราบเรียบไม่โลดโผนมีจิตใจเอื้ออารีต่อกัน
  5. โดดเดี่ยว : (V) ; be solitary ; Related:be isolated, be lonely, be alone ; Syn:สันโดษ, ลำพัง ; Samp:ถ้าเราออกโรงคัดค้านไปเสียทุกเรื่อง เราก็โดดเดี่ยว มีศัตรูมากกว่ามิตร
  6. เดียวดาย : (V) ; be lonesome ; Related:be lonely, be solitary ; Syn:ว้าเหว่, อ้างว้าง, ลำพัง, โดดเดี่ยว, เปล่าเปลี่ยว, เดี่ยว, สันโดษ ; Def:คนเดียวเท่านั้น, แต่ลำพังผู้เดียว ; Samp:เขารู้สึกเดียวดายเมื่อปราศจากเธอ
  7. เดียวดาย : (ADV) ; solitarily ; Syn:ว้าเหว่, อ้างว้าง, ลำพัง, โดดเดี่ยว, เปล่าเปลี่ยว, เดี่ยว, สันโดษ ; Def:คนเดียวเท่านั้น, แต่ลำพังผู้เดียว ; Samp:ชายชรามีชีวิตอยู่อย่างเงียบเชียบเดียวดายกลางป่า
  8. มักน้อย : (V) ; be unambitious ; Related:be modest, be content with what one has, be unostentatious ; Ant:มักมาก ; Def:ปรารถนาน้อย, ต้องการน้อย ; Samp:อุปนิสัยของราษฎรภูมิภาคแถบนี้ คือ ไว้ใจคนง่าย หูเบา ถือโชคลาง ซื่อสัตย์ สุภาพ สันโดษ มักน้อย
  9. ถ่อมตน : (V) ; be modest ; Related:be humble, act modestly, act humbly ; Syn:ถ่อมตัว, อ่อนน้อมถ่อมตัว, นอบน้อมถ่อมตน ; Samp:หลวงพ่อท่านปฏิบัติตนอย่างเรียบง่าย รักสันโดษ ชอบถ่อมตนและเคร่งครัดในพระธรรมวินัย
  10. พัสถาน : (N) ; property ; Related:possession, belongings ; Syn:สมบัติพัสถาน ; Def:หลักฐานที่เป็นสิ่งยึดถือไว้ ; Samp:เจ้าอาวาสวัดนี้เป็นผู้มีวิชาอาคมขลัง รักสันโดษ และไม่สะสมสมบัติพัสถานใด ๆ ทั้งสิ้น

Royal Institute Thai-Thai Dict : สันโดษ, 5 found, display 1-5
  1. สันโดษ : [โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือ
  2. สันโดษ. : (ปาก) ก. มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ; ป. สนฺโตส).
  3. มักน้อย : ก. ปรารถนาน้อย, สันโดษ.
  4. สันตุฏฐี : น. สันโดษ. (ป.; ส. สํตุษฺฏิ).
  5. บดีพรต, บดีวรดา : น. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัว แก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็นชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่า นั้น (ส. ปติวฺรต, ปติวฺรตา).

Budhism Thai-Thai Dict : สันโดษ, 10 found, display 1-10
  1. สันโดษ : ความยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งผ้าห่ม อาหารที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร; สันโดษ ๓ คือ ๑.ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นไม่ริษยาเขา ๒.ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือพอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดายไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน ๓.ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ พอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนว ทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่นภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะกับสมณภาวะ หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตนแต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น; สันโดษ ๓ นี้เป็นไปในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒
  2. สทารสันโดษ : ความพอใจด้วยภรรยาของตน, ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม), จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง
  3. มหากัสสปะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อมหาติตถะในแคว้นมคธ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ มีชื่อเดิมว่าปิปผลิมาณพ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้สมรสกับนางภัททกาปิลานี ตามความประสงค์ของมารดาบิดาแต่ไม่มีความยินดีในชีวิตครองเรือน ต่อมาทั้งสามีภรรยาได้สละเรือน นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกบวชกันเอง เดินทางออกจากบ้านแล้วแยกกันที่ทาง ๒ แพร่ง ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าที่พหุปุตตกนิโครธระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ได้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ข้อ และได้ถวายผ้าสังฆาฏิของตนแลกกับจีวรเก่าของพระพุทธเจ้า แล้วสมาทานธุดงค์ ครั้นบวชล่วงไปแล้ว ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นผู้มีปฏิปทามักน้อย สันโดษ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในทางถือธุดงค์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มและเป็นประธานในปฐมสังคายนา ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพาน
  4. กถาวัตถุ : ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑.อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ๒.สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓.ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ ๔.อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕.วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร ๖.สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗.สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น ๘.ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา ๙.วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ ๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ - 1. "Points of controversy"; name of the fifth book of the Abidhamma Pitaka. 2.a subject of discussion.
  5. ธุดงค์ : องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต-เกี่ยวกับจีวร มี ๑.ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล ๒.เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน; หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต-เกี่ยวกับบิณฑบาต มี ๓.ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ ๔.สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน ๕.เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว ๖.ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร ๗.ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม; หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต -เกี่ยวกับเสนาสนะมี ๘.อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า ๙.รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้ ๑๐.อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง ๑๑.โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า ๑๒.ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้; หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต-เกี่ยวกับความเพียร มี ๑๓.เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน (นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ) ธุระ “สิ่งที่จะต้องแบกไป”, หน้าที่, ภารกิจ, การงาน, เรื่องที่จะต้องรับผิดชอบ, กิจในพระศาสนา แสดงไว้ในอรรถกถา ๒ อย่างคือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
  6. นาถกรณธรรม : ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.ศีล มีความประพฤติดี ๒.พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓.กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม ๔.โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล ๕.กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖.ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗.วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ๘.สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙.สติ มีสติ ๑๐.ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
  7. เบญจธรรม : ธรรม ๕ ประการ, ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อดังนี้ ๑.เมตตากรุณา ๒.สัมมาอาชีวะ ๓.กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔.สัจจะ ๕.สติสัมปชัญญะ ; บางตำราว่าแปลกไปบางข้อคือ ๒.ทาน ๓.สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน ๕.อัปปมาทะ = ไม่ประมาท ; เบญจกัลยาณธรรม ก็เรียก
  8. สันตุฏฐิกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ (ข้อ ๒ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  9. หลักกำหนดธรรมวินัย : หลักตัดสินธรรมวินัย หรือลักษณะตัดสินธรรม วินัย ๘ อย่าง คือ ก.ธรรมเหล่าใด เป็นไป ๑.เพื่อความย้อมใจติด ๒.เพื่อความประกอบทุกข์ ๓.เพื่อความพอกพูนกิเลส ๔.เพื่อความมักมากอยากใหญ่ ๕.เพื่อความไม่สันโดษ ๖.เพื่อความคลุกคลีในหมู่ ๗.เพื่อความเกียจคร้าน ๘.เพื่อความเลี้ยงยาก, ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์, ข.ธรรมเหล่าใดเป็นไป ๑.เพื่อความคลายหายติด ๒.เพื่อความไม่ประกอบทุกข์ ๓.เพื่อความไม่พอกพูนกิเลส ๔.เพื่อความมักน้อย ๕.เพื่อความสันโดษ ๖.เพื่อความสงัด ๗.เพื่อการประกอบความเพียร ๘.เพื่อความเลี้ยงง่าย, ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์
  10. อริยวงศ์ : ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย, อริยประเพณี มี ๔ คือ ๑) สันโดษด้วยจีวร ๒) สันโดษด้วยบิณฑบาต ๓) สันโดษด้วยเสนาสนะ ๔) ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล

ETipitaka Pali-Thai Dict : สันโดษ, 4 found, display 1-4
  1. สนฺโตส : ป. สันโดษ, ความยินดีตามฐานะ
  2. กายวิเวก : ป. ความสงัดกาย, ที่สงัดเงียบกาย, กายสันโดษ
  3. อสนฺตุฏฺฐ : ค. ไม่สันโดษ, ซึ่งไม่มีความพอใจในของของตน
  4. อสนฺตุฏฺฐิ, - ฐิตา : อิต. ความไม่สันโดษ, ความไม่ความพอใจในของที่ตนมีอยู่

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : สันโดษ, not found

(0.1896 sec)