Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อายุ , then อาย, อายุ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อายุ, 165 found, display 1-50
  1. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  2. อายุกษัย : [กะไส] น. การสิ้นอายุ, ความตาย. (ส.; ป. อายุขย).
  3. อายุวัฒนะ : น. เรียกยาที่ถือว่ากินแล้วมีอายุยืนว่า ยาอายุวัฒนะ. (ป.).
  4. อายุความ : (กฎ) น. ระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ใช้สิทธิ เรียกร้อง บังคับฟ้อง หรือร้องทุกข์.
  5. เกษียณอายุ : [กะเสียน-] ก. ครบกําหนดอายุรับราชการ, สิ้นกําหนดเวลารับราชการหรือการทํางาน, พูดสั้น ๆ ว่า เกษียณ ก็มี.
  6. ขาดอายุ : ก. พ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ใบขับขี่ขาดอายุ.
  7. ปลงอายุสังขาร : ก. บอกกําหนดวันสิ้นสุดแห่งอายุ (ใช้แก่พระพุทธเจ้า).
  8. ปลดเกษียณ, ปลดเกษียณอายุ : (ปาก) ก. ให้ออกจากราชการหรืองาน เพราะเหตุสูงอายุ.
  9. ต่ออายุ : ก. ทําพิธีเพื่อให้มีอายุยืนตามความเชื่อทางไสยศาสตร์.
  10. หมดอายุ : ก. ตาย, ขาดใจ, สิ้นใจ สิ้นลม หรือ หมดลม ก็ว่า.
  11. อายุร, อายุ : [อายุระ, อายุด] น. อายุ. (ดู อายุ). (ส.).
  12. กรมศักดิ์ : [กฺรมมะสัก] (กฎ; โบ) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกําหนดระวางโทษปรับตามศักดินา อายุ และความร้ายแรง หนักเบาของความผิดที่กระทํา. (สามดวง).
  13. จตุรพิธพร : [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พรขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง.
  14. ชนมพรรษา : [ชนมะพันสา] น. อายุ. (ส. ชนฺมวรฺษ ว่า ขวบปี ที่เกิดมา).
  15. ชันษา : [ชันนะสา] น. อายุ. (ย่อมาจาก ชนมพรรษา).
  16. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  17. กรรมขัย : [กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่า อายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).
  18. กรรมเวร : [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปาง ก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมใน อดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวร แท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
  19. กระเตาะกระแตะ : ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
  20. กระทง ๒ : ว. ใช้ควบกับคํา รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุ ประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สําหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอน ขันว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกําลังแตกเนื้อหนุ่มเป็น เชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.
  21. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  22. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  23. กลียุค : [กะลี-] น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลง โดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน. (ป., ส. กลิยุค). (ดู จตุรยุค).
  24. กัป : [กับ] น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์).
  25. กัลป-, กัลป์ : [กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะ ไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).
  26. เกณฑ์ : น. หลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์, หลักวินิจฉัย เช่น ถือความรู้เป็นเกณฑ์. ก. บังคับหรือขอร้องแกมบังคับ เช่น เกณฑ์ประชาชนมาทําถนน.
  27. เกษียณ : [กะเสียน] ก. สิ้นไป (ใช้เกี่ยวกับการกําหนดอายุ) เช่น เกษียณอายุราชการ. (ส. กฺษีณ; ป. ขีณ).
  28. แก่แดด : ว. ทําเป็นผู้ใหญ่เกินอายุ (มักใช้แก่เด็ก).
  29. แก่แรด : ว. จัดจ้านเกินอายุ, แก่เกินอายุ, แก่มาก.
  30. ขวบ : น. ปี, รอบปี, ลักษณนามใช้แก่อายุของเด็กประมาณ ๑๒ ปีลงมา เช่น เด็กอายุ ๕ ขวบ, เวลาที่นับมาบรรจบรอบ เช่น ชนขวบ.
  31. ขัย : [ไข] น. ความสิ้นไป, เขตอายุของคนที่นิยมกันว่าสูงสุด เรียกว่า อายุขัย. (ป. ขย; ส. กฺษย).
  32. เข้าเกณฑ์ : ก. เข้าหลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์.
  33. คติชาวบ้าน : น. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและ ประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่น ของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.
  34. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  35. โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน : (สํา) น. ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว.
  36. โค่ง ๑ : ว. โตหรืออายุมากกว่าเพื่อน.
  37. โค่ง ๒ : น. คําเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุ แต่ไม่ยอมอุปสมบทว่า เณรโค่ง.
  38. จำกัด : ก. กําหนดหรือขีดคั่นไว้โดยเฉพาะ เช่น จํากัดอายุ จํากัดความรู้.
  39. ฉลอง ๑ : [ฉะหฺลอง] ก. ทําบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดง ความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริก เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
  40. ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี : [ชนนะ] น. อายุ, อายุขัย, กําหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กําหนด).
  41. ชรา : [ชะ] ว. แก่ด้วยอายุ, ชํารุดทรุดโทรม. (ป., ส.).
  42. ชราภาพ : น. ความแก่ด้วยอายุ, ความชํารุดทรุดโทรม, เช่น อันทุพพลชรา ภาพแล้ว. (โลกนิติ).
  43. ชั่ว ๓ : บ. ตลอด, สิ้น, เช่น ชั่วอายุ.
  44. ชั่วคน : น. ช่วงเวลาประมาณชั่วอายุ.
  45. ช้าง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ถ้ามีงาสั้นเรียก ช้างสีดอ ตัวผู้เมื่อตกมันมี ความดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏ ให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง.
  46. ชายผ้าสีดา : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับ ต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ.
  47. เด็ก : น. คนที่มีอายุยังน้อย; (กฎ) ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์; ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส; บุคคลอายุเกิน ๗ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์; บุคคลที่มีอายุแต่ ๑๕ ปีลงมา; บุคคลผู้มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์. ว. ยังเล็ก; อ่อนวัยกว่า ในคําว่า เด็กกว่า.
  48. ตองตอย : ว. ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), กรองกรอย ก็ว่า; (โบ) แคระ, ไม่สมประกอบ, ไม่สมบูรณ์, (ใช้แก่ต้นไม้ที่ไม่เจริญสมอายุ).
  49. ตา ๑ : น. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุ รุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คําเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู. ตาทวด น. พ่อของตาหรือของยาย. ตามีตามา, ตาสีตาสา (สํา) น. ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป.
  50. ถนัน : [ถะหฺนัน] น. ดินชนิดหนึ่งเชื่อว่าเป็นยารักษาโรค และเป็นยา อายุวัฒนะ เช่น ต่อได้กินดินถนันเมื่อวันไร. (อภัย).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-165

(0.0722 sec)