Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง, ความ , then ความ, ความรมดรวง, ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความระมัดระวัง, 3290 found, display 2551-2600
  1. สยด : [สะหฺยด] ก. ใจหายวาบขึ้นทันที เพราะความหวาดกลัวต่อสิ่งที่ได้เห็น.
  2. สยอง : [สะหฺยอง] ว. อาการที่ขนลุกขนชันเพราะความหวาดกลัว ในความว่า ขนพองสยองเกล้า.
  3. สยิ้ว : [สะยิ่ว] ก. ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์.
  4. สร ๓ : [สฺระ] คํานําหน้าคําอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็นสรดื่น, คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก.
  5. สรณ, สรณะ : [สะระนะ] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).
  6. สรรเพชุดา : [สันเพดชุ] (แบบ) น. ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง หมายเอาความเป็น พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าตฺฤ; ป. สพฺพญฺญุตา).
  7. สรรเสริญ : [สันเสิน, สันระเสิน] ก. กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอ คุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้.
  8. สร้อย ๓ : [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา สุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัย ราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.
  9. สร่าง : [ส่าง] ก. คลาย, ถอย, ทุเลา, (ใช้แก่ลักษณะความเป็นไปของร่างกาย หรืออารมณ์ที่ผิดปรกติจากธรรมดา), เช่น สร่างไข้ สร่างโศก ไข้ยัง ไม่สร่าง สร่างเมา เมาไม่สร่าง.
  10. สร้างชาติ : ก. ทำให้ชาติมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง.
  11. สร้างวิมานในอากาศ : (สํา) ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวัง จะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย.
  12. สร้างสรรค์ : ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มใน ทางดี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์.
  13. สลด : [สะหฺลด] ก. สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยงหรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด.
  14. สลบ : [สะหฺลบ] ก. อาการที่หมดความรู้สึก เช่น ถูกตีหัวจนสลบ เป็นลม ล้มสลบ.
  15. สลบแดด : ก. อาการที่ใบไม้ดอกไม้เหี่ยวหรือเฉาเมื่อถูกแดดหรือ ความร้อน.
  16. สละ ๔ : [สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.
  17. สละราชสมบัติ : ก. สละความเป็นพระมหากษัตริย์.
  18. สละสลวย : [สะหฺละสะหฺลวย] ว. ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทงความ และมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำสำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย.
  19. สลาตัน : [สะหฺลา] น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มี กําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยาย ใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็ว อย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. (เทียบ ม. selatan ว่า ลมใต้).
  20. ส่วนควบ : (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป.
  21. สวนสนาม : น. พิธีชุมนุมพลกองทหารที่ลานกว้างเพื่อแสดงความสง่า ผ่าเผย ความพร้อมเพรียง และอานุภาพของเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เป็นเกียรติแก่ผู้เป็นประธานในพิธีซึ่งจะได้ตรวจดูแถวทหารที่ตั้งอยู่ คือ ตรวจพลและดูการเดินแถวของทหารเหล่านั้น.
  22. สวนสนุก : น. สถานที่ที่รวบรวมบรรดาสิ่งที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินไว้บริการประชาชน.
  23. ส่วนสัด : น. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนดขึ้นให้มี ความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี.
  24. ส่วนหน้า : น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาใน การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหาร สูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
  25. สวบ, สวบ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
  26. สวภาพ : น. สภาพ, ความเป็นอยู่ของตนเอง. (ส. สฺวภาว).
  27. สวมบท, สวมบทบาท : ก. แสดงบทบาท เช่น สวมบทพระเอก สวม บทบาทผู้ร้าย; แสดงออกในลักษณะที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น คนใจบาปสวมบทนักบุญ.
  28. สวยแต่รูป จูบไม่หอม : (สํา) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าที วาจา และกิริยามารยาทไม่ดี.
  29. สวรรคบดี : [สะหฺวันคะบอดี] น. เจ้าเมืองสวรรค์ คือ พระอินทร์. (ส. สฺวรฺคปติ). สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ (สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำ ความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง.
  30. สวราชย์ : น. ความเป็นเอกราช; การปกครองด้วยตนเอง. (ส. สฺวราชฺย).
  31. สวัสดิการ : น. การให้สิ่งที่เอื้ออํานวยให้ผู้ทํางานมีชีวิตและสภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล ให้ที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง.
  32. สวัสดิภาพ : น. ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ตำรวจออกตรวจท้องที่ในเวลากลางคืนเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน.
  33. สวัสดิมงคล : น. สิ่งที่ให้ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เช่น ประดิษฐาน พระพุทธรูปไว้ในบ้านเพื่อสวัสดิมงคล.
  34. สวัสดิ, สวัสดิ์ ๑, สวัสดี ๑ : [สะหฺวัดดิ, สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] น. ความดี, ความงาม, ความเจริญ รุ่งเรือง; ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ขอให้มี ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ขอให้มีความสุขสวัสดี ขอให้สวัสดี มีชัย. (ส. สฺวสฺติ; ป. โสตฺถิ).
  35. สวัสติกะ : [สะหฺวัดติกะ] น. สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็น เครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็น รูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา. (ส. สฺวสฺติกา).
  36. สว่าง : [สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคําว่า ตาสว่าง.
  37. สว่างไสว : [สะหฺว่างสะไหฺว] ว. สว่างรุ่งเรืองทั่วไป เช่น บริเวณงานมี แสงไฟสว่างไสว, โดยปริยายหมายความว่า มีความสุข เช่น โลกนี้ช่าง สว่างไสวเหลือเกิน เดี๋ยวนี้ฉันหมดหนี้สินแล้ว ชีวิตฉันจึงสว่างไสวขึ้น.
  38. สวาท : [สะหฺวาด] น. ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. (ปาก) ก. รัก ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่าสวาทนักนี่ คุณคิดว่า เขาสวาทคุณนักหรือ. (ส. สฺวาท ว่า รสอร่อย, รสหวาน).
  39. สวามิภักดิ์ : ก. ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อํานาจ เช่น ข้าศึกเข้ามา สวามิภักดิ์, สามิภักดิ์ ก็ว่า. (ส. สฺวามินฺ + ภกฺติ ว่า ความซื่อตรงต่อเจ้า).
  40. สหธรรม : น. ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน. สหธรรมิก [สะหะทํามิก] น. ผู้มีการประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ทั้งปวงเป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน อุบาสกอุบาสิกาเป็น สหธรรมิกกัน. (ป. สหธมฺมิก).
  41. สหภาพแรงงาน : (กฎ) น. องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหา และคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความ สัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน เช่น สหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต.
  42. สองแง่สองง่าม : ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย ทั้งความหมายธรรมดา และความหมายที่ส่อไปในทางหยาบโลน (มักใช้ในปริศนาคำทาย) เช่นนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย.
  43. สองแง่สองมุม : ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย เช่นสาบานขอให้ตาย ใน ๗ วัน.
  44. สองฝักสองฝ่าย : (สํา) ว. ที่ทําตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้อง ทําตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน.
  45. สอดคล้อง : ว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้อง กัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน.
  46. สอดแนม : ก. ลอบเข้าไปสืบความ เช่น ส่งทหารไปสอดแนมข้าศึก.
  47. สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  48. สอบ ๑ : ก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือ วัด ให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้ มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด.
  49. สอบข้อเขียน : ก. สอบความรู้โดยให้ผู้สอบเขียนคำตอบลงในกระดาษ.
  50. สอบซ้อม : ก. ทดสอบความรู้ก่อนสอบไล่ (ใช้ในโรงเรียน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | [2551-2600] | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1566 sec)