ชมเลาะ : (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
ชมา : [ชะ] น. แมว. (ข.).
ชไม : [ชะ] ว. ทั้งคู่, ทั้ง ๒. (ข.).
ชร ๑ : [ชอน] น. ลวดลาย, ลายประกอบริม, ระบาย, เช่น ขนนเขนยชร. (ข.).
ชรทึง : [ชฺระ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ชรโมล : [ชฺระโมน] (กลอน) น. ทโมน, ลิงตัวผู้ขนาดใหญ่, เช่น มีชระมดชรโมลตาม. (สมุทรโฆษ). (ข. โฌฺมล ว่า สัตว์ตัวผู้).
ชรเรือด : [ชฺระ] (กลอน) ก. แทรก เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดู เพรี้ยมพราย.(สมุทรโฆษ). (ข. เชฺรียต, เชียต).
ชราบ : [ชฺราบ] (โบ) ก. ทราบ. (ข. ชฺราบ).
ชวด ๑ : น. ชื่อปีที่ ๑ ของรอบปีนักษัตร มีหนูเป็นเครื่องหมาย. (ข. ชูต).
ชะเอม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum.ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอม ขาไก่ (G. uralensis Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรส หวานชุ่มคอ ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
ชา ๕ : ก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
ชำงือ : (โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชํางือใจ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).
ชำนรร : ก. เหยียบ. (ข.).
ชำนัน : ก. เหยียบ. (ข. ชัน ว่า เหยียบ; ชาน่, ชํนาน่ ว่า คราว, สมัย).
ชำเรา ๒ : ก. ลึก, ลับ, เช่น หน้าตาชําเรา. (สุบิน). (ข.).
ชีพุก : น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
ชุน : ก. ซ่อมผ้าหรือแหเป็นต้นที่ขาดทะลุเป็นรูให้เป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยการถักหรือด้วยวิธีอื่น ๆ. น. เครื่องมือสําหรับถัก. (ข. ชุล).
เชรา : [เชฺรา] (กลอน) น. ซอกผา, ห้วย. (ข.).
เชลง : [ชะเลง] (กลอน) ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข.).
เชลย : [ชะเลย] น. ผู้ที่ถูกข้าศึกจับตัวได้. (ข.).
เชวง : [ชะเวง] (กลอน) ก. รุ่งเรือง, เลื่องลือ. (ข. เฌฺวง ว่า ปรีชารุ่งเรือง).
เฌอ : น. ไม้, ต้นไม้. (ข. เฌี ว่า ไม้, เฎิมเฌี ว่า ต้นไม้).
ดมไร : น. ช้าง, โดยมากใช้ ดําไร หรือ ดํารี. (ข. ฎํรี).
ดล ๒ : [ดน] ก. ถึง. (ข. ฎล่).
ดองฉาย, ดองหาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, ดอง กระดองหาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก. (ข. จงฺหาย ว่า ไม้สงฟาง, ดอง ว่า ด้าม, ฉาย ว่า สง).
ดองดึง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Gloriosa superba L. ในวงศ์ Colchicaceae ปลายใบ ม้วนลง กลีบดอกเป็นคลื่น สีแดงและเหลือง หัวมีพิษ. (ข. ฎงฎึง).
ดอม ๑ : น. ราว, แถว, แนว, เช่น ดอมไพร. (ข. ฎงไพฺร).
ดำแคง : ก. เลื่องลือ, ระบือไป, ดังสนั่น. (ข. แถฺกง).
ดำนา : ก. ปลูกต้นข้าวลงในนา. (ข. ดํา ว่า ปลูก).
ดำเนิน ๑ : ก. เดิน, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระดําเนิน; ให้เป็นไป เช่น ดําเนินงาน ดําเนินชีวิต. (ข. ฎํเณีร).
ดำเนียน : (แบบ) ก. ติเตียน. (ข. ฎํเนียล).
ดำรง : ก. ทรงไว้, ชูไว้, ทําให้คงอยู่, เช่น ดํารงวงศ์ตระกูล. ว. ตรง, เที่ยง. (แผลง มาจากตรง). (ข. ฎํรง่, ตมฺรง่).
ดำรี : น. ช้าง, ใช้ว่า ดําไร ก็มี. (ข. ฎํรี).
ดำหัว : น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทําในวันปีใหม่เพื่อเป็นการแสดง ความเคารพนับถือและรักใคร่ วิธีดําหัว คือ เอาสิ่งของและนํ้าที่ใส่เครื่องหอม เช่นนํ้าอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ และขอให้ท่านรดนํ้าใส่หัวของตนเพื่อให้ อยู่เย็นเป็นสุข.
เด็จ : ก. ขาด. (ข. ฎาจ่).
เดาะ ๒ : น. นม. (ข.).
เดิน : ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไปส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
เดิม : ว. แรก เช่น แต่เดิม, เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม, ก่อน เช่น เหมือนเดิม. (ข. เฎีม ว่า ต้น).
เดียง ๑ : ก. รู้ เช่น มากูจะไปให้ดลเดียงถนัด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. ฎึง).
เดือดร้อน : ก. เป็นทุกข์กังวลไม่เป็นสุข.
โดม ๑ : น. แนว, แถว, สายนํ้า. (ข. ฎง).
โดม ๒ : ว. สูง. (ข. โฎม).
โดมไพร : น. แนวป่า. (ข. ฎงไพฺร).
โดย ๒ : บ. ด้วย, ตาม, เช่น โดยจริง โดยธรรม. (ข. โฎย). (ถิ่น) ว. จ้ะ, ขอรับ.
โดยสาร : ก. อาศัยไปด้วย เช่น โดยสารเรือ, เดินทางไปโดยยานพาหนะ โดยเสียค่าโดยสาร, เรียกคนที่ใช้รถหรือเรือรับจ้างว่า คนโดยสาร. (ข.).
โดร : [โดน] (กลอน; ตัดมาจาก ข. พิโดร) ก. หอม, กลิ่นหอมที่ฟุ้งไป; โดยปริยาย หมายถึง ดอกไม้ เช่น กระทึงทอง ลําดวนโดร รสอ่อน พี่แม่. (กําสรวล).
ได : น. มือ. (ข.).
ตระกวน : [ตฺระ-] น. ผักบุ้ง. (ข. ตฺรกวน).
ตระกอง : [ตฺระ-] ก. กอด, เกี่ยวพัน, กระกอง ก็ว่า. (ข. ตฺรกง).
ตระจัก : [ตฺระ-] ว. ตระชัก, เย็น. (ข. ตรฺชาก่).