บังอูร : [บังอูน] ก. ตก, ตกลง; ยอบลง. (ข. บงฺอุร ว่า ฝนตก).
บัดบง : ก. สูญหาย. (ข. บาต่ ว่า หาย, บง่ ว่า เสียไป).
บาน ๓ : ก. ได้. (ข.).
บาย : น. ข้าว. (ข.).
บายศรี : น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้าย กระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่อง สังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือ ข้าวขวัญ).
ประกายพรึก : [ปฺระกายพฺรึก] น. ดาวรุ่ง คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นใน เวลาเช้ามืด, ถ้าเห็นในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง. (ข. ผกาย ว่า ดาว + พรึก ว่า รุ่ง).
ประแกก : ก. แตกร้าวกัน, วิวาทกัน. (ข. ปฺรแกก ว่า เถียงกัน).
ประจาน : ก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. (ข. ผจาล ว่า ทําให้เข็ดหลาบ).
ประดาษ : ว. ตกต่ำ เช่น โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเช่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษ วาสนา. (นิ. ภูเขาทอง). (ข. ผฺฎาส ว่า ผิดระเบียบ นอกรีตนอกรอย).
ประทาย : น. ค่าย, ป้อม. (ข.).
ประเหส : [ปฺระเหด] ก. ประมาท. (ข. ปฺรแหส).
ประแอก ๑ : ก. พิง. (ข.).
ประฮาม : น. แสงเงินแสงทอง, รุ่งสว่าง. (ข. พฺรหาม).
ปรัก ๑ : [ปฺรัก] ว. เงิน. (ข.).
ปรัง : [ปฺรัง] น. เรียกนาที่ต้องทําในฤดูแล้งว่า นาปรัง. (ข. ปฺรัง ว่า ฤดูแล้ง). ว. เกินเวลา, เกินกําหนด, เช่น จมปรัง ว่า อยู่เกินเวลา.
ปรับ ๑ : [ปฺรับ] ก. บอก, เล่า. (ข. บฺราป่).
ปรึง : [ปฺรึง] ว. อย่างเร่งรีบ, เต็มที่, เช่น บ้างควบปรึงตะบึงไปไม่รอรั้ง. (อิเหนา). (ข. บฺรึง).
ปากคอ : น. ปาก เช่น ปากคออยู่ไม่สุข.
เปรอ : [เปฺรอ] ก. บําเรอ. (ข. เปฺรี ว่า ใช้).
เปรียง ๒ : [เปฺรียง] น. นํ้ามัน โดยเฉพาะใช้สําหรับนํ้ามันไขข้อของวัว. (ข. เปฺรง).
โปรด : [โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความ เมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรด ข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).
ผกา : น. ดอกไม้. (ข. ผฺกา).
ผกาย : น. ดาว; แสงกระจาย, โดยมากใช้ว่า ประกาย. (ข. ผฺกาย).
ผคม : [ผะคม] ก. ไหว้, แผลงเป็น บังคม ก็ได้. (ข. บงฺคํ).
ผงร : [ผะหฺงอน] ก. หงาย, ชูขึ้น, ทรงไว้, เช่น ข้าแต่พระผู้ผงรแผ่นแผ้ว. (ม. คําหลวง จุลพน); ชะเง้อขึ้น เช่น เสือผกผงร. (เสือโค). (ข. ผฺงาร).
ผจง : [ผะจง] น. ความตั้งใจ. ก. ตั้งใจทําให้ดี, บรรจง, เช่น ผจงแต่ง ผจงจัด. (ข. ผฺจง่).
ผจญ, ผจัญ : [ผะจน, ผะจัน] ก. พยายามต่อสู้, พยายามเอาชนะ, เช่น มารผจญ, ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชนะ เช่น ผจญความทุกข์ยาก ผจญอุปสรรค, ประจญ หรือ ประจัญ ก็ว่า. (ข. ผฺจาญ่ ว่า ทําให้แพ้).
ผจาน : ก. เปิดเผยความชั่ว, ประจาน. (ข. ผฺจาล ว่า ทําให้เข็ดหลาบ).
ผชุม : ก. ประชุม. (ข. บฺรชุํ).
ผทม : [ผะทม] ก. นอน (ใช้แก่เจ้านาย), ประทม หรือ บรรทม ก็ใช้. (ข. ผฺทํ).
ผลู : [ผฺลู] น. ทาง. (ข.).
ผลูบด : น. ทางเลี้ยว. (ข.).
ผลูแบก : น. ทางแยก. (ข.).
ผสม : [ผะ] ก. รวมกันเข้า. (ข. ผฺสํ).
ผสาน : [ผะ] ก. ประสาน. (ข. ผฺสาร = บัดกรี).
ผสาย : [ผะ] ก. กระจาย, เรียงราย, เช่น ตรีมุขสิงหาสน์แก้ว กรองผสาย. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ข. ผฺสายร).
ผอูน : [ผะอูน] น. น้องหญิง, โผอน ก็ว่า. (ข. บฺอูน).
ผู้ : น. คำใช้แทนบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรม ราชโองการ หรือใช้แทนคำว่า คน เช่น ผู้นั้น ผู้นี้ ทุกผู้ทุกนาม หรือใช้แทนสิ่งที่ถือเสมือนคน เช่น ศาลเป็นผู้ตัดสิน; คําใช้ ประกอบคํากริยาหรือประกอบคําวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน ผู้ดี. ว. คําบอกเพศ หมายความว่า ตัวผู้ เช่น ม้าผู้ วัวผู้. ส. ที่, ซึ่ง, เช่น บุคคลผู้กระทำความดีย่อมได้รับความสุข.
เผด็จ : [ผะเด็ด] ก. ตัด, ขจัด, ขาด. (ข. ผฺฎาจ่).
เผลียง : [เผฺลียง] น. ฝน. (ข. เภฺลียง).
เผอิล : [ผะเอิน] ก. ตกใจ, แตกตื่น. (ข. เผฺอีล).
แผด ๒ : [ผะแด] น. บท (ใช้ในกลอน) เช่น จบสิบสองกำนัน ครูไม้หนึ่ง ๑๔ แผด. (กาพย์ขับไม้). (ข.).
แผ่เมตตา : ก. ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข.
ไผท : [ผะไท] น. แผ่นดิน. (ข. ไผฺท).
พนม : น. ภูเขา. (ข.); ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม. ก. ทําให้มีรูปอย่างดอกบัวตูม เช่น พนมมือ.
พนอง ๑ : [พะ] น. ป่า. (ข. พฺนง).
พยุ : [พะยุ] น. ลมแรง. (ข. พฺยุะ; ป., ส. วายุ).
พเยีย : [พะเยีย] น. พวงดอกไม้. (ข. ภฺ??).
พรมแดน : [พฺรม] น. ขีดขั้นเขตแดน, แดนต่อแดน. (ข. พฺรํแฎน).
พรวน ๓ : [พฺรวน] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo pruol ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์ ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน. (ข.).