กัน ๔ : ก. โกนให้เป็นเขตเสมอ เช่น กันคิ้ว กันคอ กันหน้า. (ข. กาล่).
กันดาล : [-ดาน] น. กลาง, ท่ามกลาง, เช่น ในกันดาลท้าวทงงหลายผู้ก่อนน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กณฺฎาล).
กันเมียง : น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
กันลง, กันลอง ๑ : น. แมลงภู่ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. กนฺลง่); ของที่เหลือ, มูลฝอย; การกบฏ, การบุกรุก.
กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
กันแสง : (ราชา) ก. ร้องไห้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง. (ข. กนฺแสง ว่า ผ้าเช็ดปาก, ผ้าเช็ดมือ, ผ้าเช็ดหน้า).
กัลเอา : [กัน-] ว. กรรเอา, กลมกล่อม. (ข. กฺรเอา).
กามสมังคี : ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกาม สมังคีศรีสุขุมสุข. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป. กาม + สมงฺคี = มีความพร้อมเพรียง).
กาฬมุข : น. เกียรติมุข.
กำจัด ๒ : ก. ขับไล่, ปราบ, ทําให้สิ้นไป. (ข. ขฺจาต่ ว่า พลัด, แยก).
กำจาย ๑ : ก. กระจาย. (ข. ขฺจาย).
กำเดา : น. เลือดที่ออกทางจมูก เรียกว่า เลือดกําเดา. (ข. เกฺดา ว่า ร้อน); แพทย์แผนโบราณเรียกไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัดว่า ไข้กําเดา.
กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
กำนล : [-นน] น. เงินค่าคำนับครู, เงินคํานับบูชาครูปี่พาทย์ คือ พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน มีเทียนสําหรับจุดที่ตะโพนด้วย. (ข. กํณล่ ว่า เครื่องคํานับ, ค่ากำนล; ไม้สำหรับหนุนอย่างไม้หมอน).
กำบิด : (โบ) น. กรรบิด, มีด. (ข. กําบิต).
กำพง : น. ท่าน้า, ตําบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกําพงไพร. (ม. คําหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่าน้า; มลายู กัมพง ว่า ตําบล).
กำพู ๑ : น. ไม้กลึงสําหรับเป็นที่รวมร้อยซี่ร่ม ซี่ฉัตร หรือ ซี่พุ่ม. (ข. กํพูล ว่า ยอด).
กำเพลิง : [-เพฺลิง] น. ปืนไฟ. (ข. กําเภฺลีง).
กำแพง : น. เครื่องกั้น เครื่องล้อม ที่ก่อด้วยอิฐ ดิน หรือ หิน เป็นต้น. (ข. กํแพง).
กำราล : [-ราน] (แบบ) น. เครื่องลาด เช่น นั่งในกําราลไพโรจน์ ในนิโครธารามรังเรจน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กํราล).
กำเลา : (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).
กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
กุโงก : น. นกยูง, กระโงก ก็ใช้. (ข. โกฺงก).
กูน : น. ลูก. (ข.).
เกียน : น. อ่าว, ทะเล, เช่น เกาะเกียน. (ข.).
โกน ๑ : น. ลูก. (ข. กูน).
โกรม : [โกฺรม] (แบบ) ว. ใต้, ต่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้า เหง้ากรุงโกรมกษัตริย. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข.).
โกรย : [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).
ขจร ๑ : [ขะจอน] ก. ฟุ้งไป. (ข. ขฺจร ว่า ฟุ้งไป แผลงเป็น กําจร ก็ได้; ป., ส. ข = อากาศ + จร = ไป).
ขจอก : [ขะ-] ว. กระจอก, ง่อย, ขาเขยก. (ข. ขฺจก ว่า ขาเขยก, พิการ).
ขจัด : [ขะ-] ก. กําจัด เช่น ขจัดความสกปรก; กระจัด, แยกย้ายออกไป. (ข. ขฺจาต่ ว่า พลัด, แยก).
ขจาย : [ขะ-] ก. กระจาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ขจร เป็น ขจรขจาย. (ข. ขฺจาย).
ขจี : [ขะ-] ว. งามสดใส, ใช้ในคําว่า เขียวขจี. (ข. ขฺจี ว่า ดิบ, อ่อน).
ขตอย : [ขะ-] น. แมงป่อง. (ข. ขฺทวย).
ขนน : [ขะหฺนน] น. หมอนอิง. (ข. ขฺนล่ ว่า หมอนอิง, ขอนที่ใช้เป็นหมอน).
ขนบ : [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของสมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน. (ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ ในห่อ, ที่หมก).
ขนอง : [ขะหฺนอง] น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง, ปฤษฎางค์ ก็ว่า. (ข. ขฺนง).
ขนาน ๒ : [ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน, เรียก เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสําหรับข้ามฟากว่า เรือขนาน; เรียก, ตั้ง, เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. (คณิต) น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกัน เป็นระยะเท่ากันโดยตลอดว่า เส้นขนาน. (ข. ขฺนาน ว่า เทียบ).
ขนาย : [ขะหฺนาย] น. งาช้างพัง. (ข. ขฺนาย ว่า เขี้ยวหมู).
ขมอง : [ขะหฺมอง] (ปาก) น. สมอง เช่น ปวดขมอง. (ข. ขฺมง ว่า ไขในกระดูก).
ขมอย : [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่า ฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่ หรือของน้อง).
ขมัง ๑ : [ขะหฺมัง] น. พรานธนู. (ข. ขฺมาน่).
ขมีขมัน : [ขะหฺมีขะหฺมัน] ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. (ข. ขฺมี; ต. ขมัน).
ขมุม : [ขะหฺมุม] น. ผึ้ง. (ข. ฆฺมุํ).
ขยม : [ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษ ที่ ๑. (ข. ขฺญุํ).
ขยล : [ขะหฺยน] น. ลม. (ข. ขฺยล่).
ขลวน : [ขฺลวน] น. ตัว. (ข. ขฺลวน ว่า ตัว, ตน).
ขลา : [ขฺลา] น. เสือ. (ข. ขฺลา).
ขอฉาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย คันฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
ขาล : [ขาน] น. ชื่อปีที่ ๓ ของรอบปีนักษัตร มีเสือเป็นเครื่องหมาย; เสือ. (ข.).