พระหาม, พระฮาม : (กลอน) น. เวลาเช้ามืด. (ข. พฺรหาม).
พลุก ๑ : [พฺลุก] น. งาช้าง. (ข. ภฺลุก).
พันลอก : ก. ผลิ. น. ดอกไม้. (ข.).
พิโดร : [พิโดน] ก. ฟุ้งไป (ใช้แก่กลิ่น). (ข. พิโดร; ส. วิตร).
พิเราะ : ว. ไพเราะ, เพราะ, เสนาะ. (ข. พีเราะ).
เพ็ญ : ว. เต็ม. (ข. เพ?).
เพนียด : [พะเนียด] น. กรงต่อนกเขา; วงล้อมทําเป็นคอกสําหรับคล้องช้าง. (ข.).
เพลา ๕ : [เพฺลา] น. ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา, ราชาศัพท์ว่า พระเพลา. (ข. เภฺลา).
เพลิง : [เพฺลิง] น. ไฟ เช่น เพลิงไหม้บ้าน ดับเพลิง. (ข. เภฺลิง).
แพนก : [พะแนก] น. หน้า. (ข. แภนก ว่า ตา); (โบ) แผนก.
แพนงเชิง : [พะแนง] น. การนั่งขัดสมาธิ. (ข.).
ภุม ๑ : [พุม] ว. ไม่ เช่น ภุมมาน ว่า ไม่มี, ภุมบาน ว่า ไม่ได้. (ข. พุํ).
ภูม : น. บ้าน. (ข.).
มดาย : [มะ-] น. แม่. (ข.).
มนิมนา, มนีมนา : [มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน. (ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).
มมาก : [มะ-] น. แมลงหวี่. (เทียบ ข. มมาจ ว่า ตัวชีปะขาว).
มรานควาน : [มะรานคฺวาน] ก. รบกวน, ทําให้รําคาญ. (ข. เมฺรญคงฺวาล).
มลทิน : [มนทิน] น. ความมัวหมอง, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์. (ข. มนฺทิล).
มวย ๓ : ว. หนึ่ง, เดียว. (ข.).
มาน ๓ : ก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).
เม : น. แม่. (ข.).
เมิล : ก. ดู. (ข.).
แม่กุญแจ : น. ลูกกุญแจที่ไขตัวกุญแจชนิดเดียวกันได้ทั่วไป. (อ. master key); ตัวกุญแจ คือ เครื่องลั่นประตูหรือหีบ มีลูกกุญแจสำหรับไข.
ไม่เป็นสุข : ว. ไม่มีความสุข.
ยม ๑ : ก. ร้องไห้. (ข.).
เยิง ๒ : (ถิ่นอีสาน) ส. เรา. (ข.).
เยีย ๑ : น. เรียกไก่ตัวผู้ที่มีรูปร่างคล้ายไก่ตัวเมียว่า ไก่เยีย. (เทียบ ข. ญี ว่า สัตว์ ตัวเมีย).
รนด : [ระนด] น. คราด. (เทียบ ข. รฺนาส่).
รอนสิทธิ์ : ก. ตัดสิทธิ์, (กฎ) รบกวนขัดสิทธิของบุคคลในอันที่จะครอง หรือใช้ทรัพย์สินโดยปรกติสุข.
ระแนง : น. ไม้สี่เหลี่ยมขนาดยาว หน้า ๑'' x ๑'' ใช้ตีทับบนกลอนหรือจันทัน สําหรับมุงกระเบื้องหรือตีทับคร่าวเพื่อทํารั้ว หรือทําแผงพรางแดด สําหรับเรือนกล้วยไม้. ก. เรียง; ร่อน เช่น เอาแป้งมาระแนงให้เป็นผง. (ขุนช้างขุนแผน). (ข. แรง ว่า ร่อน).
ระมาด : น. แรด. (ข. รมาส).
ระเมียร : ก. ดู, น่าดู. (ข. รมึล ว่า ดู).
ระลอก ๑ : น. คลื่นขนาดเล็ก. (ข. รลก).
ระเลิง : ก. โค่น. (ข. รํเลิง).
ระสี : น. ไม้ไผ่. (ข.).
รัญจวน : ก. ปั่นป่วนใจ เช่น กลิ่นหอมรัญจวนใจ, สะเทือนใจด้วยความกระสันถึง. (เทียบ ข. รํชวล).
รันชนรันแชง : (กลอน) ก. กระทบกระทั่งเกิดปั่นป่วนอย่างคลื่นซัดหรือลมพัด. (ข. ร?ฺชํร?ฺแชง).
ราชวโรงการ : [วะโรงกาน] น. คําสั่งของพระราชา. (ป. ราช + วร + ข. โองฺการ).
รำมะแข : ดู ลําแข.
รุย : น. แมลงวัน. (ข.).
รุหาญ : ว. เปรียบ, ดุจ. (เทียบ ข. รุหาน).
เรียงเบอร์ : (ปาก) น. ใบตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกรางวัล เรียงตาม ลำดับหมายเลข.
เรียม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด สําหรับผู้ชายพูดกับผู้หญิงที่รัก, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๑. [ข. (ราชา) เริ่ยม = พี่].
เรือพระที่นั่งกิ่ง : น. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของ พระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือ พระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่ง กิ่งไกรสรมุข.
ลบหลู่ : ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มี อุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.
ลบอง : [ละบอง] น. แบบ, ฉบับ. ก. แต่ง, ทํา. (ข. ลฺบง ว่า ลอง).
ลมาด : [ละ] น. แมลงหวี่. (ข. มมาจ ว่า ตัวชีผ้าขาว).
ลออ : [ละ] ว. งาม เช่น นวลลออ เอี่ยมลออ. (ข.).
ละงาด : น. เย็น, เวลาเย็น, ใช้ว่า ลางาด ล้างาด หรือ ลํางาด ก็มี. (ข. ลงาจ).
ลันโทม : ก. น้อมลง, ก้มลง. (ข. ลํโทน).