Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กัน , then กน, กนฺ, กัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กัน, 2758 found, display 2151-2200
  1. ลื้อ ๒ : (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกัน หรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).
  2. ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
  3. ลูกกรง : น. สิ่งซึ่งเรียงกันเป็นซี่ ๆ ของกรงหรือที่คุมขัง; สิ่งที่เป็น ลูกตั้งสําหรับราวบันไดและสะพานเป็นต้น เช่น ลูกกรงบันได ลูกกรงสะพาน ลูกกรงระเบียง.
  4. ลูกกรอก : น. ลูกคนหรือลูกสัตว์มีแมวเป็นต้นที่ตายตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์หรือในท้อง มีร่างกายครบบริบูรณ์ แต่ขนาดเล็ก เชื่อกันว่า จะให้คุณแก่เจ้าของหรือบางทีก็ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง.
  5. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  6. ลูกขัด ๒ : น. อุปกรณ์สําหรับขัดหรือปัดเงาเครื่องโลหะ ทําด้วยผ้า ซ้อนกันหลายชั้นเป็นรูปกลมคล้ายลูกล้อ มีรูตรงกลาง สวมเข้ากับ แกนที่ต่อออกมาจากมอเตอร์.
  7. ลูกขุน ณ ศาลหลวง : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่าง ศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะ พิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
  8. ลูกขุน ณ ศาลา : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่งมี ตําแหน่งต่าง ๆ มีเสนาบดีเป็นต้น รวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา.
  9. ลูกครึ่ง : น. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน, ครึ่งชาติ ก็ว่า.
  10. ลูกคำ : น. เรียกคํา ๒ คําเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่าง ไปจากคําเดิมว่า ลูกคําของคําตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคําของ คํา ลูก.
  11. ลูกโซ่ : น. ห่วงของโซ่, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ต่อเนื่องกัน เช่นนั้น เช่น เรื่องราวเกี่ยวข้องโยงกันเป็นลูกโซ่.
  12. ลูกตะเพรา : น. ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าว เป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกันกระแทก.
  13. ลูกตั้ง : น. ไม้ที่ตั้งเรียงกันอย่างลูกกรง.
  14. ลูกบวบ : น. ชื่อไม้ไผ่ที่มัดรวมกันกลม ๆ แล้วทําเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ; ชายจีวรภิกษุที่ม้วนให้กลมแล้วพาดบ่าหรือหนีบ รักแร้เมื่อเวลาครองผ้า เช่น พาดลูกบวบ หนีบลูกบวบ.
  15. ลูกเบี้ยว : น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ ทําหน้าที่ดันทองขาว ในจานจ่ายให้แยกจากกัน เพื่อตัดวงจรไฟตํ่าให้ไปเกิดไฟแรงสูงที่ คอยล์; อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ทําหน้าที่ควบคุมการปิดเปิด ของลิ้นเครื่องยนต์ เพื่อรับไอดีเข้าไปเผาไหม้และถ่ายไอเสียออกตาม จังหวะที่ถูกต้อง.
  16. ลูกประสม : น. ต้นไม้หรือสัตว์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ต่างชนิดกัน, ลูกผสม ก็ว่า.
  17. ลูกผสม : น. ต้นไม้หรือสัตว์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ต่างชนิดกัน เช่น กล้วยไม้ลูกผสม สุนัขลูกผสม, ลูกประสม ก็ว่า.
  18. ลูกฝาแฝด : น. ลูก ๒ คนที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน ในระยะเวลา เดียวกันหรือใกล้กัน อาจมีร่างกายติดกันหรือไม่ติดกันก็ได้ มักมี หน้าตาเหมือนกัน.
  19. ลูกแฝด : น. ลูกที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน หรือใกล้กัน อาจเป็นแฝด ๒ คน ๓ คน หรือมากกว่านั้นก็ได้.
  20. ลูกฟักหน้าพรหม : น. ไม้กรุในช่องจั่วลูกฟักเรือนทรงไทยเพื่อกัน ฝนสาด.
  21. ลูกมะหวด : น. ลูกตั้งมักทำด้วยหินหรือไม้เป็นต้น เป็นรูปกลม ๆ ป้อม ๆ คล้ายผลมะหวดเรียงกันเป็นลูกกรงใช้แทนหน้าต่าง เช่น ลูกมะหวดที่ปราสาทหิน.
  22. ลูกล้อ ๒ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้าอย่างเดียวกัน และ ทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใดหรือจะมี เพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  23. ลูกหม้อ : น. ชื่อปลากัด (Betta splendens) ในวงศ์ Anabantidae ที่ผ่านการ คัดเลือกพันธุ์จนมีลักษณะเด่นพิเศษเพื่อการต่อสู้ ครีบต่าง ๆ สั้น กว่าปลาจีน (๒); โดยปริยายหมายถึงผู้มีวิชาชีพโดยสืบต่อเชื้อสาย กันมาหรือทํางานในสังกัดนั้น ๆ มาตั้งแต่เดิม.
  24. ลูกเหม็น : น. สารอินทรีย์ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ทำเป็นลูกกลม มีกลิ่นไม่ชวนดม ใช้ใส่ตู้หนังสือเป็นต้นเพื่อกันแมลงบางชนิด.
  25. ลู่เข้า : (แสง) ก. อาการที่ลำแสงผ่านเลนส์นูนไปแล้วจะเบนเข้า หากัน. (อ. convergent).
  26. ลู่ออก : (แสง) ก. อาการที่ลำแสงผ่านเลนส์เว้าไปแล้วจะถ่างออก จากกัน. (อ. divergent).
  27. เล็ก : ว. มีขนาดย่อมกว่าเมื่อเทียบกัน เช่น ละมุดเล็กกว่าส้มโอ กล้วยไข่ เล็กกว่ากล้วยหอม, มีขนาดไม่โต เช่น บ้านหลังนี้เล็ก, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่สําคัญ, สําคัญน้อยกว่า, เช่น เรื่องเล็ก.
  28. เลขลำดับ : น. จํานวนนับที่บอกรหัสหรือตําแหน่งที่ของสิ่งที่จัดเรียง กันอย่างมีระบบ เช่น บ้านเลขที่ ๑๕๐ รถประจําทางสาย ๖๒.
  29. เล็ง : ก. เพ่งมอง, จ้องตรงไป, หมาย, หมายเฉพาะ; (โหร) อาการที่ดาว พระเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ในเรือนตรงกันข้ามกับดาวพระเคราะห์ อีกดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนที่ตนอยู่.
  30. เล็งระดับ : ก. ใช้เครื่องมือวัดหาความเที่ยงและความเสมอกันทั้ง ทางนอนและทางดิ่ง.
  31. เลเซอร์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องซึ่งแปลงลําแสงที่ผ่านเข้าไปให้ออกมาเป็นลําแสง สีเดียวที่อัดรวมกันจนมีขนาดลําแสงแคบอย่างยิ่ง และมีความเข้ม สูงมาก, เรียกลําแสงที่ได้ออกมาลักษณะเช่นนี้ว่า ลําแสงเลเซอร์. (อ. laser).
  32. เล่นเพลงยาว : (โบ; สํา) ก. ลอบมีจดหมายรักต่อกัน เช่น ไม่อยากเล่น เพลงยาวชื่อฉาวเอย. (สักวาของคุณพุ่ม), เขียนหนังสือโต้ตอบกัน ไปมาไม่รู้จักจบ.
  33. เล่นเพื่อน : ก. คบเพื่อนหญิงด้วยกันต่างชู้รัก.
  34. เล่นหัว : ก. หยอกล้อกัน.
  35. เลเพ : ว. เรี่ยราย, ไม่รวมกัน.
  36. เลยเถิด : ว. เกินความพอดีไป เช่น ล้อเล่นกันจนเลยเถิด กลายเป็น ลามปาม.
  37. เลหลัง : [–หฺลัง] ก. ขายสิ่งของโดยวิธีที่ผู้ต้องการประมูลราคากันให้สูงขึ้น โดยลําดับ ใครให้ราคาสูงสุดก็เป็นผู้ซื้อได้; ขายทอดตลาด. (โปรตุเกส = leilao).
  38. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  39. เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
  40. เล่าลือ : ก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
  41. เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
  42. เลิกรา : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น ร้านแถวนี้ขายไม่ดี จึงเลิกรากันไป เรื่อย ๆ บ้าน ๒ หลังนี้ทะเลาะกันเรื่อย หนักเข้าก็เลิกรากันไปเอง.
  43. เลิกร้าง : ก. ทิ้งกัน, ไม่อยู่ด้วยกัน, (ใช้แก่ผัวเมีย).
  44. เลี้ยง : ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหาร การกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า, ประคับประคอง ให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ, กินร่วมกัน เพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์(ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
  45. เลี้ยงความ : ก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกัน ถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความ ที่ต้องยืดเยื้อออกไป.
  46. เลี่ยม ๑ : ก. ใช้โลหะเช่นทองคํา ทองเหลือง ตะกั่ว หุ้มโดยรอบที่ปลาย หรือ หุ้มเป็นแนวไปตามริม ขอบ หรือปากของสิ่งต่าง ๆ มีถ้วยชามเป็นต้น แล้วกวดให้แนบสนิทเพื่อทําให้แข็ง กันสึก กันบิ่น ปกปิดตําหนิ หรือ เพื่อความงาม เช่น เลี่ยมหัวตะพด เลี่ยมป้าน เลี่ยมถ้วย.
  47. เลี่ยมพระ : ก. ใช้โลหะหุ้มพระเครื่องเพื่อกันไม่ให้แตกหรือชำรุด.
  48. เลื่องลือ : ก. รู้กันกระฉ่อนทั่วไป เช่น ชื่อเสียงเลื่องลือ ความสามารถ เป็นที่เลื่องลือ.
  49. เลือดตกยางออก : ก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึง เลือดตกยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือด ตกยางออกเลย.
  50. เลือดผสม : น. ผู้ที่มีเลือดพ่อและแม่ต่างชาติกัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | [2151-2200] | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2758

(0.1187 sec)