Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กัน , then กน, กนฺ, กัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กัน, 2758 found, display 951-1000
  1. ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ : น. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิด ความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).
  2. ฉันทา : (กลอน) ก. ลําเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ เช่น พระแก่วันชันษากว่าข้านี้ นึกว่าพี่น้องกันไม่ฉันทา. (อภัย).
  3. ฉายา ๑ : น. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).
  4. ฉาวโฉ่ : ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), โฉ่ฉาว ก็ว่า.
  5. ฉิ่ง ๑ : น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอกจังหวะ เข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
  6. ฉีก : ก. ขาดแยกออกจากกันหรือทําให้ขาดหรือแยกออกจากกัน เช่น ผ้าฉีก ฉีกผ้า ฉีกทุเรียน,โดยปริยายหมายความว่า แยกสิ่งที่เป็นคู่หรือเป็นสํารับ ออกจากกัน เช่น ฉีกตองไพ่.
  7. ฉุป, ฉุป : [ฉุบ, ฉุปะ-] น. การรบกัน, สงคราม, การสัมผัสถูกต้อง; เถาวัลย์; ลม. (ส., ป.).
  8. เฉ่ง : ก. ชําระเงินที่ได้เสียกัน, ชําระเงินที่ติดค้างกันอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ด่า ว่า หรือทําร้ายร่างกาย. (จ.).
  9. เฉลว : [ฉะเหฺลว] น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ''๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของ ซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ ตาเหลว ก็ว่า.
  10. เฉลี่ย : [ฉะเหฺลี่ย] ก. แบ่งส่วนให้เท่ากัน, แจกจ่ายให้ทั่วกัน. ว. ที่ถัวให้มีส่วน เสมอกัน เช่น รายเฉลี่ย.
  11. เฉลียง : [ฉะเหฺลียง] น. ส่วนของโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญที่ต่อออกมาโดยรอบ หรือส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน สําหรับนั่งเล่นหรือ เดินติดต่อกันเป็นต้น. ว. เฉียง.
  12. เฉียงพร้าดำ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Justicia ventricosa wall. ในวงศ์ Acanthaceae ต้นสูงได้ ถึง ๓ เมตร ใบออกตรงข้ามกัน ปลายและโคนใบแหลม ดอกสีขาวประแดง ออกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง ต้นและใบใช้ทํายาได้, บัวฮาดํา ก็เรียก.
  13. โฉ่งฉ่าง : ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยา โฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.
  14. โฉ่ฉาว : ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), ฉาวโฉ่ ก็ว่า.
  15. ชน ๑ : ก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
  16. ชนกลุ่มน้อย, ชนหมู่น้อย : น. ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อยู่ อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นหรือเชื้อชาติอื่นที่มีจํานวนมากกว่า.
  17. ชนช้าง : ก. ขี่ช้างรบกัน.
  18. ชนวน ๑ : [ชะ] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่น และละเอียดมีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี;เรียกกระดานเขียน หนังสือทําด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้ จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไปติดดิน ระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน; เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยาย หมายความว่า ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม.
  19. ชนัก : [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มีด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอ ช้างทําด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก. (รูปภาพ ชนัก)
  20. ชนา : [ชะ] (กลอน) น. ชน เช่น เอาลวดถักคั่นกันชนา. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
  21. ชมรม : น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มี จุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรม นักวรรณศิลป์ ชมรมพุทธศาสตร์, โชมโรม ก็ว่า.
  22. ชมเลาะ : (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
  23. ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
  24. ช่องไฟ : น. ช่องว่างระหว่างตัวหนังสือ; (ศิลปะ) บริเวณที่ เว้นไว้เป็นพื้นเท่า ๆ กันระหว่างลวดลายแต่ละตัว.
  25. ช่องว่าง : น. ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่ทำให้เข้ากันยาก เช่น ช่องว่างระหว่างชนชั้น ช่องว่างระหว่างวัย.
  26. ชอบ : ก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว; เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก, บางทีใช้หมายความไปในเชิง ว่ารักใคร่ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน; มีสิทธิ์ เช่น ชอบ ที่จะทําได้.
  27. ชอบพอ : ก. รักใคร่กัน, ถูกอัธยาศัยกัน.
  28. ชะโด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมี จํานวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒–๙๕ เกล็ด ข้างลําตัวมีแถบสีดําเรียงคู่กันจากนัยน์ตาถึงหาง ระหว่างแถบ เป็นสีแดง แถบนี้อาจแตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก.
  29. ชะตา : น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทําให้รู้สึกชอบหรือ ไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสําแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลา เกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่ โหรคํานวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศีเรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
  30. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  31. ชะมด ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากันปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้ว ทอดน้ำมัน.
  32. ชักชวน : ก. ชวนให้ทําด้วยกัน.
  33. ชักพระ : น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็น ประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือ ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบก กับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้ว ช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกัน ลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วย ใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
  34. ชักสื่อ : ก. แนะนําชายหญิงให้รู้จักกันในฐานชู้สาว.
  35. ชัค : [ชักคะ] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว กันนา. (ตะเลงพ่าย). (ป. ชค).
  36. ชั้น : น. ที่สําหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มี บานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลําดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.
  37. ชันชี : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. สัญญา, นัดหมาย, ตกลงกัน. (ม. janji).
  38. ชันโรง : [ชันนะ] น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Apidae เช่น ชนิด Trigona terminata, Melipona apicalis โดยทั่วไปมี ขนาดลําตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อกกว้างไม่เกิน ๒.๕ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเป็นผึ้งผู้ ผึ้งเมีย และผึ้งงานเหมือนกัน แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้ง ธรรมดา รังทําจากขี้ผึ้งผสมขี้ดินและยางไม้ขนาดหอยโข่ง หรือตะโหงกวัว จึงมักจะเรียกผึ้งหอยโข่งหรือผึ้งตะโหงกวัว แต่มีชื่ออื่นอีกมากมายแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด.
  39. ช้าง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ถ้ามีงาสั้นเรียก ช้างสีดอ ตัวผู้เมื่อตกมันมี ความดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏ ให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง.
  40. ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด : (สํา) น. ความชั่วหรือความผิด ร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด.
  41. ช้างสาร : (สำ) น. ผู้มีอำนาจ ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.
  42. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  43. ชาติพันธุ์ : [ชาดติพัน] น. กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่ แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของ เชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน. (อ. ethnos).
  44. ชาว : น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรือ อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมี อาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง หรือ นับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
  45. ชำนน : ก. ชนกัน, โดนกัน. (แผลงมาจาก ชน).
  46. ช้ำเลือดช้ำหนอง : ว. มีเลือดและหนองคั่งอยู่, สีที่มีลักษณะ คล้ายมีเลือดและหนองปนกันออกสีม่วง ๆ เรียกว่า สีชํ้าเลือดชํ้าหนอง.
  47. ชิงช่วง : ก. แย่ง. น. การเล่นชนิดหนึ่ง เอาลูกไม้หรือของ ที่ลอยทิ้งลงในนํ้าแล้วแย่งชิงกัน.
  48. ชิงชัย : ก. รบกัน.
  49. ชิงช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วย ล้อโลหะขนาดใหญ่คู่ขนานกันหมุนด้วยแรงกลในแนวตั้ง รอบแกนที่ติดอยู่กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่ เป็นช่วงระหว่างโครงของล้อทั้ง ๒, กระเช้าสวรรค์ ก็ว่า.
  50. ชิงเชิง : น. ชื่อเศษด้ายที่ตัดออกจากผ้าซึ่งติดอยู่ที่ฟืม. ก. แย่งชั้นเชิงกัน, คอยเอาทีกัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2758

(0.1402 sec)