Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กัน , then กน, กนฺ, กัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กัน, 2758 found, display 201-250
  1. กรรบูร : [กันบูน] (แบบ) น. การบูร เช่น กฤษณากระวานการ- บูรกูรกระเหนียดกรร- บูรแกมกำคูนคันธ์ รสจวงกำจร มา. (สมุทรโฆษ).
  2. กัณฏกะ, กัณฐกะ : [กันตะกะ, กันถะกะ] (แบบ) น. หนาม. (ป., ส. กณฺฏก).
  3. กัณฐ-, กัณฐา : [กันถะ-] (แบบ) น. คอ. (ป.).
  4. กัณฐัศ, กัณฐัศว์ : [กันถัด] น. ชื่อม้าตระกูลหนึ่ง, ในบทกลอนใช้เรียกม้าทั่วไป.
  5. กัณฐี : [กันถี] (แบบ) น. เครื่องประดับคอ เช่น แก้วกัณฐีถนิมมาศนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  6. กัณห- : [กันหะ-] ว. ดํา, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.; ส. กฺฤษฺณ).
  7. กัลชาญ : [กันละชาน] ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ. (ม. คําหลวง ทศพร).
  8. กัลบก : [กันละ-] (แบบ) น. ช่างตัดผม, ช่างโกนผม. (ส.; ป. กปฺปก).
  9. กัลปนา : [กันละปะนา] ก. เจาะจงให้. น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของ อุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา; ส่วนบุญที่ผู้ทําอุทิศให้แก่ผู้ตาย. (ส.; ป. กปฺปนา).
  10. กัลปพฤกษ์ : [กันละปะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อนออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม.
  11. กัลปพฤกษ์ ๑ : [กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จ ตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทําขึ้นเนื่องในการทิ้งทานใน งานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้น กัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กํามพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจํา กํามพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).
  12. กัลปังหา : [กันละ-] ดู กะละปังหา.
  13. กัลปาวสาน : [กันละปาวะสาน] น. ที่สุดแห่งระยะเวลากัลป์หนึ่ง คือ ช่วงเวลา ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์. (ส. กลฺป + อวสาน).
  14. กัลปิต : [กันละปิด] (แบบ) ว. สําเร็จแล้ว; ควรแล้ว; ตัดแล้ว. (ส.; ป. กปฺปิต).
  15. กัลพุม : [กันพุม] (โบ) น. กรรพุม, มือที่ประนม, เช่น ถวายกรกัลพุมบันสารโกสุม ศิโรจม์. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์); พุ่ม เช่น จับพฤกษางกูรกัลพุม โดยกุสุมฤดูกาล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  16. กัลเม็ด : [กันละ-] น. กลเม็ด, วิธีที่แยบคาย, สิ่งที่แยบคาย; แหวนที่มีก้านหัวเป็นเกลียวถอดออกจากเรือนได้ เรียกว่า แหวนกัลเม็ด, ขวดที่มีจุกเป็นเกลียวเรียกว่า ขวดกัลเม็ด.
  17. กัลยา : [กันละยา] น. นางงาม.
  18. กัลยาณ - : [กันละยานะ-] ว. งาม, ดี, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี. (ป., ส.).
  19. กัลยาณมิตร : [กันละยานะมิด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  20. กัลยาณี : [กันละยานี] น. นางงาม, หญิงงาม. (ป., ส.).
  21. กัลเว้า : [กันเว้า] ว. พูดอ่อนหวาน, พูดเอาใจ, เช่น ก็มีพระราชโองการอนนกัลเว้า. (ม. คําหลวง มหาราช).
  22. ขากรรไกร : [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่าง กรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.
  23. กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
  24. กลเม็ด ๒ : [กนละ-] น. ชื่อเทียนชนิดหนึ่ง ซึ่งตามประเพณีเดิมจุด ตั้งแต่วันเกิดมาและเลี้ยงไฟต่อกันไว้จนถึงวันตาย เมื่อถึงวันเผาก็ใช้ไฟนั้นเผา เรียกว่า เทียนกลเม็ด, เทียนจุดคู่ชีพเวลาจะสิ้นใจ.
  25. จงกลนี : [-กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอก แล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓).
  26. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  27. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  28. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  29. สะกด : ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคํา, เรียกพยัญชนะ ที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคําที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).
  30. undefined : น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนาม ว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูป สามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.
  31. ก๊ก : น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
  32. กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
  33. กงพัด ๒ : น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่ เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บน หมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
  34. กงสี : น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
  35. กฎหมายระหว่างประเทศ : (กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติ ที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความ เกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคม ระหว่างประเทศ, เดิมเรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).
  36. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  37. ก็ดี, ก็ได้ ๑ : นิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มี น้ำหนักเท่ากัน เช่น บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.
  38. กตเวทิตา : [กะตะ-] น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนอง คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตัญญุตา. (ป.).
  39. กตเวที : [กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคําคู่กัน กับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
  40. กตัญญู : [กะตัน-] น. (ผู้) รู้อุปการะที่ท่านทําให้, (ผู้) รู้คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้].
  41. กน ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า แม่กน หรือ มาตรากน.
  42. กน ๒ : (โบ) ก. มัว, คอย, เฝ้า, เช่น จะกนกินแต่น้ำตาอนาทร. (นิ. ลอนดอน).
  43. ก้นขบ : น. ชื่องูชนิด Cylindrophis ruffus ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดําแกมม่วง มีลายขาวเป็นปล้อง ๆ ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษ ข้างหางเพราะชูและแผ่หางซึ่งปลายมีสีแดงส้ม.
  44. กบ ๔ : น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็น ราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
  45. กบ ๕ : น. (๑) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล Geodorum วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่า ใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก.
  46. กบแจะ : (ปาก) ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยนหลุม โดยโยนสตางค์ หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), แจะ ก็ว่า.
  47. กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
  48. กมล- , กมลา : [กะมะละ-, กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  49. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  50. กรบ : [กฺรบ] น. เครื่องแทงปลา ทําด้วยไม้ ๓ อัน มัดติดกัน มีลักษณะคล้าย ๓ เส้า สวมเหล็กแหลมที่ปลายด้ามรูปงอคล้ายไม้เท้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2758

(0.1366 sec)