Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กัน , then กน, กนฺ, กัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กัน, 2758 found, display 2701-2750
  1. เอิกเกริก : [เอิกกะเหฺริก] ว. อื้ออึง; ครึกครื้น, สนุกสนาน; แพร่หลาย รู้กันทั่ว.
  2. เอี้ยง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น กินแมลงและ ผลไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เอี้ยงสาริกา หรือ สาลิกา (Acridotheres tristis) เอี้ยงหงอน (A. javanicus) เอี้ยงหัวสีทอง (Ampeliceps coronatus) เอี้ยงดําปักษ์ใต้ (Aplonis panayensis).
  3. เอื้อ : ก. เอาใจใส่, มีนํ้าใจ, เช่น เอื้อแก่กัน, เห็นแก่ เช่น ทำกับข้าวเผ็ด ไม่เอื้อเด็ก ๆ.
  4. แอลกอฮอล์ : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหย ง่าย มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกัน สั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภท แป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะ ออกฤทธิ์ทําให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย และ เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. (อ. alcohol, ethyl alcohol).
  5. โอ้กอ้าก : ว. เสียงอย่างเสียงอาเจียนติดต่อกัน, โดยปริยายหมายถึง อาการของผู้หญิงที่แพ้ท้องหรืออาการของผู้ที่จะเป็นลม.
  6. โอ่ง : น. ภาชนะสําหรับขังนํ้า ก้นสอบเล็กน้อย ปากกว้าง มีขนาดต่าง ๆ กัน, บางทีก็เรียกว่า ตุ่ม.
  7. โอม : น. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามา ใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือ เป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคํา ขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).
  8. โอละพ่อ : ว. กลับตรงกันข้าม อย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ. น. คําขึ้นต้น ที่พวกระเบ็งร้องและรําในการมหรสพของหลวงเช่นพระราชพิธี โสกันต์.
  9. โอลิมปิก : น. เรียกการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศซึ่งจัดให้มีขึ้นทุก ๆ ๔ ปีในประเทศต่าง ๆ ตามแต่จะตกลงกันว่า กีฬาโอลิมปิก. (อ. Olympic games).
  10. ไอ้ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่าง นายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความ สนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คําใช้ประกอบหน้าชื่อ ผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคําบางคําที่ ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความ เอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คํา ประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อ เน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คําใช้แทนสิ่งที่ กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.
  11. ไอโซโทป : น. อะตอมของธาตุเดียวกัน แต่มีจํานวนนิวตรอนที่นิวเคลียส ต่างกัน. (อ. isotope).
  12. ก่น ๑ : (โบ) ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  13. ก่น ๒ : ก. ขุดโค่น.
  14. กั่น ๑ : น. ส่วนที่ถัดจากโคนอาวุธหรือเครื่องมือเป็นต้น สําหรับหยั่งลงไปในด้าม.
  15. กั่น ๒ : (ถิ่น-พายัพ) ก. ดุ.
  16. เก่น : ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  17. แก่น : น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสําคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.
  18. โก่น : ก. ก่น.
  19. กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
  20. กลพยาน : [กน-] น. พยานที่ถูกวานให้ไปถามเป็นคํานับ. (สามดวง).
  21. กลไฟ : [กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้น เป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือ มหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
  22. กลอักษร : [กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้ อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกําใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
  23. จงกล : [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้าน ของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป. (รูปภาพ จงกล)
  24. คำเทียบ : น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น คำเทียบของแม่ กง.
  25. คำเป็น : น. คำสระยาวที่ไม่มีตัวสะกด และคำในมาตรา กง กน กม เกย เกอว.
  26. กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
  27. กลบท : [กนละบด] น. คําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัส เป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม. (กลบทตรีประดับ).
  28. กลเม็ด ๑ : [กนละเม็ด] น. วิธีที่แยบคายหรือพลิกแพลง, กัลเม็ด ก็ว่า.
  29. กลยุทธ์ : [กนละ-] น. การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม, วิธีการที่ต้องใช้กลอุบาย ต่าง ๆ, เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้.
  30. กลวิธี : [กนละ-] น. วิธีพลิกแพลง โดยอาศัยความรู้ความชํานาญ.
  31. กลศาสตร์ : [กนละ-] น. วิชาฟิสิกส์สาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับ การกระทําของแรงต่อเทหวัตถุ และผลที่เกิดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้น ภายหลังที่ถูกแรงมากระทํา. (อ. mechanics).
  32. กลอุปกรณ์ : [กนอุปะกอน, กนอุบปะกอน] น. อุปกรณ์เชิงกลที่ ออกแบบหรือผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  33. กทรรป : [กะทับ] (แบบ) ก. กําหนัด เช่น ตรูกามกทรรปหฤทัย. (สมุทรโฆษ). (ส. กนฺทรฺป ว่า กามเทพ).
  34. กระโถน : น. ภาชนะสําหรับบ้วนหรือทิ้งของต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการ. (เทียบ ข. กนฺโถรฺ).
  35. กัญญา ๑ : [กันยา] น. สาวรุ่น, สาวน้อย. (ป.; ส. กนฺยา).
  36. กันดาร : [-ดาน] ว. อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก, แห้งแล้ง, คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. น. ป่าดง, ทางลําบาก. (ป. กนฺตาร).
  37. กันยายน : น. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. กนฺยา = นางงาม, นางสาวน้อย + อายน = มา = เดือนที่อาทิตย์ มาสู่ราศีกันย์).
  38. กันลง, กันลอง ๑ : น. แมลงภู่ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. กนฺลง่); ของที่เหลือ, มูลฝอย; การกบฏ, การบุกรุก.
  39. กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
  40. กันแสง : (ราชา) ก. ร้องไห้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง. (ข. กนฺแสง ว่า ผ้าเช็ดปาก, ผ้าเช็ดมือ, ผ้าเช็ดหน้า).
  41. ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  42. กานดา : น. หญิงที่รัก. (ส. กานฺตา; ป. กนฺตา).
  43. : พยัญชนะตัวที่ ๑๓ นับเป็นพวกอักษรตํ่า และเป็นตัวที่สุดของวรรคที่ ๒ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ.
  44. ณ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๑๙ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น คุณ บัณฑิต.
  45. ตระกล : [ตฺระกน] ว. มีมาก; งาม.
  46. ตรีเทวตรีคันธา : [-ทะเวตฺรี-] น. กลิ่นสามสองสาม คือ แก่น ดอก ราก แห่งมะซาง และบุนนาค. (ศัพท์คัมภีร์แพทย์).
  47. ตรีสาร : น. แก่น ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก, หรืออีกอย่างหนึ่ง รส ๓ อย่าง เป็นคําแพทย์ใช้ในตํารายาไทย ประสงค์เอา เจตมูลเพลิง สะค้าน ช้าพลู. (ส.).
  48. ถกล : [ถะกน] ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งขึ้น, ตั้งไว้; ในวรรณคดีหมายความว่า งาม, ใช้แผลงเป็น ดํากล ก็มี. (ข. ถฺกล่).
  49. น ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๒๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน.
  50. มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | [2701-2750] | 2751-2758

(0.1497 sec)