Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กัน , then กน, กนฺ, กัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กัน, 2758 found, display 751-800
  1. ค้าน : ก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้ง ไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทําลาย, เช่น เครื่องบนกระบาล ผุค้าน. (คําฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย).
  2. คาบเกี่ยว : ก. ติดต่อเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ที่ดินคาบเกี่ยวกัน.
  3. คาบลูกคาบดอก : (สํา) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
  4. ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  5. ค่ายอาสาพัฒนา : น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบําเพ็ญประโยชน์ ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน.
  6. คาราวาน : น. หมู่คนหรือยานพาหนะเป็นต้นซึ่งเดินทางไกลร่วมกันเป็น ขบวนยาว. (อ. caravan).
  7. คำประสม : น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คํา ขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา อีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
  8. คำประสาน : น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้ อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
  9. คำเผดียงสงฆ์ : น. ญัตติ, คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจ ของสงฆ์ร่วมกัน.
  10. คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
  11. คำพ้องรูป : น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
  12. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  13. คำมั่น : (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพัน ผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อ หรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
  14. คำหลวง : น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
  15. ค้ำหัว : ก. ยืนชิดข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่หรือด้านหัวผู้ใหญ่ที่นอนอยู่ ถือกันว่าขาดความเคารพ เรียกว่า ยืนคํ้าหัว.
  16. คืนดี : ก. โกรธกันแล้วกลับดีกัน.
  17. คุ้ง : น. ส่วนเว้าโค้งเข้าไปของฝั่งนํ้าด้านที่ตรงกันข้ามกับหัวแหลม. (โบ) ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุง ก็ว่า. (โบ) สัน. ตราบเท่า, คุง คุ้ม หรือ คุ้มเท้า ก็ว่า.
  18. คุณ ๒ : น. อาถรรพณ์ คือ พิธีทําร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าในตัว หรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทําคุณ, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ, คุณไสย ก็ว่า.
  19. คุ้น : ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
  20. คุ้นเคย : ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืด ได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
  21. คุ้ม ๑ : ก. กัน, ป้องกัน, เช่น คุ้มฝน; พอ, สม, พอสมควรกัน, เช่น คุ้มค่า คุ้มเหนื่อย; พอเท่ากัน เช่น คุ้มทุน. ว. มากพอสมควรกัน เช่น กินเสียคุ้ม.
  22. คุ้มโทษ : (โบ) ก. ได้รับความคุ้มกันที่จะไม่ต้องถูกลงโทษ เช่น อหนึ่ง ผู้ตามโจรได้รบพุ่งฟันแทงมีบาดเจบท่านว่าคุ้มโทษ. (สามดวง).
  23. คุมธาตุ : ก. ทําให้ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ในร่างกายเป็นปรกติ สมํ่าเสมอกัน.
  24. คุมนุม : (โบ) ก. คุม เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน. (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษ ไว้วันหนึ่ง. (กฎ. ราชบุรี).
  25. คุย ๑ : ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อน ที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
  26. คุลิก่า : น. เม็ดกรวดที่อยู่ในกระเพาะสัตว์บดเอื้อง เมื่อนานเข้าก็มีเมือกเกาะ เป็นเม็ดกลม ถือกันว่าเป็นยาถอนพิษ. (ม. guliga).
  27. คุลีการ : ก. คลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วปั้นก้อน, คลุกเคล้าให้เข้ากัน.
  28. คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
  29. คู้ : ก. ตรงกันข้ามกับ เหยียด, งอเข้า เช่น คู้เข่า. คู้บัลลังก์ ก. ขัดสมาธิ.
  30. คู ๒ : ก. กิริยาที่นกบางชนิดเช่นนกเขาหรือนกพิราบขันหรือร้อง, โดยปริยาย หมายความว่า พูดแทะโลมกัน เช่น ข้อยคูดนูแนบนิทรา. (สรรพสิทธิ์).
  31. คู่กรณี : น. ผู้ที่เกิดพิพาทกัน; (กฎ) บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  32. คู่ขา : น. คู่เล่นการพนันที่หย่ากันคือไม่เอาเงินกัน, คู่แสดงหรือคู่เล่น ที่เข้ากันได้ดี.
  33. คู่แข่ง : น. ผู้ที่เข้าแข่งขันกัน, ผู้ที่ชิงดีชิงเด่นกัน.
  34. คู่ครอง : น. หญิงและชายที่อยู่ร่วมกันฉันผัวเมีย; ผัวหรือเมีย.
  35. คู่ควร : ว. เหมาะกัน, สมกัน, เสมอกัน, มีค่าเท่ากัน.
  36. คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
  37. คู่คิด : น. ผู้ร่วมคิดหรือร่วมปรึกษาหารือที่สนิทสนมและรู้ใจกันดี.
  38. คู่คี่ : ว. ไล่เลี่ยกัน เช่น เขามีคะแนนคู่คี่กัน. น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ที่ถือจํานวนคู่หรือจํานวนคี่เป็นหลัก.
  39. คู่เคียงเรียงหมอน : น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิง ที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เรียงเคียงหมอน ก็ว่า.
  40. คู่ฉบับ : (กฎ) น. หนังสือหรือเอกสารที่ทําขึ้นเป็นต้นฉบับตั้งแต่ ๒ ฉบับขึ้นไป มีข้อความตรงกัน โดยฉบับหนึ่งเป็นคู่ฉบับของ อีกฉบับหนึ่ง.
  41. คู่ฉีก : (กฎ) น. ตั๋วแลกเงินเป็นสํารับ ซึ่งออกเป็น ๒ ฉบับหรือกว่านั้น มีข้อความตรงกันทุกฉบับ มีหมายเลขลําดับลงไว้ในตัวตราสารนั้นเอง และถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินฉบับเดียว.
  42. คู่ชีพ : ว. ประจําตัว ไปไหนไปด้วยกัน เช่น ม้าคู่ชีพ ดาบคู่ชีพ.
  43. คู่ทุกข์คู่ยาก : น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขและ ยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย).
  44. คู่บารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญบารมีกันมาก่อน และมาสนับสนุน เกื้อกูลกันในปัจจุบัน, สิ่งประดับบารมี.
  45. คู่บุญ : น. ผู้ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกันมาในชาติก่อน.
  46. คู่บุญบารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญกุศลกันมาในชาติก่อนและมา สนับสนุนเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เช่น พระนางมัทรีเป็นคู่บุญบารมี ของพระเวสสันดร.
  47. คู่ปรปักษ์ : น. ผู้ที่เป็นศัตรูกัน.
  48. คู่ปรับ : น. คู่ต่อสู้ที่เคยขับเคี่ยวกันมา, คู่ต่อสู้ที่พอวัดเหวี่ยงกัน.
  49. คู่ผสม : น. คําเรียกผู้เล่นกีฬาบางประเภทเช่นแบดมินตัน เทนนิส ที่ใช้ผู้ชายกับผู้หญิงเข้าคู่กัน.
  50. คู่ผัวตัวเมีย : น. ผัวเมียที่อยู่กันแบบผัวเดียวเมียเดียว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2758

(0.1483 sec)