Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้น , then ขน, ขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้น, 2356 found, display 1001-1050
  1. นิติกรรมอำพราง : (กฎ) น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมาย ให้บังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น.
  2. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  3. นิติสมมติ : (กฎ) น. ความที่สมมุติขึ้นในกฎหมาย.
  4. นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
  5. นิพนธ์ : น. เรื่องที่แต่งขึ้น, (ราชา) พระนิพนธ์, พระราชนิพนธ์. ก. ร้อยกรอง ถ้อยคํา, แต่งหนังสือ, (ราชา) ทรงนิพนธ์, ทรงพระนิพนธ์, ทรงพระราช นิพนธ์. (ป., ส. นิพนฺธ).
  6. นิพันธ์ : น. นิพนธ์, เรื่องที่แต่งขึ้น. ก. ร้อยกรองถ้อยคํา, แต่งหนังสือ. (ป., ส.).
  7. นิรมิต : [ระมิด] ก. นิมิต, เนรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา, บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
  8. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  9. นึก : ก. คิด เช่น นึกถึงความหลัง นึกถึงอนาคต นึกไม่ถึง, คิดขึ้นมาในฉับพลัน เช่น นึกขึ้นมาได้.
  10. นุ่งผ้าโจงกระเบน : ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้น ไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว.
  11. นูน : ว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.
  12. เน้นฟัน. : ว. ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น พูดเน้น.
  13. เนปทูเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๓ สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน. (อ. neptunium).
  14. เนมิตกนาม : น. ชื่อที่เกิดขึ้นตามเหตุ คือลักษณะและคุณสมบัติ เช่น พระสุคต แปลว่า ผู้ดําเนินดีแล้ว.
  15. เนรมิต : [ระมิด] ก. นิรมิต, สร้างหรือบันดาลด้วยอํานาจ ฤทธิ์ หรืออภินิหาร ให้บังเกิดเป็นขึ้นมีขึ้นโดยฉับพลัน. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
  16. เนิน : น. โคกขนาดใหญ่ที่ค่อยลาดสูงขึ้นจากระดับเดิม เช่น เนินดิน เนินเขา; เรียกเนื้อรอบฝ่ามือที่มีลักษณะนูนกว่าบริเวณอุ้งมือว่า เนิน เช่น เนิน พระศุกร์ เนินพระพุธ.
  17. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  18. โน : ก. นูนขึ้นเพราะถูกกระทบกระแทกเป็นต้น (มักใช้แก่หัวหรือหน้า) เช่น หัวโน หน้าโน.
  19. โนเบเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๒ สัญลักษณ์ No เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. nobelium).
  20. ไนลอน : น. สารประกอบอินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ขึ้น มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักผลิต ให้เป็นเส้นใยเล็ก ๆ ซึ่งนําไปฟั่นเป็นเส้นด้ายหรือเส้นเชือกที่มีความ เหนียวมาก หรือนําไปทอเป็นผ้าได้, เรียกสิ่งที่ทําจากเส้นใยนั้น เช่น ผ้าไนลอน เชือกไนลอน. (อ. nylon).
  21. บก : น. ส่วนของผิวพื้นโลกที่ไม่ใช่ทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น, ภาค พื้นดิน เช่น ทหารบก ทางบก, ที่ที่แห้ง, ที่ที่พ้นจากนํ้า, เช่น ขึ้นบก
  22. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  23. บทเฉพาะกาล : (กฎ) น. บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติให้ใช้เฉพาะ ในช่วงเวลาหนึ่งหรือกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้บังคับ กฎหมายนั้น.
  24. บทประพันธ์ : น. เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง.
  25. บรรเจิด : [บัน-] ก. เชิดสูงขึ้น, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
  26. บรรเทือง : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประเทือง) ก. ทําให้กระเตื้องขึ้น, พยุง, ทําให้ดีขึ้น.
  27. บรรพบุรุษ : ( น. ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคล ที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตายายขึ้นไป.
  28. บรรพมูล : (แบบ) น. วันขึ้น ๑ คํ่า และวันกลางเดือนทางจันทรคติ. (ส.).
  29. บรรษัท : [บันสัด] (แบบ; แผลงมาจาก บริษัท) น. หมู่, ผู้แวดล้อม; การรวมกัน เข้าหุ้นส่วนทําการค้าขาย; (กฎ) นิติบุคคลที่มีฐานะอย่างเดียวกับ บริษัทจํากัด ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ. (อ. corporation).
  30. บริคณห์สนธิ : (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัท จํานวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของ กฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
  31. บริษัทจำกัด : ( (กฎ) น. บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินจํานวน เงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  32. บริษัทมหาชนจำกัด : (กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจํากัดไม่เกิน จํานวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชําระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
  33. บวก : ก. เอาจํานวนหนึ่งรวมเข้ากับอีกจํานวนหนึ่งหรือหลายจํานวนให้ เป็นจํานวนเพิ่มขึ้นจํานวนเดียวกัน, เพิ่มเติมเข้าไป. ว. ที่เป็นไป ในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น มองในทางบวก; ในทางคณิตศาสตร์เรียกจำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ว่า จำนวน
  34. บวม : ก. อาการที่เนื้ออูมหรือนูนขึ้นเพราะอักเสบหรือฟกชํ้าเป็นต้น.
  35. บอน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด Colocasia esculenta (L.)Schott var. antiquorum (Schott) Hubb. et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทําให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูก เป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [C. bicolor (Ait.) Vent.] บอนเสวก (C. argyrites Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุก ซุกปากบอน.
  36. บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
  37. บังโกลน, บังโคลน : [-โกฺลน, -โคฺลน] น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกัน โคลนมิให้กระเด็นขึ้นมาเปื้อนรถ.
  38. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  39. บังหวน, บังหวนควัน : ก. ทําให้ควันหวนตลบขึ้น.
  40. บังเอิญ : ว. ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่คาดหมาย, เผอิญ.
  41. บัญชีเดินสะพัด : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล ๒ คนตกลงกันว่าสืบ แต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากําหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้ง ๒ นั้น หักกลบลบกัน และคงชําระแต่ส่วนที่เป็นจํานวนคงเหลือโดยดุลภาค.
  42. บัญญัติ : [บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ
  43. บัญญัติ ๑๐ ประการ. : ก. ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติ กฎหมาย. (ป. ปญฺ?ตฺติ).
  44. บัดนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ ตัวเจ้าหรือมิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  45. บัตรเทวดา : น. เรียกสิ่งที่ประกอบด้วยก้านกล้วย ๔ ก้านตั้งเป็นเสา ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียวตรงขึ้นไปแล้วรวบยอดปักแผ่นรูปเทวดาที่ จะสังเวย ระหว่างร่วมในเสาทํากระบะกาบกล้วยเรียงขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ สําหรับวางเครื่องสังเวยเทวดา, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตร ก็มี.
  46. บัตรพลี : [บัดพะลี] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะ สี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, เรียกเต็มว่า บัตรกรุงพาลี, ถ้าทำเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้ามีเสาธงประกอบ ตั้งแต่ ๔ เสาขึ้นไป เรียกว่า บัตรพระเกตุ, ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอด เรียกว่า บัตรนพเคราะห์. บัตรสนเท่ห์
  47. บันดล : ก. ทําให้บังเกิดขึ้น.
  48. บันดาล : ก. ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้นด้วยแรงอํานาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุญ บันดาล บันดาลโทสะ.
  49. บันได : น. สิ่งที่ทําเป็นขั้น ๆ สําหรับก้าวขึ้นลง, กระได ก็ว่า, โดยปริยาย หมายถึงบุคคลหรือสิ่งที่อาศัยใช้ไต่เต้าขึ้นไปสู่ฐานะหรือตําแหน่ง ที่สูงขึ้นไป.
  50. บันไดลิง ๑ : น. บันไดเชือกที่ตรึงติดเฉพาะส่วนบน ใช้ไต่ขึ้นที่สูงหรือ ไต่ลงที่ตํ่า, กระไดลิง ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2356

(0.1141 sec)