Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้น , then ขน, ขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้น, 2356 found, display 1101-1150
  1. ประนม : ก. ยกกระพุ่มมือ, ยกมือขึ้นกระพุ่ม.
  2. ประนีประนอมยอมความ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จ ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
  3. ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  4. ประภามณฑล : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป.
  5. ประเมินภาษี : ก. กําหนดจํานวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กําหนด จํานวนเงินที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ตามที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้.
  6. ประสิทธิ์ประสาท : [ปฺระสิดปฺระสาด] ก. อํานวยความสําเร็จให้เกิดมีขึ้น.
  7. ประสิทธิผล : [ปฺระสิดทิผน] น. ผลสําเร็จ, ผลที่เกิดขึ้น.
  8. ปรับ ๒ : [ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทําให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทําให้เรียบ, ทําให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทําผิด, ลงโทษ ให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษ ต้องชําระเงินตามจํานวนที่กําหนดไว้ในคําพิพากษาต่อศาล หรือ ตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.
  9. ปรับปรุง : ก. แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น.
  10. ปรางค์ : [ปฺราง] น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพด และมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์.
  11. ปริ่ม : [ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบ ตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดี ปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.
  12. ปริศนา : [ปฺริดสะหฺนา] น. สิ่งหรือถ้อยคําที่ผูกขึ้นเป็นเงื่อนงําเพื่อให้แก้ ให้ทาย. (ส. ปฺรศฺน).
  13. ปรือ ๑ : [ปฺรือ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Scleria poaeformis Retz. ในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นในนํ้า ใบยาว ๆ ใช้มุงหลังคาและสานเสื่อเป็นต้น, อีสานเรียก แวง. (๒) ดู กกช้าง.
  14. ปล้นทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วม กระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์.
  15. ปล่อง : [ปฺล่อง] น. ช่องหรือรูที่ทะลุขึ้นจากพื้นดิน เช่น ปล่องงู ปล่องหนู, สิ่งที่เป็นช่องกลวงคล้ายท่อตั้งตรงขึ้นไปสําหรับควันขึ้นหรือรับลม, ช่องที่ทะลุขึ้นจากถํ้า.
  16. ปล้อง ๒ : [ปฺล้อง] น. (๑) ชื่อหญ้าชนิด Hymenachne pseudointerrupta C. Muell. ในวงศ์ Gramineae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ต้นเป็นข้อ ๆ มีไส้ในระหว่างข้อเป็นปุยขาว. (๒) มะเดื่อปล้อง. (ดู มะเดื่อ).
  17. ปล้องไฉน : น. ส่วนหนึ่งของพระเจดีย์ต่อบัวกลุ่มขึ้นไป.
  18. ปลาแดง : น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด มีหนวด ในสกุล Kryptopterus วงศ์ Cyprinidae เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนที่ไม่มีครีบหลัง ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันแหลม ลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาล แดง ด้านข้างสีอ่อนกว่าจนเป็นสีขาวที่ท้อง เช่น ชนิด K. apogon ชะโอน เนื้ออ่อน นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก, ชนิด K. bleekeri นาง หรือ สะงั่ว ก็เรียก.
  19. ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง : (สํา) ก. พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา.
  20. ปลี : [ปฺลี] น. ช่อดอกของกล้วยที่ยังมีกาบหุ้มอยู่; กล้ามเนื้อที่มีรูปลักษณะ อย่างหัวปลี เช่น ปลีน่อง; ยอดเจดีย์หรือยอดมณฑปเหนือปล้องไฉน หรือบัวกลุ่มขึ้นไป.
  21. ปลุกผี : ก. นั่งบริกรรมคาถาจนกระทั่งผีลุกขึ้นมาหรือปรากฏกาย เพื่อใช้ให้ไปทําประโยชน์ตามที่ตนปรารถนา หรือเพื่อลนเอานํ้ามัน จากคางผีตายทั้งกลม ที่เรียกกันว่า น้ำมันพราย สำหรับดีดให้หญิง หลงรัก; รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์.
  22. ปลุกระดม : ก. เร้าใจและยุยงให้ประชาชนลุกฮือขึ้น.
  23. ปวารณา : [ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความ เต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนา ยอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).
  24. ปสพ : [ปะสบ] (แบบ) น. สัตว์เลี้ยง; ของที่เกิดขึ้น, ของที่มีขึ้น; ดอกไม้, ลูกไม้. (ป. ปสุ, ปสว).
  25. ปอด ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sphenoclea zeylanica Gaertn. ในวงศ์ Sphenocleaceae ขึ้นตามที่ลุ่มนํ้าขัง ลําต้นอ่อน ดอกสีเขียว ๆ ขาว ๆ ใช้ทํายาได้, ผักปุ่มปลา ก็เรียก.
  26. ป้อม ๑ : น. หอรบ; ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝน เช่น ป้อมตำรวจ.
  27. ปะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการ ปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า.
  28. ปะการัง : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จําพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็น กระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตาย ทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลําดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือก ปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.
  29. ปะรำ : น. สิ่งปลูกสร้างขึ้นชั่วคราว มีเสา หลังคาแบนดาดด้วยผ้าหรือใบไม้.
  30. ปักษ-, ปักษ์ : [ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดํา หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).
  31. ปัจจุคมน์ : น. การลุกขึ้นรับ, การต้อนรับ, (สําหรับผู้น้อยแสดงต่อผู้ใหญ่). (ป. ปจฺจุคฺคมน).
  32. ปัจจุบัน : น. เวลาเดี๋ยวนี้, ทันที, เวลาไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต เช่น เวลาปัจจุบัน, สมัยใหม่ เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน; เรียกโรคภัยที่เกิดขึ้นในทันที ทันใดว่า โรคปัจจุบัน เช่น โรคลมปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
  33. ปัจฉิมพรรษา : [ปัดฉิมมะพันสา, ปัดฉิมพันสา] น. ''พรรษาหลัง'', ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาหลัง คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, คู่กับ บุริมพรรษา หรือ ปุริมพรรษา. (ป. ปจฺฉิม + ส. วรฺษ).
  34. ปัญญาอ่อน : น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทําให้เด็กมีความสามารถ จํากัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ ควรเป็น. ว. มีระดับสติปัญญาด้อยหรือต่ำกว่าปรกติ.
  35. ปัดไถม : [-ถะไหฺม] (โบ) น. ฝ้าบาง ๆ ที่เกิดขึ้นทําให้เป็นมลทินหรือคลํ้ามัว.
  36. ปั้น ๑ : ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทําให้เป็นรูปตาม ที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.
  37. ปั้นน้ำเป็นตัว : ก. สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา.
  38. ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
  39. ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
  40. ปากแตร ๒ : น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Fistularia วงศ์ Fistulariidae หัวและ ลําตัวแบนลงแต่แคบและยาวมาก ตาโต ปากเป็นท่อยาว มีช่อง ปากขนาดเล็กอยู่ปลายสุดเชิดขึ้นดูคล้ายแตร ลําตัวไม่มีเกล็ด ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบหางเป็นแฉกมี เส้นยาวคล้ายแส้ยื่นออกจากกึ่งกลางครีบ ลําตัวทั่วไปรวมทั้งหัว และครีบสีนํ้าตาลแดง ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, สามรส ก็เรียก.
  41. ปากเป็ด ๒ : น. ชื่องูหลามชนิด Python curtus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วนสั้น สีแดงหรือส้ม มีลายดําและเทา อาศัยตามโพรงไม้โพรงดิน หากิน ตามพื้นดิน ตามปรกติไม่ขึ้นต้นไม้ พบทางภาคใต้ของประเทศไทย และมาเลเซีย ไม่มีพิษ.
  42. ปากหอยปากปู : ว. ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย; ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย).
  43. ป่าชัฏ : น. ป่าที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น โดยมากเป็นไม้เลื้อยและ ไม้หนาม.
  44. ป่าชายเลน, ป่าเลน : น. ป่าที่อยู่ตามชายทะเลที่มีเลนและนํ้าทะเล ขึ้นถึง ต้นไม้ในป่าประเภทนี้มักมีรากงอกอยู่เหนือพื้นดินเพื่อคํ้า ยันลําต้น โดยมากเป็นไม้โกงกาง แสม และลําพู.
  45. ปาฏิบท : (แบบ) น. วันขึ้นคํ่าหนึ่ง หรือแรมคํ่าหนึ่ง. (ป.).
  46. ปาฏิหาริย์ : [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
  47. ป่าดง : น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นทึบ.
  48. ปาดหาว : น. ลมที่พาใบเรือตลบขึ้นปลายเสา.
  49. ปาติโมกข์ : น. คัมภีร์ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ, ชื่อบาลีที่ประมวล พุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหม จริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวัน อุโบสถ. (ป.).
  50. ป่าทึบ : น. ป่าที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2356

(0.1546 sec)