Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้น , then ขน, ขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้น, 2356 found, display 1651-1700
  1. ลื้น, ลื้น ๆ : ว. เจ็บอาย, เศร้า, สลด, เช่น ว่าแล้วหน้าไม่ลื้น; บวมหรือนูนน้อย ๆ เช่น แขนถูกแมลงต่อยผิวลื้นขึ้นมา เนื้อลื้น ๆ จะเป็นฝี.
  2. ลืมตัว : ก. ขาดสติไปชั่วคราว, เผลอตัวไปชั่วคราว, เช่น เวลาโกรธ เขาลืมตัวไม่กลัวตาย; ลืมตน, ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, เช่น เมื่อเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา มีคนประจบสอพลอมาก ทำให้เขา ลืมตัว.
  3. ลืมตาอ้าปาก, ลืมหน้าอ้าปาก : ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียม เพื่อน เช่น เดี๋ยวนี้เขาลืมตาอ้าปากได้แล้ว เขาลืมหน้าอ้าปากได้แล้ว, เงยหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
  4. ลุก : ก. เคลื่อนขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน เช่น ลุกจากเก้าอี้ ลุกจากที่นอน, ตั้งขึ้น เช่น ขนลุก; เคลื่อนออกจาก เช่น ลุกแต่สุโขทัย. (จารึกสยาม); ไหม้โพลงขึ้น เช่น ไฟลุก.
  5. ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
  6. ลุ่ม : ว. ตํ่า (ใช้แก่ลักษณะพื้นดินซึ่งรับนํ้าที่ไหลท่วมได้หรือนํ้าขึ้นถึง) เช่น ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม, ตรงข้ามกับ ดอน.
  7. ลูกเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, เก็บ หรือ ทางเก็บ ก็ว่า.
  8. ลูกคัน : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
  9. ลูกทอย : น. ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นต้นเพื่อเหยียบขึ้นไป, เหล็กแหลมหรือตะปูที่ตอกเข้ากับหุ่นขี้ผึ้งให้ติดกับแกนในสำหรับ พยุงพิมพ์ดินให้คงที่ในการหล่อโลหะเช่นพระพุทธรูป.
  10. ลูกบันได : น. ขั้นบันไดชนิดที่ชักขึ้นลงหรือยกไปมาได้, ลูกกระได ก็ว่า.
  11. ลูกลม ๒ : น. ชื่อหญ้าชนิด Spinifex littoreus Merr. ในวงศ์ Gramineae ชอบขึ้น ตามชายทะเล ช่อดอกกลมกลิ้งไปตามลม.
  12. ลูกเลื่อน : น. อุปกรณ์ในปืนชนิดมีแหนบกระสุน อยู่ในลำกล้อง มีหน้าที่กดกระสุนปืนไม่ให้ตรงลำกล้อง เมื่อขึ้นไกจะดันกระสุน ปืนให้เลื่อนขึ้นและเข้าสู่ลำกล้อง.
  13. ลูกโลก : น. หุ่นจําลองของโลกที่ทําขึ้นเพื่อใช้แสดงรูปทรงสัณฐาน ของโลก มีแผนที่แสดงตําแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลก ทำด้วยกระดาษ โลหะ หรือพลาสติก เป็นต้น.
  14. ลูกหนู ๒ : น. ส่วนที่นูนขึ้นบนกล้ามเนื้อเวลาเอามือดึงหรือฟันที่ แขน, ต่อมนํ้าเหลืองที่โตขึ้นและคลําได้เป็นก้อนบริเวณใต้หูใต้ ขากรรไกรล่างและใต้คาง.
  15. ลูกหมาก ๑ : น. ชื่อต่อมในเพศชาย รูปร่างคล้ายเนื้อในของผลหมาก อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้นใต้กระเพาะปัสสาวะ ทําหน้าที่ผลิต นํ้าเลี้ยงเชื้ออสุจิบางส่วน; ส่วนใกล้โคนลึงค์สุนัขตัวผู้ที่พองขึ้นได้ เพื่อให้ยึดติดกับอวัยวะเพศของตัวเมียในขณะผสมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่า ติดเก้ง.
  16. ลูกหีบ : น. เครื่องหีบอ้อยรูปกลมเป็นเฟืองอย่างเครื่องจักร; สิ่งซึ่ง มีลักษณะคล้ายหีบใช้สําหรับรองก้าวขึ้นก้าวลงอย่างขั้นบันได.
  17. เล้ง : (ปาก) ก. ขึ้นเสียงดัง เช่น เมื่อเช้าถูกเจ้านายเล้ง.
  18. เล่นคำ : ก. ใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำ หรือซ้ำอักษรให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ ยิ่งขึ้น เช่น ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน. (ลอ).
  19. เลหลัง : [–หฺลัง] ก. ขายสิ่งของโดยวิธีที่ผู้ต้องการประมูลราคากันให้สูงขึ้น โดยลําดับ ใครให้ราคาสูงสุดก็เป็นผู้ซื้อได้; ขายทอดตลาด. (โปรตุเกส = leilao).
  20. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  21. เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  22. เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
  23. เลิกคิ้ว : ก. ยกคิ้วขึ้นแสดงความประหลาดใจเป็นต้น.
  24. เลี้ยงต้อย : ก. เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนเติบโตแล้วก็ยกฐานะขึ้น เป็นสามีหรือภรรยาของผู้เลี้ยงเอง.
  25. เลี่ยน ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Melia azedarach L. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ในการ ก่อสร้าง, เกรียน ก็เรียก.
  26. เลียบ ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ficus lacor Buch. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นกร่าง มักขึ้นบนต้นไม้อื่น ทําให้ต้นไม้นั้นตาย ใบและผลอ่อนกินได้.
  27. เลือก ๑ : ก. คัดสิ่งที่มีจํานวนมากกว่าหนึ่งขึ้นไปเพื่อเอาไว้หรือเอาออกตาม ต้องการ เช่น เลือกผู้ใหญ่บ้าน เลือกหัวหน้าชั้น.
  28. เลือดเดือด : ว. โมโหฉุนเฉียวขึ้นมาทันทีทันใด.
  29. เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
  30. แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
  31. แล้ว : ว. ลักษณะอาการกระทําใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้วหรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทําอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กิน แล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
  32. แล้วก็แล้วไป : ว. อาการที่พูดปลอบใจหรือให้สติว่า เมื่อเหตุการณ์ สิ้นสุดหรือยุติลงแล้วก็ไม่ควรเก็บมาเป็นกังวลหรือรื้อฟื้นขึ้นมาอีก.
  33. โลกาภิวัตน์ : น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลก ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจาก สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนา ระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
  34. โลดเต้น : ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหนเพราะความดีอกดีใจ เป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโดด เป็น กระโดดโลดเต้น.
  35. ไล่กวด : ก. วิ่งให้เร็วขึ้นเพื่อให้ทัน เช่น ตำรวจไล่กวดผู้ร้าย.
  36. ไล่เบี้ย : ก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชําระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลําดับ, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําในลักษณะเช่นนั้น.
  37. วรรณกรรม : น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัย รัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น ทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์ด้วย.
  38. วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
  39. วัก ๑ : ก. เอาอุ้งมือตักน้ำหรือของเหลวขึ้นมาค่อนข้างเร็ว เช่น ใช้มือวักน้ำ กิน เอามือวักน้ำโคลนสาด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น วักควัน.
  40. วัฏจักร : น. ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์หรือกิจกรรมชุดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นและดําเนินติดต่อกันไปอย่างมีระเบียบจนจบลง ณ จุดเริ่มต้นนั้นอีก เช่น วัฏจักรแห่งฤดูกาล วัฏจักรแห่งพืช.
  41. วัด ๒ : ก. ตวัดขึ้น เช่น วัดเบ็ด, เหวี่ยงแขนหรือขาไปโดยแรง เช่น นอนดิ้นวัดแขนวัดขา.
  42. วัน ๑ : น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึง เที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ,เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทําการตามที่ได้กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือ ระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทําการตามปรกติของกิจการนั้นแล้ว แต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม).
  43. วันเถลิงศก : น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปรกติตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
  44. วันเพ็ญ : น. วันกลางเดือนนับตามจันทรคติ คือวันที่พระจันทร์ขึ้นเต็มดวง.
  45. วันสงกรานต์ : น. วันเทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่ง กำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน.
  46. วันออกพรรษา : น. วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก. วันอัฐมี [อัดถะ] น. วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖.
  47. วันอุโบสถ : น. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาด ก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็น วันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.
  48. วัวหายล้อมคอก : (สํา) น. ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน, เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข.
  49. วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  50. ว่ากลอนสด : ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | [1651-1700] | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2356

(0.1400 sec)