Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้น , then ขน, ขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้น, 2356 found, display 851-900
  1. ถอดความ : ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น.
  2. ถอน : ก. ฉุดขึ้น, ดึงขึ้น, เช่น ถอนฟัน ถอนเสา ถอนหญ้า; บอกเลิก เช่น ถอนประกัน ถอนฟ้อง ถอนหมั้น; เอาตัวออกจากพันธะ เช่น ถอนตัว; ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ถอนฉุน.
  3. ถ่านไฟเก่า : (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ ง่ายขึ้น.
  4. ถ่านไฟฉาย : น. เซลล์ไฟฟ้าชนิดปฐมภูมิ มีรูปทรงกระบอกขนาด เล็กภายในบรรจุผงคาร์บอน แมงกานีสไดออกไซด์ ซิงก์คลอไรด์ แอมโมเนียมคลอไรด์ ซึ่งผสมนํ้าให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกหุ้ม อยู่รอบแท่งคาร์บอนซึ่งเป็นขั้วบวก ภายนอกหุ้มด้วยกระบอก สังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ ตอนปากของกระบอกสังกะสีมีครั่งหุ้มปิด ไว้ เหลือแต่หมวกโลหะที่ครอบแท่งคาร์บอนเท่านั้นที่โผล่พ้น พื้นครั่งขึ้นมา ใช้ใส่ในไฟฉาย วิทยุ เป็นต้น.
  5. ถีบจักร : ก. เย็บผ้าด้วยจักรโดยกดเท้าลงบนตะแกรงจักรให้ตะแกรง กระดกขึ้นลงให้ล้อจักรหมุน. น. เรียกหนูชนิดหนึ่งตัวเล็กซึ่งเลี้ยงไว้ ให้เข้าไปถีบในเครื่องหมุนว่า หนูถีบจักร.
  6. ถีบตัว : ก. พุ่งตัวหรือดันตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ว่าวถีบตัวขึ้นสูง, เลื่อนฐานะขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เขาทำงานหนักจน ถีบตัวอยู่ในขั้นเศรษฐีได้ในเวลาไม่กี่ปี.
  7. ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
  8. ถือปูน : ก. เอาปูนโบกอิฐหรือสิ่งอื่นที่ก่อขึ้น.
  9. เถร, เถร-, เถระ : [เถน, เถระ-] น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกําหนดว่า พระมีพรรษา ตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).
  10. เถรภูมิ : [เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุ เป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
  11. เถลิก : [ถะเหฺลิก] ว. เถิก, เลิกขึ้นไป, เช่น ขากางเกงเถลิกขึ้นไป.
  12. เถลิงศก : น. วันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้ องศาหนึ่งแล้ว เรียกว่า วันเถลิงศกขึ้นจุลศักราชใหม่ อยู่ต่อจากวันเนา ปรกติตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่.
  13. เถาดาน : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นลําแข็งตั้งขึ้นที่ยอดอกแล้ว ลามลงไปถึงท้องน้อย ทําให้เจ็บปวด จุกเสียด แน่นหน้าอก.
  14. เถิก : ว. เถลิก, ลักษณะของหน้าผากที่ผมถอยร่นสูงขึ้นไปหรือขึ้นอยู่สูงกว่า ปรกติ.
  15. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  16. ทด : ก. กันไว้, กั้นไว้, ทําให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทํานบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า; แทน, เป็นคําใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็น ตอบแทน, บางทีใช้ ทด คําเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.
  17. ทธิ : [ทะทิ] (แบบ) น. นมส้ม คือนมที่ขึ้นฝาแปรสภาพเป็นนมเปรี้ยว อยู่ในจําพวกเบญจโครส. (ป., ส.).
  18. ท้น : ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวม เสื้อคับจนเนื้อท้น.
  19. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  20. ทรงมัณฑ์ : [ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คําว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคํา มณฑป).
  21. ทรพิษ : น. ชื่อโรคระบาด มักขึ้นตามตัว เป็นเม็ดเล็ก ๆ ดาษทั่วไป เรียกว่า ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า.
  22. ทรมาน : [ทอระมาน] ก. ทําให้ลําบาก, ทําทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทําให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้น ด้วยคํานี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).
  23. ทรวด : [ซวด] (โบ) ก. นูนขึ้น เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิทรวดเสมออก. (ม. คําหลวง ทศพร).
  24. ทรัพยสิทธิ : [ซับพะยะสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้น ได้แต่ด้วยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิ ครอบครอง กรรมสิทธิ์.
  25. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ : (กฎ) น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์ อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจาก ที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผล ที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้น.
  26. ทรัพยากรธรรมชาติ : น. ทรัพย์อันเกิดขึ้นเองหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ.
  27. ทราบเกล้าทราบกระหม่อม : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านาย ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป), ใช้ย่อว่า ทราบเกล้าฯ.
  28. ทราบฝ่าพระบาท : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้น พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรมขึ้นไปจนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า).
  29. ทฤษฎี : [ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาด เอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺ??). (อ. theory).
  30. ทวน ๑ : น. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อ ขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทําด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสําหรับ ยึดรูปพรรณอีกข้างหนึ่งสําหรับยึดกับฐานที่ทําไว้โดยเฉพาะเพื่อ นั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่ง ติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำ ไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลาย คันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสําหรับรองตะคัน อบนํ้าหอม.
  31. ทวี : [ทะวี] ก. เพิ่มขึ้น, มากขึ้น, เช่น งานทวีขึ้น. (ป., ส. ทฺวิ).
  32. ทวีธาภิเษก : น. ชื่อพระราชพิธีการสมโภชที่รัชกาลที่ ๕ ได้ครอง ราชสมบัติยืนนานมาเป็น ๒ เท่าของรัชกาลที่ ๔, เรียกเหรียญที่จัด ทําขึ้นเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ว่า เหรียญทวีธาภิเษก.
  33. ทหารกองประจำการ : (กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและ ได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.
  34. ทองขาว : (โบ) น. โลหะสีขาวแกมเทา บุเป็นแผ่นรีดเป็นลวดได้ อาจหมายถึงโลหะนิกเกิล หรือโลหะแพลทินัม ก็ได้; ส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งของจานจ่ายไฟในเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่เป็น ทางเดินของกระแสไฟฟ้าแรงตํ่า และทําให้กระแสไฟฟ้าแรงตํ่า ขาดวงจรเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่คอยล์ (coil) เป็นผลให้ มีประกายไฟฟ้าขึ้นที่ปลายเขี้ยวของหัวเทียนในจังหวะที่ถูกต้อง.
  35. ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
  36. ท้องแบน : น. ชื่อเรือชนิดหนึ่งมีท้องแบน กินนํ้าตื้น สําหรับลําเลียง ทหารหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นบก.
  37. ท้องพลุ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Machrochirichthys machrochirus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาดาบลาว เว้นแต่มีเส้นข้างตัว อกเชิดขึ้น และต่อเนื่องกับคางซึ่งเงยขึ้นไปอีก ฟันเล็ก ด้านหลังลําตัวสีเขียว อมเหลือง ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน พบตามแม่นํ้าและแหล่งนํ้า ขนาดใหญ่ทั่วไป, ดาบ หรือ ฝักพร้า ก็เรียก; ชื่อนี้ยังใช้เรียกปลา แปบบางชนิด. (ดู แปบ๒).
  38. ท้องพอง : ว. ท้องอืด, ใช้เข้าคู่กับคํา ท้องขึ้น เป็น ท้องขึ้นท้องพอง.
  39. ท้องเฟ้อ : ว. อาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อยและ เป็นพิษ.
  40. ทองหยิบ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่แดงตีให้ขึ้นเล็กน้อย หยอด เป็นแผ่นเล็ก ๆ ในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ ตั้งไฟให้สุก แล้วช้อน ออกมาหยิบเป็นกลีบ ๆ ๕ หรือ ๗ หยิบ ใส่ถ้วยตะไลทิ้งไว้ให้ คงรูป, ลักษณนามว่า ดอก.
  41. ท้องอัสดงคต : น. รูปบัวประกอบฐานผนังโบสถ์ หัวท้ายงอนขึ้น. (รูปภาพ ท้องอัสดงคต)
  42. ท้องอืด : ว. อาการที่ท้องขึ้นทําให้รู้สึกอึดอัด.
  43. ทอด ๑ : น. ระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง เช่น นอนทอดเดียวตลอดคืน ขึ้นรถ ๒ ทอด, ระยะเดียวหรือหลายระยะต่อเนื่องกัน เช่น มรดก ตกทอด ส่งต่อกันเป็นทอด ๆ.
  44. ทอย ๒ : ก. กิริยาที่ตอกลูกประสักหรือตะปูเป็นต้นให้ถอยออกมาจากที่เดิม. ว. ทยอยติด ๆ กันไปไม่ขาดระยะ เช่น เดินทอย ๆ กันเข้าไป. น. เรียก ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นระยะ ๆ เพื่อเหยียบขึ้นไปว่า ลูกทอย, เรียกกิริยาที่ตอกลูกทอยอย่างนั้นว่า ตอกทอย.
  45. ทอแสง : ก. ฉายแสงอ่อน ๆ ขึ้นมา เช่น ตะวันทอแสง.
  46. ทะ ๑ : คําใช้นําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปล อย่างเดียวกับคําเดิมนั้น หรือเป็นคําซํ้าซึ่งคําหน้าเสียงกร่อน ไป เช่น ทะทัด ก. สะบัด. ทะทา น. นกกระทา. ทะทาย ก. จับ, ถือ. ทะท่าว ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบ, เติม. ทะท้าว ว. อาการที่ตัวสั่นเทา ๆ. ทะทึก ว. อาการที่ใจเต้นตึก ๆ.
  47. ทะนุบำรุง : ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทะนุบํารุงบิดามารดา ทะนุบํารุง บุตรธิดา, ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทะนุบํารุงวัด, ธํารงรักษาไว้ เช่น ทะนุบํารุงศาสนา ทะนุบํารุงบ้านเมือง, ทํานุบํารุง ก็ว่า.
  48. ทะยาน : ก. เผ่นขึ้นไป เช่น เครื่องบินทะยานขึ้นสู่ฟ้า, โผนเข้าใส่ เช่น ทะยานเข้าสู้.
  49. ทะลึ่ง : ก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ทะลึ่งขึ้น; แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควร ในเรื่องที่มิใช่ธุระของตัวหรือในเวลาที่เขาไม่ต้องการ, แสดงกิริยา หรือวาจาอาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง.
  50. ทะลุกลางปล้อง : ก. พูดสอดขึ้นมาในเวลาที่เขากําลังพูดกันอยู่.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2356

(0.1362 sec)