Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้น , then ขน, ขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้น, 2356 found, display 2051-2100
  1. อุ่นอกอุ่นใจ : ว. มีความรู้สึกสบายอกสบายใจและมีความมั่นใจขึ้น เช่น อยู่ใกล้ ๆ ผู้ใหญ่รู้สึกอุ่นอกอุ่นใจ.
  2. อุบัติเหตุ : น. เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด, ความบังเอิญเป็น.
  3. อุบัติ, อุบัติ : [อุบัด, อุบัดติ] น. การเกิดขึ้น, กําเนิด, การบังเกิด; รากเหง้า, เหตุ. ก. เกิด, เกิดขึ้น. (ป. อุปฺปตฺติ; ส. อุตฺปตฺติ).
  4. อุโบสถ ๑ : [อุโบสด] น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทําสังฆกรรมเช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียก ย่อว่า โบสถ์; (ปาก) เรียกวันพระว่า วันอุโบสถ; เรียกการแสดง พระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทํา อุโบสถ; เรียกการรักษาศีล ๘ ของคฤหัสถ์ว่า การรักษาอุโบสถ. (ป. อุโปสถ; ส. อุโปษธ, อุปวสถ).
  5. อุปปาติกะ : [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).
  6. อุปมาโวหาร : น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ.
  7. อุปโลกน์ : [อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นเป็น เช่น อุปโลกน์ให้เป็น หัวหน้า, อปโลกน์ ก็ว่า. (ป. อปโลกน).
  8. อุ้ม : ก. โอบยกขึ้น, ยกขึ้นไว้กับตัว, เช่น อุ้มเด็ก; หอบไป, พาไป, เช่น เมฆอุ้มฝน. น. ชื่อวัยของเด็กก่อนวัยจูง เรียกว่า วัยอุ้ม.
  9. อูด ๒ : ก. นูนขึ้น เช่น นํ้าอูด, นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินอูด.
  10. อูม : ว. โป่งพอง เช่น หน้าอูม, เบ่งนูนขึ้น เช่น บวมอูม.
  11. อู่ลอย : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายแพ เคลื่อนที่ได้ และ สามารถปรับระดับให้จมหรือลอยอยู่ในระดับลึกที่ต้องการ เมื่อนํา เรือเข้าอู่แล้วปรับระดับอู่ให้ลอยตัวยกเรือขึ้นพ้นนํ้าเพื่อซ่อมท้องเรือ ภายนอก.
  12. เอกระ : [เอกกะหฺระ] (ปาก) ก. ถือตัวไม่กลัวใคร, ไม่ขึ้นแก่ใคร.
  13. เอกราช : [เอกกะราด] ว. เป็นอิสระแก่ตน, ไม่ขึ้นแก่ใคร.
  14. เอกสารราชการ : [เอกกะ] (กฎ) น. เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทํา ขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และหมายความรวมถึงสําเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย.
  15. เอดส์ : น. กลุ่มอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกัน เสื่อมเหตุไวรัส HIV, กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม ก็ว่า. (อ. acquired immune deficiency syndrome, acquired immunodeficiency syndrome, AIDS).
  16. เอ๋ย : ว. คําลงท้ายชื่อหรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความ เอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คําที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคํากลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ย กาดํา รถเอ๋ยรถทรง.
  17. เออ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคําที่ผู้ใหญ่ ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คําที่เปล่งออกมา แสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.
  18. เอ่อ : ว. เริ่มไหลขึ้น, มีระดับสูงขึ้น, (ใช้แก่นํ้าในแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น).
  19. เอ้อระเหย : ว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย. น. คําขึ้นต้นเพลงพวงมาลัย.
  20. เอางาน : ก. แสดงความเคารพเจ้านายชั้นสูงโดยแบมือเอาสันมือ ลงแล้วกระดกมือขึ้นน้อย ๆ ก่อนรับของ (ใช้แก่การรับของจาก เจ้านายชั้นสูงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม).
  21. เอือด : ว. ชื้น เช่น เกลือเอือด ผ้าเอือด. (ถิ่นอีสาน) น. ดินที่มีธาตุเกลือ ปนอยู่และขึ้นเป็นขุยขาวที่หน้าดิน.
  22. แอนติเจน : น. สารที่สามารถกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีขึ้นได้. (อ. Antigen).
  23. แอนติบอดี : น. สารที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่น ๆ สร้างขึ้น เมื่อได้รับการ กระตุ้นโดยสารที่แปลกปลอมซึ่งเรียกว่า แอนติเจน. (อ. antibody).
  24. แอลกอฮอล์ : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหย ง่าย มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกัน สั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภท แป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะ ออกฤทธิ์ทําให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย และ เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. (อ. alcohol, ethyl alcohol).
  25. แอลฟา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาค แอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับ ฉากเรืองแสงจะทําให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. (อ. alpha rays).
  26. แอ่ว : (ถิ่นอีสาน) ก. พูดคุย (ใช้แก่หนุ่มสาว); (ถิ่นพายัพ) เที่ยว, ถ้า ไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เรียกว่า แอ่วสาว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แอ่ว เช่น แอ่วลาว แอ่วเคล้าซอ.
  27. โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.
  28. โอ ๔ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่านึกอะไรขึ้นมาได้ หรือแสดงว่า สลดใจเป็นต้น.
  29. โองโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
  30. โอปปาติกะ : [โอปะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, อุปปาติกะ ก็เรียก. (ป.).
  31. โอม : น. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามา ใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือ เป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคํา ขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).
  32. โอละพ่อ : ว. กลับตรงกันข้าม อย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ. น. คําขึ้นต้น ที่พวกระเบ็งร้องและรําในการมหรสพของหลวงเช่นพระราชพิธี โสกันต์.
  33. โอลิมปิก : น. เรียกการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศซึ่งจัดให้มีขึ้นทุก ๆ ๔ ปีในประเทศต่าง ๆ ตามแต่จะตกลงกันว่า กีฬาโอลิมปิก. (อ. Olympic games).
  34. ไอ ๒ : ก. อาการที่ลมพุ่งขึ้นมาจากปอดโดยแรง เพื่อขับสิ่งที่อาจเป็น อันตรายออกมา ทําให้เกิดเสียงพิเศษจากลําคอ.
  35. ไอน์สไตเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๙ สัญลักษณ์ Es เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นัก วิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. einsteinium).
  36. ขน ๒ : ก. เอาสิ่งของเป็นต้นจํานวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยบรรทุก หาบ หาม หรือด้วยวิธีอื่น.
  37. ขนทรายเข้าวัด : ก. ทําบุญกุศลโดยวิธีนําหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
  38. ขนสัตว์ : น. เรียกผ้าที่ทอจากขนของสัตว์บางชนิดเช่นแกะว่า ผ้าขนสัตว์.
  39. ขนหย็อง : น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนก ที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
  40. ขนหน้าแข้งไม่ร่วง : (สํา) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่ คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ).
  41. ปล้องขน : น. หญ้าปล้องขน. (ดู ขน๓).
  42. ขื่น ๑ : ว. รสฝาดเฝื่อนชวนให้คลื่นไส้ ไม่ชวนกิน; (ถิ่น-พายัพ) ฉุน.
  43. ขุ่น : ว. มีลักษณะมัว ไม่ใส ไม่ชัดเจน.
  44. เข่น : ก. ทุบหรือตีอย่างแรงเพื่อให้แบนเป็นต้น เช่น เข่นมีด. เข่นเขี้ยว ก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  45. แข่น, แข้น : ก. ข้นจวนแห้งจวนแข็ง เช่น เลือดแข้น. ว. แข็ง เช่น อาหารแข้น.
  46. แขยงแขงขน : ก. สะอิดสะเอียนจนขนลุก.
  47. จองหองพองขน : ว. เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่.
  48. มารหัวขน : [มาน-] (ปาก) น. ลูกที่อยู่ในท้องซึ่งยังไม่ปรากฏว่าใคร เป็นพ่อ หรือไม่มีใครรับว่าเป็นพ่อ.
  49. ลูกขนไก่ : (ปาก) น. ลูกแบดมินตัน.
  50. แผงคอ : น. แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อ ราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบเอกชนที่ขอเข้าเฝ้า หรือเครื่องแบบ นิสิตชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัยเป็นต้น; (โบ) แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบทางราชการ; ขน ที่สันคอม้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | [2051-2100] | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2356

(0.1341 sec)