Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั้นเยี่ยม, เยี่ยม, ชั้น , then ชน, ชนยยม, ชั้น, ชั้นเยี่ยม, ยยม, เยี่ยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั้นเยี่ยม, 9096 found, display 5351-5400
  1. พุ่ง : ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป; (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
  2. พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
  3. พุทธศาสนิกชน : [พุดทะสาสะนิกกะชน] น. ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา.
  4. พุทธาวาส : น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกําแพงกันไว้ต่างหากจาก ส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้าง ขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
  5. พุ่มดอกไม้ : น. ดอกไม้ที่จัดบนพานให้มีลักษณะเป็นพุ่มยอดแหลม สำหรับบูชาพระเป็นต้น นิยมใช้ดอกไม้สด เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอกผกากรอง.
  6. พู่ : น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชู ก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า.
  7. พู ๑ : น. เรียกสิ่งที่มีลักษณะนูนออกมา เช่น พูทุเรียน.
  8. พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ : (สํา) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่อง เหมือนล่องนํ้า. (ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.
  9. พูน : ก. เพิ่มให้สูงขึ้นให้มากขึ้น เช่น พูนดิน. ว. เต็มจนนูน เช่น ตักข้าว จนพูนจาน.
  10. เพ็ง : ว. เต็ม เช่น วันเพ็ง. (เลือนมาจาก เพ็ญ).
  11. เพ่ง : ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะ อารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
  12. เพ็จ ๒ : ก. เผล็ด, ผลิ, เช่น พิเภทเพ็จผกากาญจน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  13. เพชร, เพชร : [เพ็ด, เพ็ดชะ] น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอย อื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม; โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  14. เพชรลูก : น. เพชรที่เจียระไนให้มีเหลี่ยมมุมลักษณะต่าง ๆ เช่น เหลี่ยมเกสร เหลี่ยมกุหลาบ.
  15. เพณี : น. เวณิ, ผมซึ่งเกล้าไว้, สายที่ถัก เช่น อันว่าสร้อยสังวาลเพณี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. เวณิ).
  16. เพดาน ๑ : น. ส่วนที่สูงที่สุดของห้องเป็นต้น ไม่ว่าจะมีฝ้าหรือไม่ก็ตาม, ถ้าไม่มีฝ้า หมายถึงส่วนสูงสุดถึงหลังคา, ถ้ามีฝ้า หมายถึงฝ้า; โดยปริยายหมายความว่า ระดับสูงสุด เช่น เพดานค่าเล่าเรียน. (ป., ส. วิตาน).
  17. เพ้ย : ว. คําขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คํารับในเวลา พากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.
  18. เพรง : [เพฺรง] ว. ก่อน, เก่า, เช่น แต่เพรงกาล.
  19. เพรา ๑ : [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
  20. เพราะ ๑ : ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.
  21. เพริด : [เพฺริด] ก. กระเจิดกระเจิง, เตลิดไป, เช่น วัวเพริด ใจเพริด.
  22. เพรียง ๒ : [เพฺรียง] น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังประเภทสัตว์ขาปล้อง มีหลายชนิดในอันดับ Thoracica เปลือกหุ้มตัวมี ๖ แผ่น เรียงซ้อน กัน รูปร่างของเปลือกมีหลายแบบ เช่น รูปกรวยควํ่า มีปากเปิดด้าน บน เปลือกบริเวณปากบางและคม เกาะอยู่ตามหินและวัสดุอื่น ๆ ที่นํ้าท่วมถึง เช่น ชนิด Balanus amphitrite ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่ฐานประมาณ ๑ เซนติเมตร.
  23. เพรียง ๓ : [เพฺรียง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Teredinidae ลําตัวยาวอ่อนนุ่ม เปลือกเล็กมากคลุมเฉพาะด้านหัว เจาะกินเนื้อไม้ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Lyrodus pedicellatus.
  24. เพรียว : [เพฺรียว] ว. เปรียว, ฉลวย, เรียว, เช่น รูปร่างเพรียว เรือเพรียว.
  25. เพรื่อ : [เพฺรื่อ] ว. เรี่ยราด เช่น น้ำหกเพรื่อ, เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็น กิจจะลักษณะ, เช่น พูดเพรื่อ, พร่ำเพรื่อ ก็ว่า.
  26. เพลงเสมอ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และ การเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.
  27. เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  28. เพลา ๔, เพลา ๆ : [เพฺลา] ว. เบาลง, เบาพอประมาณ, เช่น เพลาไม้เพลามือ เพลา ๆ หน่อย.
  29. เพลาะ ๑ : น. เรียกคูที่ขุดบังข้าศึกเมื่อเวลารบว่า สนามเพลาะ. ก. เอาริมต่อ ให้ติดกัน, ติดต่อกัน, เช่น เพลาะผ้า คือเอาผ้า ๒ ผืนเย็บข้างติดกัน ให้กว้างออก, เรียกผ้าที่เย็บข้างติดกันเช่นนั้นว่า ผ้าเพลาะ.
  30. เพลิง : [เพฺลิง] น. ไฟ เช่น เพลิงไหม้บ้าน ดับเพลิง. (ข. เภฺลิง).
  31. เพลิน, เพลิน ๆ : [เพฺลิน] ก. อาการที่ปล่อยอารมณ์อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชอบใจจน ลืมนึกถึงสิ่งอื่น เช่น ทำงานเพลิน ฟังดนตรีเพลิน กินเล่นเพลิน ๆ.
  32. เพลีย : ก. อ่อนแรง, ถอยกําลัง, มีอาการเมื่อยล้า เช่น เดินจนเพลีย ทำงาน มาก ๆ รู้สึกเพลีย.
  33. เพศ : น. รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย; (ไว) ประเภทคําในบาลีและ สันสกฤตเป็นต้น, ตรงกับ ลิงค์ หรือ ลึงค์; เครื่องแต่งกาย; การ ประพฤติปฏิบัติตน เช่น สมณเพศ. (ป. เวส; ส. เวษ).
  34. เพส : ว. ยี่สิบ เช่น เบญจเพส ว่า ยี่สิบห้า. (ป. วีส).
  35. เพสลาด : [เพสะหฺลาด] ว. ไม่อ่อนไม่แก่ (มักใช้แก่ใบไม้บางชนิดที่ใช้เป็น อาหาร เช่น ใบชะพลู ใบทองหลาง).
  36. เพ่อ : ว. ใช้ประกอบหลังคํา อย่า เป็น อย่าเพ่อ หมายความว่า ห้ามไม่ให้ กระทําในขณะนั้น เช่น อย่าเพ่อกิน, พึ่ง เพิก หรือ เพิ่ง ก็ว่า.
  37. เพ้อ : ก. พูดโดยไม่มีสติ, พูดโดยไม่รู้ตัว, เช่น คนไข้เพ้อ.
  38. เพะ : ก. โปะเข้าไป, ทุ่มเทเข้าไป. ว. เผง, ไม่ผิดพลาด, เช่น ตรงเพะ ถูกเพะ.
  39. เพาะ : ก. ทําให้งอก, ทําให้เกิด, เช่น เพาะถั่วงอก, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เพาะนิสัย.
  40. เพาะปลูก : น. กรรมวิธีในการปลูกและเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เพาะ เมล็ดหรือนำต้นที่โตแล้ว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น เช่น หัว กิ่ง ใบ ไปปลูกแล้วบำรุงให้เจริญเติบโต.
  41. เพิกเฉย : ก. ไม่เอาใจใส่, ละเลย, ไม่นําพา, เช่น เพิกเฉยต่อหน้าที่.
  42. เพิ่มเติม : ก. เสริมหรือเติมของที่มีอยู่แต่ยังไม่สมบูรณ์ให้มีมากหรือ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ศึกษาเพิ่มเติม แก้ไขเพิ่มเติม.
  43. เพิ่มพูน : ก. เติมให้มากยิ่งขึ้น, เสริมให้มากยิ่งขึ้น, เช่น เพิ่มพูนศรัทธา เพิ่มพูนบารมี.
  44. เพียง : ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.
  45. เพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย เช่น หน้าเพี้ยน, คลาดเคลื่อน เช่น พูดเพี้ยน เสียงเพี้ยน, ผิดเพี้ยน ก็ว่า, โบราณใช้ เพียน ก็มี; (ปาก) ไม่ค่อยปรกติ (มักใช้แก่คน) เช่น เขามีท่าทางเพี้ยน ๆ.
  46. เพียบ : ก. เกือบจม, เต็มแปล้, เช่น เรือบรรทุกสินค้าจนเพียบ รถบรรทุกของ จนเพียบ, หนัก เช่น คนไข้อาการเพียบ.
  47. เพียบแประ : ว. เพียบจวนจะจม เช่น เรือบรรทุกข้าวจนเพียบแประ.
  48. เพื่อ : บ. เหตุด้วย, เพราะด้วย, เพราะ, เพราะว่า, ด้วย, เช่น ทำงานเพื่อจะ ได้เงิน, ด้วยว่า, เกี่ยวกับ, เนื่องด้วย, สําหรับ, เช่น สละชีวิตเพื่อ ประเทศชาติ ทำงานเพื่อลูก.
  49. เพื่อน ๆ : น. เพื่อนทั่ว ๆ ไป เช่น พวกเพื่อน ๆ.
  50. เพื่อน ๑ : น. ผู้ชอบพอรักใคร่กัน, ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน, เช่น เขามีเพื่อนมาก, ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อน ร่วมรุ่น เพื่อนข้าราชการ เพื่อนกรรมกร, ผู้ร่วมธุระ เช่น อยู่เป็น เพื่อนกันก่อน ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย, ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน เช่น เพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | [5351-5400] | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9096

(0.1758 sec)