Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั้นเยี่ยม, เยี่ยม, ชั้น , then ชน, ชนยยม, ชั้น, ชั้นเยี่ยม, ยยม, เยี่ยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั้นเยี่ยม, 9096 found, display 6851-6900
  1. ลับปาก, ลับฝีปาก : ก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปาก ไว้คอยท่า. (ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว.
  2. ลับลมคมใน : ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็น อย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมใน ต้องสืบสวนต่อไป.
  3. ลับลี้ : ว. ลึกซึ้งเหลือรู้เหลือเห็นตามธรรมดา; ที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น เก็บของซ่อนไว้เสียลับลี้จนตนเองหาไม่พบ, ลี้ลับ ก็ว่า.
  4. ลับหลัง : ว. ไม่ใช่ต่อหน้า เช่น นินทาลับหลัง ว่าร้ายลับหลัง.
  5. ลับหูลับตา : ว. พ้นหูพ้นตา เช่น แอบให้เงินในที่ลับหูลับตา ไปให้ลับหูลับตา.
  6. ลัพธ์ : ว. ที่ได้แล้ว; จํานวนที่ได้จากการคํานวณเรียกว่า ผลลัพธ์ เช่น ๒๒ ลบด้วย ๘ ได้ผลลัพธ์เท่ากับ ๑๔. (ส.; ป. ลทฺธ).
  7. ลัย, ลัย– : [ไล, ไลยะ–] น. จังหวะ (ใช้แก่ดนตรี); ที่อาศัย โดยมากมักเติม อุปสรรคข้างหน้า เช่น อาลัย; การหายไป โดยมากมักเติมอุปสรรค ข้างหน้า เช่น วิลัย บรรลัย. (ส.).
  8. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  9. ล้า ๑ : ว. หย่อนแรงหรือกำลัง เช่น เดินขึ้นเขามาก ๆ เข่าล้า ยกของมาก จนแขนล้า สมองล้า, ย่อหย่อน เช่น จิตใจล้า.
  10. ลา ๒ : น. เรียกการจบหรือสิ้นสุดลงระยะหนึ่ง ๆ ของพิธีบางอย่างว่า ลาหนึ่ง ๆ เช่น โห่ ๓ ลา ยํ่าฆ้อง ๓ ลา.
  11. ล้า ๒ : ว. ช้าไม่ทันคนหรือไม่ทันเหตุการณ์เป็นต้น เช่น วัฒนธรรมล้า สังคมล้า.
  12. ลา ๓ : ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
  13. ลา ๔ : ว. เตี้ย เช่น เกยลา กี๋ลา เตียงลา แท่นลา.
  14. ลาก : ก. ทําให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไป โยงไป เช่น ลากเกวียน ม้าลากรถ กระโปรงยาวลากดิน; โดยปริยาย หมายความว่า ใช้อย่างสมบุกสมบัน, ใช้ถูไถ, เช่น เอาผ้าซิ่นไหม มานุ่งลากอยู่กับบ้าน. ว. ที่ทำให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไปโยงไป เช่น รถลาก.
  15. ลากคอ : ก. จับตัว, ดึงตัว, เช่น ลากคอเข้าตะราง.
  16. ล้าง : ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงคราม ล้างชาติ.
  17. ลาง ๑ : น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย เช่น ผึ้งทำรังทางทิศตะวันออกของอาคารเชื่อกันว่าเป็นลางดี แมงมุม ตีอกเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย.
  18. ลาง ๔ : ว. ต่าง, แต่ละ, บาง, เช่น ลางคน ลางสิ่งลางอย่าง.
  19. ล้างซวย : ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้าง ความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญล้างซวย.
  20. ล้างมือ : ก. เลิกยุ่งเกี่ยวอีกต่อไป เช่น ล้างมือจากธุรกิจ ล้างมือจาก การเมือง.
  21. ลางสังหรณ์ : น. ลางที่ดลใจทำให้เชื่อว่าอาจจะมีเหตุดีหรือเหตุร้าย เกิดขึ้น เช่น จิ้งจกตกมาตายต่อหน้า เชื่อว่าเป็นลางสังหรณ์จะทำ ให้เกิดเหตุร้าย.
  22. ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  23. ลาญ : ก. แตก, หัก, ทําลาย เช่น ฝอใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า. (ตะเลงพ่าย).
  24. ลาญทัก : (โบ) ก. กระทืบจนแหลกลาญ เช่น อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย. (แช่งน้ำ).
  25. ลาด : ก. ปูแผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนลาดยาง. ว. เทตํ่าหรือ เอียงขึ้นน้อย ๆ เช่น ที่ลาด.
  26. ลาดตระเวน : ก. เที่ยวตรวจไปทั่วเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเป็นต้น เช่น หน่วยลาดตระเวน เครื่องบินออกลาดตระเวน ตำรวจทหารลาด ตระเวนไปตามชายแดน. น. เรียกเรือรบขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง มีหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อค้นหา ทำลายเรือรบข้าศึก และให้ความ คุ้มกันสนับสนุนกองเรือลำเลียงของฝ่ายตนว่า เรือลาดตระเวน.
  27. ลาดเลา : น. ลู่ทาง, เค้าเงื่อน, (มักใช้แก่กริยาดู) เช่น ตำรวจดูลาดเลาก่อนจับ การพนัน.
  28. ล้าเต้ : ว. ช้าเป็นที่ลำดับสุดท้าย เช่น เขาเข้าเส้นชัยกันหมดแล้ว ยังล้าเต้อยู่.
  29. ลาน ๑ : น. บริเวณที่ว่าง, สนาม, เช่น ลานจอดรถ, ที่สําหรับนวดข้าว; ในทางกีฬาหมายถึง สนามที่เล่นกีฬา, คู่กับ ลู่.
  30. ลาน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
  31. ล้าน ๒ : ว. ลักษณะของหัวที่ไม่มีผมมาแต่กำเนิดหรือผมร่วงแล้วไม่ขึ้นอีก, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ภูเขาหัวล้าน.
  32. ลาน ๓ : น. เหล็กแบนที่ม้วนไว้แล้วคลายตัวออก เกิดกําลังดันให้ตัวจักรหมุน เช่น ลานตะเกียง ลานนาฬิกา, เรียกตะเกียงตั้งชนิดไขลานให้ใบพัด หมุนเป่าลมไล่ควัน และช่วยให้ไฟสว่างนวลว่า ตะเกียงลาน.
  33. ลานตา. : ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน.
  34. ลานบิน : น. เรียกทรงผมผู้ชายแบบหนึ่งที่ตัดข้างล่างสั้นเกรียน ข้างบนราบเสมอกันว่า ผมลานบิน; โดยปริยายหมายถึงตำแหน่ง หน้าที่การงาน เช่น ไม่มีลานบินจะลง หาลานบินลงไม่ได้.
  35. ลาม : ก. แผ่ขยายต่อเนื่องออกไป เช่น ไฟลาม แผลลาม; กระทํากิริยา ไม่รู้จักที่ตํ่าที่สูงเรื่อยไปต่อบุคคลเมื่อเห็นว่าเขาไม่ถือ.
  36. ล่าม ๒ : ก. ผูกโดยวิธีให้เคลื่อนย้ายได้บ้างในที่จํากัด เช่น ล่ามโซ่ ล่ามวัว ล่ามควาย.
  37. ลามก : [–มก] ว. หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจ ของคนดีมีศีลธรรม, เช่น หนังสือลามก พูดลามก ทำลามก. (ป.).
  38. ลามปาม : ว. ต่อเนื่องไปถึงสิ่งอื่นหรือคนอื่นด้วย เช่น ด่าลามปาม ไปถึงบุพการี, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น ซึ่ง แสดงว่าไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เช่น พูดจาลามปาม แสดงกิริยาลามปาม ผู้ใหญ่.
  39. ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
  40. ลาย ๒ : น. ชื่อยุงหลายชนิดในสกุล Aedes วงศ์ Culicidae ที่พบเป็นสามัญ ในบ้าน เช่น ชนิด A. aegypti ผนังด้านล่างของส่วนท้องมีเกล็ด เกล็ดตามลําตัวสีขาวเป็นแถบลายต่าง ๆ ตัดกับเกล็ดพื้นสีดําหรือ สีนํ้าตาลแก่ ตัวเมียมีรยางค์คู่ใกล้ปากสั้นกว่าตัวผู้ ก้นแหลม ปลาย ขาไม่มีแผ่นบางระหว่างเล็บเกาะดูดเลือดโดยลําตัวขนานกับพื้น บางชนิดนําโรค เช่นโรคไข้เลือดออก มาสู่คน.
  41. ลายคราม : น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.
  42. ลายเฉลวโปร่ง : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานสิ่งของ หลายอย่าง เช่น สานชะลอม สานกระเช้าตาดอกพิกุล มักสานด้วย ไม้ไผ่ จะสานด้วยตอกปื้นหรือตอกตะแคงก็ได้ มีลักษณะเป็นตา หกเหลี่ยม, ลายเฉลว ๖ มุม ก็เรียก.
  43. ลายตา : ก. อาการที่มองเห็นของจำนวนมาก ๆ หรือของที่มีแสงสี ต่าง ๆ จนทำให้ตาลายหรือพร่าไป เช่น มองเห็นแสงสีมาก ๆ จน ลายตา การประดับไฟตามท้องถนนในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ดูลายตาไปหมด.
  44. ลายเบา : น. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บน พื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบา บนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.
  45. ลายพร้อย : ว. เป็นจุด เป็นประ เป็นดวง เป็นเส้นไปทั่วบริเวณ เช่น หน้าลายพร้อย ประแป้งลายพร้อย สักหลังลายพร้อย.
  46. ลายมือ : น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลาย มือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมี ลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลาย มือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึง จดหมายของเจ้านายด้วย.
  47. ลายลักษณ์ : น. ตัวหนังสือ, เครื่องหมายเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร อียิปต์โบราณ.
  48. ลายลักษณ์อักษร : น. เครื่องหมายขีดเขียนเป็นตัวหนังสือ เช่น เรื่องนี้ ควรบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร.
  49. ลายสอ : น. ชื่องูขนาดเล็กในวงศ์ Colubridae ตัวสีเหลือง มีลายดําทั่วตัว อยู่ตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ดุแต่ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ลายสอบ้าน (Xenochrophis piscator) ลายสอหัวเหลือง (Sinonatrix percarinata).
  50. ลายสาบ : น. ชื่องูหลายชนิดในสกุล Rhabdophis วงศ์ Colubridae เป็นงูขนาด เล็ก ตัวยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร เกล็ดมีสัน ไม่มีพิษ เช่น ลาย สาบคอแดง (R. subminiatus) ลายสาบดอกหญ้า (R. stolatus).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | [6851-6900] | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9096

(0.2182 sec)