Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั้นเยี่ยม, เยี่ยม, ชั้น , then ชน, ชนยยม, ชั้น, ชั้นเยี่ยม, ยยม, เยี่ยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั้นเยี่ยม, 9096 found, display 8951-9000
  1. อิฐ ๒ : [อิด] น. ดินเผามีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้ก่อตึกและ กําแพงเป็นต้น; โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อิฐบล็อก. ว. สีอย่างสีอิฐใหม่ เรียกว่า สีอิฐ. (ป. อิฏฺ?กา; ส. อิษฺฏกา).
  2. อิณะ : น. หนี้ เช่น ราชิณ (ราช + อิณ) ว่า หนี้หลวง. (ป.; ส. ฤณ).
  3. อิตถีลิงค์ : (ไว) น. เพศของคำที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ นารี, สตรีลิงค์ หรือ สตรีลึงค์ ก็ว่า.
  4. อิทธิพล : น. กําลังที่ยังผลให้สําเร็จ, อํานาจซึ่งแฝงอยู่ในบุคคล หรือรัฐ ซึ่งสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์, อํานาจ ที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทําตาม, อํานาจที่ สามารถบันดาลให้เป็นไปได้ต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของดวงดาว, อํานาจนอกเหนือหน้าที่ เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยอม.
  5. อินเดียนแดง : น. ชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมพวกหนึ่งในทวีปอเมริกา.
  6. อินทรวงศ์ : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสําเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๗ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลัง เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช).
  7. อินทรวิเชียร : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับ สัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช), แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น (รูปภาพ สัมผัส)
  8. อินทรี ๑ : [ซี] น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเหยี่ยว ขามีขนปกคลุม กรงเล็บแข็งแรง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น อินทรีหัวนวล (Haliaeetus leucoryphus) อินทรีดํา (Ictinaetus malayensis) อินทรีปีกลาย (Aquila clanga).
  9. อินทรี ๒ : [ซี] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวแบน ข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเป็นแฉกลึก อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวนํ้า เช่น อินทรีบั้ง (Scomberomorus commersoni) อินทรีจุด (S. guttatus) ในวงศ์ Scombridae.
  10. อินทรีย, อินทรีย์ : [ซียะ, ซี] น. ร่างกายและจิตใจ เช่น สํารวมอินทรีย์; สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส. อินฺทฺริย).
  11. อินธน์ : น. การจุดไฟ; เชื้อไฟ, ไม้สําหรับติดไฟ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของ สมาส เช่น นิรินธน์ ว่า ไม่มีเชื้อไฟ. (ป., ส.).
  12. อินัง, อินังขังขอบ : ก. เอาใจใส่, เอาใจช่วย, ดูแล, เหลียวแล, นําพา, (มักใช้ในความ ปฏิเสธ) เช่น ไม่อินัง ไม่อินังขังขอบ หมายความว่า ไม่เอาใจใส่.
  13. อิ่ม : ก. เต็มแล้ว, พอแล้ว, หายหิว, หายอยาก. ว. เบิกบาน, แช่มชื่น, เช่น หน้าอิ่ม.
  14. อิ่มเอิบ : ว. แช่มชื่น, สดชื่น, เช่น หน้าตาอิ่มเอิบ; ปลาบปลื้ม, สบายใจมาก, เช่น จิตใจอิ่มเอิบ.
  15. อิศร : [อิด] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นริศร มหิศร, หรือแผลงเป็น เอศร เช่น นฤเบศร. ว. เป็นใหญ่, เป็น ใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัวไม่ขึ้นแก่ใคร. (จาก ส. อีศฺวร ซึ่งมักใช้ อิศวร).
  16. อิศวร : [อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).
  17. อิสร, อิสระ : [อิดสะหฺระ] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครอง ตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็น อิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).
  18. อี๊ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น อี๊ ! เสื้อสกปรกอย่างนี้ ยังจะเอามาให้อีก, ยี้ ก็ว่า.
  19. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  20. อี ๒ : น. คําประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน; คําประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ใน การเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.
  21. อีก : ว. ต่อไป, ซํ้า, เพิ่มเติม เช่น ขออีก, อื่นจากนั้น เช่น อีกประการหนึ่ง, อิก ก็ว่า.
  22. อีก้อ : น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบตพม่า มีอยู่ทางแถบเหนือ ของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, ก้อ ก็เรียก.
  23. อีก๋อย : น. ชื่อนกในวงศ์ Scolopacidae ตัวสีนํ้าตาลเทาลายดํา ปากยาวโค้ง ปลายแหลม ขายาว หากินเป็นฝูงตามชายหาด มีหลายชนิด เช่น อีก๋อยใหญ่ (Numenius arquata) อีก๋อยเล็ก (N. phaeopus), ก๋อย ก็เรียก.
  24. อีหรอบ : [หฺรอบ] (โบ) น. ยุโรป หมายความว่า ฝรั่ง เช่น ดินอีหรอบ เข้าอีหรอบ หมายความว่า ทําตามแบบฝรั่ง.
  25. อีหรอบเดียวกัน : (สํา) ว. ทํานองเดียวกัน, แบบเดียวกัน, (มักใช้ใน ทางไม่ดี) เช่น พ่อเป็นขโมย ลูกก็อีหรอบเดียวกัน.
  26. อีเห็น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับชะมดและพังพอน ลําตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทําให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบท ประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  27. อีโหลกโขลกเขลก : [โหฺลกโขฺลกเขฺลก] ว. อาการที่ยานพาหนะเป็นต้นเคลื่อนที่ไป อย่างทุลักทุเล เช่น นั่งรถอีโหลกโขลกเขลกมาทั้งวัน, ไม่เป็นโล้ เป็นพาย, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, เช่น ใช้ชีวิตอีโหลกโขลกเขลกไป วันหนึ่ง ๆ.
  28. อีแอ่น : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Apodidae, Hemiprocnidae, Hirundinidae และ Artamidae ตัวสีนํ้าตาลหรือดํา ปลายปีกแหลม ใช้เวลาส่วนใหญ่ บินโฉบแมลง มักอยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น อีแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) อีแอ่นตะโพกแดง (H. daurica) ในวงศ์ Hirundinidae อีแอ่นตาล (Cypsiurus balasiensis) ในวงศ์ Apodidae ชนิดที่นํารัง มากินได้ เช่น อีแอ่นกินรัง (Collocalia fuciphaga หรือ Aerodramus fuciphagus)ในวงศ์ Apodidae, นางแอ่น หรือ แอ่นลม ก็เรียก.
  29. อึก ๒ : น. ลักษณนามเรียกอาการกลืนของเหลวหรือเสียงทุบแผ่นหลังด้วย กำปั้นครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ดื่มน้ำ ๓ อึก เขาถูกทุบไป ๓ อึก.
  30. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  31. อึ่ง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดในวงศ์ Microhylidae รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ เช่น อึ่งอ่าง (Kaloula pulchra) อึ่งแว่น (Calluella guttulata).
  32. อึงอล : ว. ดังลั่น เช่น เสียงคลื่นลมอึงอล.
  33. อึ้ดทึ่ด : ว. อาการที่พองขึ้นเต็มที่ (ใช้แก่ศพคนหรือสัตว์บางชนิดที่ตายแล้ว), โดยปริยายหมายถึงอาการที่นอนหรือนั่งตามสบาย มีลักษณะไปใน ทางเกียจคร้านเป็นต้น เช่น นอนอึ้ดทึ่ด นั่งอึ้ดทึ่ด.
  34. อึน : ว. แห้งไม่สนิท เช่น ผ้ายังอึน ๆ อยู่.
  35. อืด : ว. พอง, ขึ้น, เช่น ท้องอืด; เฉื่อยชา, ช้า.
  36. อื้อ : ว. อาการที่รู้สึกมีเสียงดังอยู่ในหู, ไม่ได้ยิน; (ปาก) มาก เช่น รวยอื้อ บ่นกันอื้อ.
  37. อื้อซ่า : (ปาก) ว. มากมาย เช่น รับทรัพย์อื้อซ่า.
  38. อุก ๒ : (กลอน) ก. หักหาญด้วยพลการ, บังอาจ, เช่น ทำอุกสนุกเสน่หา สองราช.
  39. อุกคลุก : (กลอน) ก. เข้ารบคลุกคลีประชิดตัว, อุตลุด, เช่น อุกคลุก พลุก เงยงัด คอคช เศิกแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  40. อุกฉกรรจ์ : ว. ร้ายแรง เช่น คดีอุกฉกรรจ์.
  41. อุตตานภาพ : [อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัด ทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอ ล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).
  42. อุตบล : [อุดบน] น. อุบล, บัวสาย, เช่น นีโลตบล ว่า บัวขาบ. (ส. อุตฺปล; ป. อุปฺปล).
  43. อุตสาหกรรม : [อุดสาหะกํา] น. กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิต สิ่งของหรือจัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม การมาตรฐานเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม และทรัพยากรธรณี.
  44. อุตุ ๒ : (ปาก) ว. สบาย (ใช้แก่กริยานอน) เช่น นอนหลับอุตุ.
  45. อุทกวิทยา : น. วิชาว่าด้วยนํ้าที่มีอยู่ในโลก เช่น ศึกษาถึงสาเหตุ การเกิด การหมุนเวียน ตลอดจนคุณลักษณะของนํ้า รวมทั้งการ นํานํ้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์. (ป., ส. อุทก + ส. วิทฺยา).
  46. อุทลุม : [อุดทะ] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียก ลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใด เปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมา ฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวน มันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).
  47. อุทัย : น. การเกิดขึ้น เช่น สุโขทัย = การเกิดขึ้นแห่งความสุข, การตั้งขึ้น เช่น อรุโณทัย = การตั้งขึ้นแห่งอรุณ. ก. เริ่มส่องแสง ในคำว่า อาทิตย์อุทัย. (ป., ส.).
  48. อุทิศ : ก. ให้, ยกให้, เช่น อุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตายตามประเพณี; ทําเพื่อ, สละให้โดยเจาะจง. (ส. อุทฺทิศฺย; ป. อุทฺทิสฺส ว่า เจาะจง).
  49. อุเทศ : น. การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง. ว. ที่ยกขึ้นแสดง, ที่ยกขึ้น ชี้แจง; ที่อ้างอิง เช่น หนังสืออุเทศ. (ส. อุทฺเทศ; ป. อุทฺเทส).
  50. อุ่น : ก. ทําให้ร้อน เช่น อุ่นแกง. ว. ค่อนข้างร้อน เช่น ตัวอุ่น, ไม่ร้อนนักไม่หนาวนัก เช่น อากาศอุ่น, อุ่น ๆ ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | [8951-9000] | 9001-9050 | 9051-9096

(0.2619 sec)