Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั้นเยี่ยม, เยี่ยม, ชั้น , then ชน, ชนยยม, ชั้น, ชั้นเยี่ยม, ยยม, เยี่ยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั้นเยี่ยม, 9096 found, display 8901-8950
  1. อาธาร : [ทาน] น. เครื่องคํ้าจุน, ฐานที่รองรับ, เช่น ปัตตาธาร = เชิงบาตร, ตีนบาตร คุณาธาร = ฐานที่รองรับคุณความดี; การอุปถัมภ์; อ่าง, หม้อนํ้า, ที่ขังนํ้า, สระ. (ป., ส.).
  2. อ่าน : ก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้า ไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้ เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).
  3. อาน ๑ : น. เครื่องรองนั่งบนหลังสัตว์พาหนะหรือยานพาหนะบางชนิด เช่น อานม้า อานรถจักรยาน.
  4. อาน ๒ : ว. บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียอาน, โดยปริยายหมายความว่า อย่างหนัก, อย่างมาก, เช่น ถูกต่อว่าอานเลย.
  5. อาน ๓ : ก. ลับมีดหรืออาวุธให้คม เช่น อานดาบ อานอาวุธ, ใช้มีดหรือ อาวุธถูกับหินให้เรียบหรือให้คม เช่น อานมีด อานหอก. (ข.).
  6. อาน ๔ : ก. กิน, เซ่น, เช่น เครื่องอาน ว่า เครื่องกินหรือเครื่องเซ่น.
  7. อานนท์ ๑, อานันท์ : น. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้าย ของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. (ป., ส.).
  8. อ่านเล่น : ก. อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น เอาหนังสือไปอ่านเล่น สัก ๒ เล่มซิ. ว. ที่แต่งขึ้นให้อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ในคำว่า หนังสืออ่านเล่น.
  9. อานิสงส์ : น. ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).
  10. อาบ : ก. เอานํ้ารดตัวหรือลงในนํ้าทั้งตัว เพื่อแก้ร้อนหรือชําระล้างเ หงื่อไคลเป็นต้น เรียกว่า อาบนํ้า; ชโลม, ทา, ทําให้ซึมซาบ, เช่น อาบนํ้ารัก ลูกศรอาบยาพิษ; ไหลโซม เช่น เหงื่ออาบหน้า.
  11. อาบัน : ก. ต้อง เช่น อาบัติอาบัน ว่า ต้องอาบัติ; ถึง, ลุ, เช่น โสดาบัน ว่า ถึงโสตธรรม คือ กระแสพระนิพพาน. (ป., ส. อาปนฺน).
  12. อาปะ, อาโป : น. นํ้า, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าของสมาสมักใช้ว่า อาโป เช่น อาโปกสิณ อาโปธาตุ.
  13. อาภรณ์ : [พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคําสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่อง ประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่อง ประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะ เป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).
  14. อาม ๑, อ่าม : ว. ไม่ เช่น เลี้ยงลาอามสาย, หนึ่งจงเลี้ยงม่ามอ่ามสาย. (ไตรภูมิ). (ไทยใหญ่ อํ่า ว่า ไม่).
  15. อามิษ, อามิส, อามิส : [อามิด, อามิดสะ] น. สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น, เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง. (ส. อามิษ; ป. อามิส).
  16. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  17. อ้ายชื่น : น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ตัวสีดํา ขนาดไล่เลี่ยกับ มดแดง อาศัยเป็นกลุ่มอยู่ตามต้นไม้ เช่น ต้นส้ม มักจะเลี้ยงเพลี้ย ซึ่งอาจเป็นเพลี้ยแป้งหรือเพลี้ยหอย เมื่อถูกรบกวนมักรวมกลุ่ม ต่อยและกัด เช่น พวกที่อยู่ในสกุล Camponotus, Diacamma และ Polyrachis, ชื่น ก็เรียก.
  18. อายตนะ : [ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).
  19. อายน : [ยน] น. การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น เมษายน คือ เมษ + อายน แปลว่า การมาถึงราศีเมษ. (ป., ส.).
  20. อ้ายแอ้ด : น. ชื่อจิ้งหรีดขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Gryllidae, จิ้งหรีดผี ก็เรียก. (ดู แอ้ด๑), โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีขนาดเล็กหรือน้ำหนัก น้อยกว่าปรกติ เช่น รถถังอ้ายแอ้ด มวยรุ่นอ้ายแอ้ด.
  21. อายัน ๒ : น. การมาถึง, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น เหมายัน หมายถึงการมาถึงฤดูหนาว ครีษมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูร้อน, ทางดาราศาสตร์ หมายถึงจุดหยุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง. (อ. solstice).
  22. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  23. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  24. อารยชน : น. ชนที่มีอารยธรรม.
  25. อารยธรรม : น. ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง ศีลธรรม และกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี.
  26. อารัมภ, อารัมภะ, อารัมภ์ : [อารำพะ] น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา; การเริ่มต้น, การตั้งต้น, ในคำว่า วิริยารัมภะ = การเริ่มต้นความเพียร; ความเพียร. (ป., ส.).
  27. อาราม ๓ : ว. มุ่งหมายอย่างรีบร้อน, พะวงที่จะทําการใด ๆ, ตั้งหน้าตั้งตา, ใช้นําหน้ากริยา เช่น อารามจะไปเลยลืมกระเป๋าสตางค์.
  28. อาลปน์, อาลปนะ : [อาลบ, อาละปะนะ] น. การพูด, การสนทนา, การเรียก, การทักทาย; ในไวยากรณ์ หมายถึง คําที่ใช้เรียกหรือทักทายผู้ที่ตนจะพูดด้วย เช่น ''นายแดง แกจะไปไหน'' คํา ''นายแดง'' เป็นอาลปนะ. (ป., ส.).
  29. อาละวาด : ก. ทําเกะกะระราน, แสดงอาการดุร้าย เอะอะตึงตัง หรือคลุ้มคลั่ง, เช่น เมาสุราอาละวาด ช้างตกมันอาละวาด.
  30. อาลัย ๒ : น. ที่อยู่, ที่พัก, เช่น ชลาลัย = ที่อยู่แห่งนํ้า หมายถึง ทะเล แม่น้ำ เป็นต้น หิมาลัย = ที่อยู่แห่งหิมะ เป็นชื่อของเทือกเขาสูงอยู่ทาง ทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี.
  31. อาลิ, อาลี : น. ทํานบ, คันนา; แถว, แนว, เช่น พนาลี ว่า แนวป่า. (ป., ส.).
  32. อาวัชนาการ : [วัดชะ] น. ความรําพึง; การรําลึก. (ป. อาวชฺชน + อาการ).
  33. อาวาส : [วาด] น. วัด เช่น เจ้าอาวาส ที่อยู่ เช่น พุทธาวาส (พุทธ + อาวาส) คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หมายถึง โบสถ์ วิหาร สังฆาวาส (สังฆ + อาวาส) คือ ที่อยู่ของพระสงฆ์; ผู้ครอบครอง เช่น ฆราวาส (ฆร + อาวาส) คือ ผู้ครอบครองเรือน หรือผู้อยู่ครองเรือน. (ป., ส.).
  34. อาวุธ : [วุด] น. เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ทำลาย ป้องกัน ต่อสู้ หรือฆ่า; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใช้ปัญญา เป็นอาวุธ. (ป. อาวุธ, อายุธ; ส. อายุธ).
  35. อาวุโส : ว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่า หรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการ ทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคํา อาลปนะ คือ คําที่ พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษา น้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคําที่ พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษา มากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).
  36. อาเวศ : [เวด] น. ทาง เช่น พนาเวศ ว่า ทางป่า. (ส. อาเวศ ว่า การเข้า, ทางเข้า).
  37. อาศัย : ก. พักพิง, พักผ่อน; พึ่ง; อ้างถึง เช่น อาศัยความตามมาตราที่ (ส.). อาศัยที่, อาศัยว่า สัน. เนื่องจาก, โดยเหตุที่.
  38. อาสัญ : (แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อส?ฺ? ว่า ไม่มีสัญญา).
  39. อาสัตย์ : ว. ไม่ซื่อสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก, เช่น คนอาสัตย์, อสัตย์ ก็ว่า. (ส. อสตฺย).
  40. อาสา : ก. เสนอตัวเข้ารับทำ. น. ความหวัง เช่น นิราสา = ความหวัง หมดแล้ว คือ ความหมดหวัง, ความต้องการ, ความอยาก. (ป.; ส. อาศา).
  41. อาสาสมัคร : ว. ที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความสมัครใจ เช่น ทหารอาสาสมัคร. น. บุคคลที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความ สมัครใจ เช่น เขาเป็นอาสาสมัคร.
  42. อาสูร : [สูน] (โบ) ก. สงสาร เช่น อาสูรสองหลานเอย ย่อมเสวยเคย ข้าวสาลี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า); เอ็นดู; กังวล. (ข. อาสูร ว่า สงสาร, น่าอนาถ).
  43. อาหาร : น. ของกิน, เครื่องคํ้าจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต, เช่น อาหารเช้า อาหารปลา อาหารนก; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อาหารตา อาหารใจ. (ป., ส.).
  44. อ่าองค์ : (กลอน) ก. แต่งตัว เช่น ลูบไล้สุคนธาอ่าองค์ บรรจง ทรงเครื่องวันอาทิตย์. (อิเหนา).
  45. อำนาจ : น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอม ทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถ บันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของ กฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถ ทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระ ศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.
  46. อำนาจบาตรใหญ่ : น. อํานาจที่ใช้ในทางข่มขี่ เช่น ถือว่ามีอำนาจ บาตรใหญ่รังแกใครได้ก็ตามใจชอบ.
  47. อำพน : [พน] ว. มาก, ดาษดื่น, ล้วน, เช่น อำพนไปด้วยแก้วมณี; น่าดู, งาม, งามสล้าง, เช่น ปราสาทอำพน, (โบ) ใช้ว่า อำพล ก็มี เช่น ปราการ สะพาน ถนน อำพลด้วย (ไม้ไหล) ทั้งหลายคำนับ. (จารึกสยาม).
  48. อำพราง : ก. ปิดบังโดยลวงให้เข้าใจไปทางอื่น, พูดหรือแสดง อาการไม่ให้รู้ความจริง. ว. ที่ปิดบังโดยลวงให้เข้าใจไปทางอื่น เช่น ฆาตกรรม อำพราง.
  49. อิง : ก. พิง เช่น อิงหมอน; พึ่ง, อาศัย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ อาศัย เป็น อิงอาศัย.
  50. อิงค์ : น. ท่าทาง, อาการ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นนามพระพุทธรูป หมายความว่า พระพุทธรูปที่มีท่าทาง สง่างามดุจราชสีห์. (ป., ส. อิงฺค).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | [8901-8950] | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9096

(0.1678 sec)