Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั้นเยี่ยม, เยี่ยม, ชั้น , then ชน, ชนยยม, ชั้น, ชั้นเยี่ยม, ยยม, เยี่ยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั้นเยี่ยม, 9096 found, display 7401-7450
  1. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  2. เวทิ, เวที ๑ : น. ที่ที่ยกขึ้นให้สูงใช้เป็นที่ทําการสักการบูชา, แท่นบูชา; ยกพื้น สําหรับเล่นละครและอื่น ๆ เช่น เวทีละคร เวทีมวย. (ป., ส.).
  3. เวน : ก. มอบหรือย้ายโอนในอาการที่สละกรรมสิทธิ์ซึ่งมีอยู่ในขณะนั้น เช่น เวนหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบคนต่อไป เวนราชสมบัติ.
  4. เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
  5. เว้นแต่ : สัน. นอกจาก, ยกเว้น, เช่น ฉันจะไป เว้นแต่ฝนตก.
  6. เวไนย : น. ผู้ควรแนะนําสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).
  7. เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
  8. เวร ๑ : น. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่น เวรย่อมระงับด้วยการ ไม่จองเวรคําแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรม ของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).
  9. เวร ๒ : น. รอบผลัดในหน้าที่การงาน เช่น วันนี้เวรฉันทำความสะอาดห้อง.
  10. เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
  11. เวสสันดร : เช่น ใจกว้างเหมือนพระเวสสันดร มีอะไรให้เขาหมด. (ป.).
  12. เว่อ : ว. เบ้อ เช่น ถูกฟันแผลเว่อ; ชัด เช่น เห็นกระดูกขาวเว่อ.
  13. เว้า ๒ : ว. มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งหรือบุ๋มเข้าไป เช่น เสื้อแขนเว้า.
  14. เวิก : ก. เลิก เปิด หรือแหวกแต่บางส่วน เช่น ผ้านุ่งเวิก เวิกม่าน.
  15. แว้ง : ก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทําร้าย เป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิดจระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.
  16. แว้งกัด : ก. กิริยาที่เอี้ยวตัวหรือคอไปกัดโดยเร็ว เช่น หมาแว้งกัด, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อุตส่าห์อุปถัมภ์ คํ้าชูมาตั้งแต่เล็ก ยังแว้งกัดได้.
  17. แว้ด : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ตวาดแว้ด. (ปาก) ก. ขึ้นเสียง เช่น พูดด้วยดี ๆ กลับมาแว้ดใส่อีก.
  18. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  19. แวดวง : (ปาก) น. วงการ, กลุ่มที่สังกัดอยู่, เช่น ในแวดวงนักการเมือง ในแวดวงนักธุรกิจ.
  20. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  21. แว่น ๓ : ก. กระโดด, ว่องไว; มา เช่น ผิว่าแว่นเร็วอ้า. (ลอ).
  22. แว่นแคว้น : น. แผ่นดินซึ่งมีขอบเขตเป็นปริมณฑล เช่น แว่นแคว้น ตะนาวศรี ''ฝ่ายเขาเล่าก็สามพารา เป็นใหญ่ในชวาแว่นแคว้น. (อิเหนา).
  23. แวนดา : น. ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Vanda วงศ์ Orchidaceae เช่น เอื้องสามปอย (V. denisoniana Bens. et Rchb.f.).
  24. แวบวับ : ว. อาการที่แสงสว่างปรากฏอยู่ชั่วแว็บเดียวแล้วก็หายไป และปรากฏขึ้นมาใหม่ต่อเนื่องกัน เช่น ไฟจากป้ายโฆษณามีแสง แวบวับ แสงดาวแวบวับอยู่บนท้องฟ้า.
  25. แวบ, แว็บ : ว. ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็หายไป เช่น แสงไฟจาก รถดับเพลิงแวบเข้าตามาเดี๋ยวเดียวแว็บไปแล้ว. ว. อาการที่ปรากฏ ให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่ง เช่น ไปแวบเดียวกลับมาแล้ว เพิ่งมาได้แว็บ เดียวจะกลับแล้วหรือ.
  26. แวม ๆ, แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่เห็นเคลื่อนไหวอยู่เรือง ๆ ไร ๆ เช่น แสงของพรายน้ำแวม ๆ ในความมืด.
  27. แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
  28. แว่ว : ก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.
  29. แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
  30. แวววาม, แวววาว : ก. มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน เช่น เพชรเม็ดนี้ มีน้ำงาม มีแสงแวววาว, วาวแวว ก็ว่า.
  31. แวววิเชียร : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Angelonia goyazensis Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae ใบเรียวยาว ดอกออกตามง่ามใบ มีสีต่าง ๆ เช่น ม่วงแก่ ม่วงอ่อน ขาว ใบและดอกมีกลิ่น.
  32. แวะ : ก. หยุดชั่วคราวระหว่างทาง เช่น แวะตลาดก่อนกลับบ้าน แวะรับส่ง คนโดยสาร.
  33. แวะเวียน : ก. แวะมาบ่อย ๆ, วนเวียน, เช่น เขาชอบแวะเวียนอยู่แถว ร้านกาแฟ.
  34. โว : (ปาก) ก. พูดโอ้อวด เช่น โวมากไปหน่อยแล้ว. ว. โอ้อวด เช่น คุยโว.
  35. โว่ : ว. เป็นช่องเป็นรูที่แลเห็นลึกหรือทะลุ เช่น หม้อทะลุเป็นรูโว่ กางเกงถูกบุหรี่จี้ขาดโว่, โหว้ ก็ใช้.
  36. โวการ : น. ขันธ์ เช่น เบญจโวการ ว่า ขันธ์ ๕. (ป.).
  37. โว่ง : ว. ว่าง, โล่ง, โปร่ง, เช่น ตัดต้นไม้เสียโว่ง ซดน้ำแกงร้อน ๆ แล้วคอโว่ง.
  38. โวย : (ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิด เดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวย เรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.
  39. โว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
  40. โวยวาย : ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่ พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
  41. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  42. ไวกูณฐ์ : น. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์. (มัทนะ). (ส.); (โบ) พระนารายณ์ ที่แบ่งภาคลงมา เช่นซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  43. ไว้ใจ : ก. มอบความเชื่อความมั่นใจให้, วางใจ, เช่น ไว้ใจให้เก็บรักษาเงิน ไว้ใจให้ดูแลบ้าน, ไว้วางใจ ก็ว่า.
  44. ไว้ชีวิต : ก. ให้มีชีวิตอยู่ต่อไป, ปล่อยให้รอดชีวิต, เช่น ราชสีห์ไว้ชีวิตหนู.
  45. ไว้ชื่อ : ก. แสดงความรู้ความสามารถเป็นการฝากชื่อเสียงไว้ให้ปรากฏ เช่น ชาติชายต้องไว้ชื่อ.
  46. ไว้เชิง : ก. รักษาทีท่า เช่น ใจจริงก็อยากไป แต่ขอไว้เชิงหน่อย.
  47. ไว้ตัว : ก. สงวนฐานะและเกียรติยศของตนให้เหมาะให้ควร เช่น แม้จะยากจนลงก็ต้องไว้ตัวอยู่ เป็นสตรีควรไว้ตัว, ถือตัว เช่น ไว้ตัว ว่าเป็นลูกเศรษฐี ไม่คบคนทั่วไป.
  48. ไว้ทุกข์ : ก. แต่งกายหรือแสดงเครื่องหมายตามประเพณีนิยม ว่าตนมีทุกข์เพราะบุคคลสำคัญในครอบครัวเป็นต้นตายไป เช่น ไว้ทุกข์ให้พ่อ.
  49. ไว้ธุระ : ก. รับทำงานเอง เช่น เรื่องนี้ไว้ธุระฉันเถอะ จะจัดการให้เอง, มอบงานให้ผู้อื่นทำ เช่น เรื่องอาหารไว้ธุระคุณนะ.
  50. ไว้เนื้อเชื่อใจ : ว. ที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขา เถอะเขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อ เชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | [7401-7450] | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9096

(0.3273 sec)