Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พา , then , พะ, พา, วา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พา, 1557 found, display 1301-1350
  1. วิภาส : ก. ส่องสว่าง, มีแสงสว่าง. (ส. วิภาสา ว่า แสง).
  2. วิษุวัต : (ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาค คือ จุดที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึง โลกจะมีกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน มี ๒ จุด คือ วสันตวิษุวัต และ ศารทวิษุวัต. (ส. ว่า มีในกึ่งกลาง; อ. equinox).
  3. วิหาร, วิหาร : [วิหาน, วิหาระ] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อน ในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
  4. วิฬังค์ : น. ผักดอง. (ป.; ส. วิฑงฺค ว่า ยาสําหรับฆ่าตัวพยาธิในท้อง).
  5. วีต : [วีตะ] ว. ไปแล้ว, หมดแล้ว, ปราศจาก, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น วีตราคะ ว่า หมดราคะ วีตโลภะ ว่า หมดความโลภ. (ป., ส.).
  6. เวตาล : น. ผีจําพวกหนึ่ง ชอบสิงอยู่ในป่าช้า. (ส. เวตาล ว่า นักปราชญ์ที่ ไม่ได้ถ่ายวิชาให้ใคร ตายไปแล้วเป็นผีชนิดนี้).
  7. แว่นฟ้า : น. กระจก, เรียกพระแท่นที่ประดับกระจกว่า พระแท่น แว่นฟ้า; เรียกพานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือ กระจกเป็นต้นใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทองใบบนเป็นพาน เล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่ ว่า พานแว่นฟ้า.
  8. โวการ : น. ขันธ์ เช่น เบญจโวการ ว่า ขันธ์ ๕. (ป.).
  9. ไวยากรณ์ : น. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคําและระเบียบในการประกอบรูปคําให้เป็น ประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตําราไวยากรณ์).
  10. ศพละ : [สะพะละ] ว. หลายสี, ด่าง, ลาย, พร้อย, กระ; วุ่น, รําคาญ. (ส.; ป. สพล).
  11. ศรภะ : [สะระพะ] น. สัตว์ในนิยาย ว่ากันว่ามี ๘ เท้า มีแรงมากกว่าช้าง และสิงโต. (ส.).
  12. ศฤงคาร : [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอ ความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).
  13. ศลภะ : [สะละพะ] น. แมลงมีปีก. (ส.).
  14. ศวา, ศวาน : [สะวา, สะวาน] น. หมา. (ส. ศฺวา, ศฺวานฺ).
  15. ศศิธร : น. ดวงจันทร์. (ส. ว่า พระอิศวรผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่น).
  16. ศอ : น. คอ, ราชาศัพท์ ว่า พระศอ.
  17. ศัพท, ศัพท์ : [สับทะ, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยาก ที่ต้องแปล, ศัพท์แสงก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คํา).
  18. ศาพระ : [สาพะระ] ว. โหดร้าย, พยาบาท. (ส.).
  19. ศาสนจักร : [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
  20. ศาสน, ศาสนา : [สาสะนะ, สาดสะนะ, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือ ของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).
  21. ศิพิระ : น. ค่ายทหาร. (ส. ศิวิร ว่า ปะรํา, ค่าย).
  22. ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
  23. ศิษฎิ : [สิดสะดิ] น. การสอน. (ส. ศิษฺฏิ ว่า การปกครอง, การลงโทษ).
  24. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  25. ศุกลัม : [กฺลํา] น. เครื่องขาวแต่งศพ. (ส. ว่า สีขาว).
  26. ศุภ : [สุบพะ] น. ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ส.; ป. สุภ).
  27. ศุภมาส : น. วันคืนเดือนปี. (ส. ศุภมาส ว่า เดือนดีงาม).
  28. ศูนยวาท : น. ปรัชญาฝ่ายมหายานที่ถือว่า (๑) โลกเป็นศูนยะ คือ ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ถาวร (๒) นิพพานก็เป็นศูนยะ คือ ไม่มีวาทะ หรือลัทธิใด ๆ สามารถบรรยายได้ถูกต้องครบถ้วน, มาธยมิกะ ก็เรียก. (ส.).
  29. เศรษฐี : [เสดถี] น. คนมั่งมี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวไซ ดาวศรวิษฐา หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก. (ส. ว่า ประมุข พ่อค้า; ป. เสฏฺ??).
  30. เศวตฉัตร : [สะเหฺวดตะฉัด] น. ฉัตรขาว ใช้เป็นเครื่องหมายแห่ง ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้น. (ส. เศฺวตจฺฉตฺร ว่า ฉัตรขาว).
  31. เศวตร : [สะเหฺวด] (โบ) น. สีขาว. (ส. เศฺวตร ว่า โรคเรื้อนนํ้าเต้า; ป. เสต).
  32. เศษ : ส่วนที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์, ส่วนที่เหลือซึ่งไม่ ต้องการ, เช่น เศษกระดาษ น. เศษอาหาร เศษขยะ; สิ่งที่เกินหรือ เลยจากจํานวนเต็มที่กําหนดไว้ เช่น เวลา ๒ นาฬิกาเศษ ยาว ๒ วาเศษ; ส่วนปลีกย่อยหรือส่วนย่อย เช่น เศษสตางค์; เศษเนื้อ เศษผ้า(คณิต) ส่วนที่เหลือจากการหาร เช่น ๙ หารด้วย ๗ เหลือเศษ ๒. (ส.; ป. เสส).
  33. เศียร : [เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร;ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
  34. โศภา : ว. งาม, ดี. (ส. ว่า สว่าง, ความงาม).
  35. ส ๒ : คําประกอบหน้าคําอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).
  36. สกทาคามี, สกิทาคามี : [สะกะ, สะกิ] น. ''ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง'' เป็นชื่อพระอริยบุคคล ชั้นที่ ๒ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียก สั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา. (ป.; ส. สกฺฤทาคามินฺ).
  37. สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  38. สติวินัย : น. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจําเลยไว้ซึ่ง เรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).
  39. สถวีระ : [สะถะวีระ] (แบบ) น. พระเถระ; ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท เรียกว่า นิกายสถวีระ หรือ สถีรวาท. (ส. สฺถวิร ว่า ผู้ใหญ่, ผู้สูงอายุ; ป. เถร).
  40. สถาบก : [สะ] (โบ) ก. สร้าง. (จารึกสยาม). (ส. สฺถาปก ว่า ผู้ตั้ง, ผู้สร้าง).
  41. สถุล : [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล).
  42. สทิง : [สะ] น. แม่น้ำ, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
  43. สทึง : [สะ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
  44. สนทนา : [สนทะ] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนา ปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).
  45. สนอบ : [สะหฺนอบ] (โบ) น. เสื้อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานใช้ นุ่งห่มเฉพาะในพระราชพิธี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ ในเวลารับแขกเมือง เป็นต้น. (ข. สฺนบ ว่า ผ้าห่อศพ).
  46. สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
  47. สบ : ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วย ซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ แควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).
  48. สมปัก : น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสําหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, ผ้าเกี้ยว ก็เรียก. (เทียบ ข. สํพต ว่า ผ้านุ่ง).
  49. สมพัตสร : [พัดสอน] น. อากรสวนใหญ่เก็บจากผลของไม้ยืนต้นเป็นรายปี. (ส. สํวตฺสร ว่า ปี).
  50. สมเพช : [เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถา แล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1557

(0.1455 sec)