Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พา , then , พะ, พา, วา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พา, 1557 found, display 751-800
  1. ชนวน ๑ : [ชะ] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่น และละเอียดมีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี;เรียกกระดานเขียน หนังสือทําด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้ จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไปติดดิน ระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน; เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยาย หมายความว่า ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม.
  2. ชมพูนท, ชมพูนุท : น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิ กล่าวว่าเกิดใต้ต้นหว้า), ใช้ว่า ชามพูนท ก็มี. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่นํ้าชมพูนที).
  3. ชมเลาะ : (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
  4. ชรทึง : [ชฺระ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
  5. ชรโมล : [ชฺระโมน] (กลอน) น. ทโมน, ลิงตัวผู้ขนาดใหญ่, เช่น มีชระมดชรโมลตาม. (สมุทรโฆษ). (ข. โฌฺมล ว่า สัตว์ตัวผู้).
  6. ชลาสินธุ์ : น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณ บิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
  7. ชเล : (โบ) น. ทะเล, ในนํ้า, ใช้เป็นส่วนหน้าสมาสก็มี เช่น ชเลจร ว่า ผู้เที่ยวไปในนํ้า.
  8. ช่วง ๓ : ก. มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา ใช้ เป็น ช่วงใช้. (ไทยใหญ่ ช่วง ว่า ใช้).
  9. ช่วงบาท : น. ผู้อยู่ในระยะเท้า ''คือ ใกล้เท้า หมายความ ว่า ผู้รับใช้''.
  10. ชวา : [ชะ] น. ชื่อเกาะสําคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของ ประเทศอินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชน ที่พูดภาษาชวาว่า ชาวชวา; ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปี่ชวา.
  11. ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต : น. ขนมหวานทําจากเมล็ดโกโก้และนํ้าตาล บางชนิดก็มี ไส้หวาน. ว. เรียกสีอย่างสีนํ้าตาลไหม้ ว่า สีช็อกโกเลต หรือ สีช็อกโกแลต. (อ. chocolate).
  12. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  13. ชะเอม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum.ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอม ขาไก่ (G. uralensis Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรส หวานชุ่มคอ ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
  14. ชักครอก : [คฺรอก] น. เรียกลูกปลาจำพวกปลาช่อนที่ตาม พ่อเป็นฝูง ๆ ว่า ลูกชักครอก, ลูกครอก ก็ว่า.
  15. ชักรอก : ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อน ผ่านร่องของรอกเพื่อยกลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้ แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.
  16. ชาติธรรม : [ชาติทํา] ว. มีความเกิดเป็นธรรมดา. (ส. ชาติธรฺม ว่า หน้าที่ของตระกูล).
  17. ชามพูนท : [ชามพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).
  18. ชาลา ๑ : น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ, แสงสว่าง. (ส. ชฺวาลา).
  19. ชำงือ : (โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชํางือใจ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).
  20. ชำนัน : ก. เหยียบ. (ข. ชัน ว่า เหยียบ; ชาน่, ชํนาน่ ว่า คราว, สมัย).
  21. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  22. ชิวหา : น. ลิ้น. (ป.; ส. ชิหฺวา).
  23. ชีพจร : [ชีบพะจอน] น. อาการที่เส้นเลือดเต้นอยู่ตาม ร่างกายเช่นที่ข้อมือ.
  24. ชีพ, ชีพ : [ชีบ, ชีบพะ] น. ชีวิต เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์; ความ เป็นอยู่, ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. (ป., ส. ชีว).
  25. ชีพิตักษัย : (ราชา) น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย, ใช้แก่หม่อมเจ้า ว่า ถึงชีพิตักษัย. (ส. ชีวิตกฺษย; ป. ชีวิตกฺขย).
  26. ชีพุก : น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
  27. ชีรณ, ชีรณะ : [ชีระนะ] ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
  28. ชีวา, ชีวี : (กลอน) น. ชีวิต. (ส. ชีวี ว่า สัตว์มีชีวิต).
  29. ชุ : (กลอน) น. ต้นไม้ เช่น กินลูกชุลุเพรางาย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ต. ชุ ว่า ต้นไม้).
  30. เช่น : น. อย่าง, ชนิด, เช่น รู้เช่นเห็นชาติ เช่นนี้ เช่นใด. ว. เหมือน, ใช้นําหน้าคําประสมได้ แปลว่า อย่าง เช่น เช่นนี้ ว่า อย่างนี้, เช่นใด ว่า อย่างใด.
  31. เชวง : [ชะเวง] (กลอน) ก. รุ่งเรือง, เลื่องลือ. (ข. เฌฺวง ว่า ปรีชารุ่งเรือง).
  32. เชื้อ ๑ : น. สิ่งที่เป็นต้นเหตุทําให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะทํานอง เดียวกัน เช่น เชื้อไฟ เชื้อเหล้า; ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือ เผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก; อย่าง เช่น ๓ เชื้อ ว่า ๓ อย่าง.
  33. เชื่อม ๑ : ก. ทําของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยว ให้ละลายแล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือ เคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความ ว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.
  34. แชร์ : น. การลงหุ้นเป็นจํานวนเงินและตามวาระที่กําหนด แล้วประมูลว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าไร ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ย สูงสุดจะได้รับเงินก่อน เวียนไปจนครบจํานวนผู้เล่น, เรียกการลงหุ้นเช่นนั้นว่า เล่นแชร์. (อ. share).
  35. ซ้อม ๑ : ก. ทําข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร โดยวิธีใส่ครกตํา เรียกว่า ซ้อมข้าว. ว. เรียกข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ ว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
  36. ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
  37. ซิก ๑, ซิก ๆ : ว. เรียกอาการที่เหงื่อไหลซึมออกมาตามตัวว่า เหงื่อไหลซิก; เรียกอาการที่ร้องไห้ค่อย ๆ ว่า ร้องไห้ซิก ๆ, กระซิก ๆ ก็ว่า.
  38. เซนติเมตร : น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า ซม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า เซ็นต์. (อ. centimetre).
  39. เซปักตะกร้อ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่ง ที่กําหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. (ม. sepak ว่า เตะ).
  40. แซง ๒ : น. เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือ กองทัพว่า ม้าแซง, ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้าง กระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแทรก ก็เรียก, เรียกเรือกราบ ซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือ พระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน ว่า เรือแซง. ก. เบียดหรือเฉียดเพื่อจะขึ้นหน้า เช่น เดินแซง ขับรถแซง แซงคิว; สอดแทรกเข้ามาในระหว่าง เช่น พูดแซง.
  41. แซม : ก. แทรกขึ้นมาในระหว่าง เช่น ฟันแซม ขนแซม, เสียบเข้าไป ในระหว่าง เช่น เด็ดดอกไม้แซมผม, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหน็บแทรก หรือสอดเข้าไปเพื่อแทนสิ่งที่ชํารุดให้ดีขึ้น เช่น แซมกระบุง แซม หลังคา. น. เรียกม้าที่มีขนสีอื่นแทรกขึ้นมาในระหว่างขนที่เป็นพื้น ว่า ม้าแซม.
  42. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  43. เฌอ : น. ไม้, ต้นไม้. (ข. เฌี ว่า ไม้, เฎิมเฌี ว่า ต้นไม้).
  44. ญิบ : (ถิ่น-พายัพ) ว. สอง เช่น ญิบพัน ว่า สองพัน, หญิบ ก็ใช้.
  45. ญี่ : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกญี่, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่.
  46. ฐานียะ : (แบบ) ว. ควรแก่ตําแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).
  47. ฐายี : (แบบ) ว. ตั้งอยู่, ดํารงอยู่, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น กัปปัฏฐายี ว่า ตั้งอยู่กัปหนึ่ง. (ป.).
  48. ดนุ, ดนู : (แบบ) (กลอน) ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส. ตนุ ว่า ตัวตน; เล็กน้อย, เบาบาง).
  49. ดวง : น. คําเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปกลม ๆ หรือที่เห็นเป็นวง ๆ เช่น ดวงดาว ดวงไฟ ดวงตรา ดวงกสิณ, และบางสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ดวงชีวิต ดวงวิญญาณ; ลักษณนามเรียก จิต วิญญาณ หรือสิ่งที่มีแสงสว่าง เช่น ดาว ไฟฟ้า ตะเกียง ว่า ดวง; ใช้ประกอบคําอื่นเป็นคําเปรียบเทียบ เช่น ดวงใจ ดวงตา ดวงสมร หมายความถึงสิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง หญิงที่รัก หรือ ลูกที่รัก; แบบรูปราศีที่บอก ดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญ เช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคํานวณไว้โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศี เรียกว่า ดวง ซึ่งเป็นคําตัดมาจาก ดวงชะตา.
  50. ดอกมะตาด, ดอกไม้ตาด : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้ บรรจุดินปืนเมื่อจุดมีสีต่าง ๆ. (เทียบอิหร่าน มะตัด ว่า ดอกไม้เทียน). ดอกไม้ น. ฟันของเด็กที่แรกขึ้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1557

(0.1347 sec)