Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พา , then , พะ, พา, วา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พา, 1557 found, display 651-700
  1. โคก ๑ : น. ที่ดินที่นูนสูงขึ้นคล้ายเนิน แต่เตี้ยกว่า. ว. ที่นูนสูงขึ้น. (ข. โคก ว่า ที่ไม่มีนํ้า, แห้ง).
  2. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  3. โคตร, โคตร- : [โคด, โคดตฺระ-] น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร; คํานี้บางทีก็นําไปใช้ในความหมายไม่สุภาพหรือเป็นคําด่า เช่น ก่นโคตร. (ส. โคตฺร; ป. โคตฺต ว่า โรงวัว, คอกวัว, วงศ์, ตระกูล).
  4. โคตรภู : [โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับ อริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนามีขนบธรรมเนียมห่าง จากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
  5. โคม : น. เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ, ตะเกียงเครื่อง ตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับ แสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า โคม, ดวง, ใบ, ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  6. โคร่ง ๑ : [โคฺร่ง] น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดําตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลําพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้ามากกว่าเสือชนิดอื่น, ลายพาดกลอน ก็เรียก. (เทียบ ข. โครฺง ว่า สูงเกินขนาด, สูงโย่ง).
  7. โฆษก : [โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา).
  8. งงิด : [งะ-] น. มืด. (ข. งงึด ว่า มืด).
  9. งบ ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นกลม ๆ เช่น งบนํ้าตาล งบนํ้าอ้อย, เรียกนํ้าตาล นํ้าอ้อย ที่ทําให้เป็นแผ่น ๆ เช่นนั้น ว่า นํ้าตาลงบ นํ้าอ้อยงบ.
  10. ง่อน : น. ก้อนดินหรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป เช่น เงื้อมง่อน ว่า เงื้อมแห่งก้อนดิน หรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป.
  11. งอน ๒ : ว. งาม ในคำว่า งามงอน. (งอน อะหม ว่า งาม).
  12. ง่า ๒ : น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ ว่า หนังง่า. (ลัทธิ).
  13. งาน ๒ : น. มาตราวัดเนื้อที่ตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๑๐๐ ตารางวา หรือ ๔๐๐ ตารางเมตร, ลักษณนามเรียกเนื้อที่ ๑๐๐ ตารางวา หรือ ๔๐๐ ตารางเมตร ว่า งานหนึ่ง หรือ ๑ งาน, อักษรย่อว่า ง.
  14. งาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)].
  15. เง้า : ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น ว่า หน้าเง้า.
  16. จ๋ง : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑๐ ว่า ลูกจ๋ง, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑๐ ว่า ลูกอัง. (กฎ. ๒).
  17. จงกลนี : [-กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอก แล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓).
  18. จงอร : [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่ง พระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  19. จดูร- : [จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  20. จตุทิพยคันธา : [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง.
  21. จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  22. จทึง : [จะทึง] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
  23. จ่ม : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. บ่น. (จ่ม ไทยดำ ว่า บ่น).
  24. จรวจ : [จฺรวด] (แบบ) ก. กรวด, หลั่งน้ำ. (เทียบ ข. จฺรวจทึก ว่า กรวดนํ้า).
  25. จรวด ๑ : [จะหฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อ จุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, กรวด ก็เรียก. (ข. กําชฺรัวจ ว่า พลุ). ว. สูงชัน, ใช้ว่า กรวด ก็มี.
  26. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  27. จระนำ : [จะระ-] น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนํา. (ทมิฬ จาฬรัม ว่า หน้าต่าง).
  28. จราญ : [จะราน] (กลอน) ก. ผลัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (ข. จฺราน ว่า ผลัก).
  29. จราส : [จะหฺราด] ว. ตลอดตัว เช่น แถวจราสศุภลักษณ์. (ลอ). (ข. จราส ว่า ทวนจากล่างไปบน).
  30. จริม- : [จะริมะ-] ว. สุดท้าย เช่น จริมจิต ว่า จิตดวงสุดท้าย. (ป.).
  31. จอง : ก. ผูกไว้; มั่นหมายไว้, ขอกําหนดไว้, เช่น จองกฐิน จองที่. (ข. จง ว่า ผูก).
  32. จ้อง ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. ร่ม. (อนันตวิภาค ว่า จ่อง).
  33. จอน ๒ : (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อน จอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ).
  34. จอบ ๑ : น. เครื่องมือสําหรับขุด พรวน หรือถากดิน ทําด้วยเหล็กหน้าแบนกว้าง มีด้ามยาว; เรียกฟันหน้าบนที่ใหญ่กว่าปรกติ ว่า ฟันจอบ.
  35. จะงอย : น. ปลายหรือที่สุดที่มีลักษณะโค้งหรืองุ้มลง เช่น จะงอยปากนกแก้ว จะงอยบ่า, ราชาศัพท์เรียก จะงอยบ่า ว่า พระอังสกุฏ.
  36. จะละเม็ด ๒ : น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Caretta caretta ในวงศ์ Cheloniidae หัวโตกว่าเต่า ทะเลชนิดอื่น เกล็ดกระดองหลังแถวข้างมี ๕ ชิ้น กระดองสีนํ้าตาลหรือ นํ้าตาลแดง ท้องสีขาวครีมพบในมหาสมุทรแปซิฟิก เขตนํ้าอุ่นของ มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย, เรียกไข่เต่าทะเลทุกชนิด ว่า ไข่จะละเม็ด.
  37. จังหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับ หลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
  38. จัณฑวาตา : (แบบ) น. ลมร้าย เช่น จัณฑวาตารําพาพาน. (สมุทรโฆษ).
  39. จัณฑาล : [จันทาน] ว. ตํ่าช้า. น. ลูกคนต่างวรรณะ. (ส. จณฺฑาล ว่า ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์).
  40. จัดจอง : (โบ) น. ทุ่น, แพ, เรือน้อย, สัดจอง ก็ว่า. (ข. สาต่ ว่า ลอย, จง ว่า ผูก).
  41. จัตวา : [จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ + ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).
  42. จันเลา, จันเลาะ : น. ลําห้วย. (ข. เชฺราะ ว่า เหว, ลําธาร).
  43. จาก ๑ : น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ อยู่ตามป่าเลนหรือริมฝั่งนํ้ากร่อยตื้น ๆ ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอก ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมมะพร้าวกับนํ้าตาล ห่อด้วยใบจากแล้วปิ้ง ว่า ขนมจาก.
  44. จาตุมหาราช : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า; เรียกหัวหน้าเทวดา ผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก์ จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า.
  45. จาบัล, จาบัลย์ : [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
  46. จารึก ๒ : ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะหรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
  47. จาว ๒ : น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
  48. จาว ๓ : ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย ตามคำแนะนำ).
  49. จาว ๕ : ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). (ลาว จาว ว่า กำลังบาน).
  50. จาว ๖ : ก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์. (สมุทรโฆษ). (ไทยขาว จาว ว่า ส่งเสียงดัง).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1557

(0.0975 sec)