Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พา , then , พะ, พา, วา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พา, 1557 found, display 801-850
  1. ดอกลำโพง : น. เครื่องช่วยในการขยายเสียง รูปเหมือนดอกลําโพง, เรียก สั้น ๆ ว่า ลําโพง.
  2. ดองฉาย, ดองหาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, ดอง กระดองหาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก. (ข. จงฺหาย ว่า ไม้สงฟาง, ดอง ว่า ด้าม, ฉาย ว่า สง).
  3. ดั้ง ๑ : ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับ อกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่า ดั้งแขวน; เรียก เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบ เรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและ, ล้อมทัพ ช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.
  4. ดัด ๒ : ก. ดาด, กั้น, เช่น ดัดพิดาน ว่า กั้นเพดาน.
  5. ดัสกร : [ดัดสะกอน] (แบบ) น. ข้าศึก. (ส. ตสฺกร; ป. ตกฺกร ว่า โจร, ขโมย).
  6. ดาน : ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียว เนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า ดินดาน, เรียก หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่นดีบุก ทองคํา รวม อยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็นดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
  7. ดามพ-, ดามพ์ : [ดามพะ-, ดาม] น. ทองแดง, สิ่งที่ทําด้วยทองแดง. (ป. ตมฺพ; ส. ตามฺร).
  8. ดาล ๒ : ก. เกิดขึ้น, เป็นขึ้น, มีขึ้น. น. พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น ดาลได ว่า ฝ่ามือ ดาลเชิง ว่า ฝ่าเท้า. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  9. ด้าว : น. แดน, ประเทศ, เช่น คนต่างด้าว; ด้าน เช่น ด้าวท้าย ว่า ด้านท้าย.
  10. ดำนา : ก. ปลูกต้นข้าวลงในนา. (ข. ดํา ว่า ปลูก).
  11. ดิง, ดึง : ก. ดีดทําเสียงดิง ๆ เช่น ดีดพิณ ใช้ว่า ดิงพิณ หรือ ดึงพิณ. (ไทยใหญ่ ดิง ว่า พิณ).
  12. ดิ่งพสุธา : น. เรียกการกระโดดร่มจากที่สูงโดยให้ตัวลอยอยู่ในอากาศก่อน เมื่อใกล้พื้นดินประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จึงกระตุกสายร่มให้กางออก ว่า กระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา.
  13. ดิรัจฉาน : [-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคําด่า), ใช้ว่า เดรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
  14. ดิลก : [ดิหฺลก] น. รอยแต้มหรือเจิมที่หน้าผากเพื่อเป็นมงคล, เลิศ, ยอด, เฉลิม. (ป., ส. ติลก ว่า ไฝ, รอยตกกระที่ผิวหนัง).
  15. ดิ่ว : ว. แน่ว, ใช้ประกอบคํา ตรง ว่า ตรงดิ่ว เช่น ถนนสายนี้ตรงดิ่วสุดลูกหู ลูกตา.
  16. ดึง : ก. เหนี่ยวมา, ฉุดมา, รั้งมา; ดีด เช่น ดึงพิณ ว่า ดีดพิณ.
  17. ดุรค, ดุรคะ : [ดุรก, ดุระคะ] (แบบ) น. ม้า. (ป., ส. ตุรค ว่า สัตว์ไปเร็ว).
  18. เด : ว. มาก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เหลือ ว่า เหลือเด คือ เหลือมาก ๆ.
  19. เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว : (สํา) ก. ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด, มักใช้เข้าคู่ กับ เด็ดบัวไม่ไว้ใย ว่า เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย.
  20. เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว : ว่า เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย.
  21. เดิม : ว. แรก เช่น แต่เดิม, เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม, ก่อน เช่น เหมือนเดิม. (ข. เฎีม ว่า ต้น).
  22. เดียรัจฉาน : [-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคําด่า), ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
  23. เดือนหงาย : น. เรียกคืนที่มีดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
  24. ตงฉิน : ว. ซื่อตรง, ซื่อสัตย์. (จ. ตงฉิน ว่า อํามาตย์ซื่อสัตย์).
  25. ตจสาร : [ตะจะสาน] น. ต้นไม้มีผิวเปลือกแข็งเช่นต้นไผ่. (ป. ตจสาร ว่า ต้นไม้มีเปลือกเป็นแก่น).
  26. ตถาคต : [ตะถาคด] น. พระนามพระพุทธเจ้า. (ป. ตถาคต ว่า พระผู้ไปแล้ว อย่างนั้น เป็นคําที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เอง).
  27. ต้นเงิน : น. เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่รวมดอกเบี้ย, เงินต้น ก็ว่า, บางทีก็พูด สั้น ๆ ว่า ต้น เช่น ต้นชนดอก.
  28. ตบะ : น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความ เพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
  29. ต้มกะทิ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อเค็ม หรือปลาแห้ง หรือปลาสลิดเป็นต้น ต้มในนํ้ากะทิ ใส่หัวหอมกับส้มมะขาม มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน; เรียก ผักชนิดต่าง ๆ ที่ต้มกับกะทิ สำหรับกินกับน้ำพริกกะปิ ว่า ผักต้มกะทิ.
  30. ตโมนุท : น. พระอาทิตย์, พระจันทร์. (ส. ตโมนุท ว่า ผู้ขจัดความมืด).
  31. ตโมไพรี : น. ไฟ. (ส. ตโมไพรี ว่า ศัตรูของความมืด).
  32. ตโมหร : น. พระจันทร์. (ส. ตโมหร ว่า ผู้คลายความมืด).
  33. ตระแบง ๒ : [ตฺระ-] ก. ผูกไขว้, ผูกบิด. (ข. ตฺรแบง ว่า ผูกไขว้ด้วยไม้ขันชะเนาะ).
  34. ตระพัง : [ตฺระ-] น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตะพัง กระพัง หรือ สะพัง ก็ว่า. (เทียบ ข. ตฺรพําง ว่า บ่อที่เกิดเอง).
  35. ตรัยตรึงศ์ : [ไตฺรตฺรึง] น. ดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้นที่พระอินทร์ครอง. (ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ; ป. เตตฺตึส ว่า สามสิบสาม).
  36. ตรีกูฏ : น. ชื่อเขา ๓ ยอดในไตรภูมิ, โบราณเรียกว่า ผาสามเส้า. (ส. ตฺริกูฏ ว่า มี ๓ ยอด).
  37. ตรีจีวร : น. ผ้า ๓ ผืน หมายถึง ผ้าของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), แต่โดยมากใช้ไตรจีวร เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร. (ส. ตฺริจีวร; ป. ติจีวร).
  38. ตรีทศ : น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).
  39. ตรีทิพยรส : [-ทิบพะยะรด] น. รสทิพย์ ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย.
  40. ตรีบูร : น. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพัน สี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กําสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).
  41. ตรีปิฎก : น. พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่ง เรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).
  42. ตรียัมปวาย : [ตฺรียําปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทํารับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญ ว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทําในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
  43. ตรีโลจน์ : น. พระศิวะ. (ส. ตฺริโลจน ว่า มี ๓ ตา).
  44. ตรีโลหะ : น. แร่ทั้ง ๓ คือ ทองแดง ทองเหลือง ทองหล่อระฆัง, หรืออีกตําราหนึ่ง ว่า ทองคํา เงิน ทองแดง. (ส. ตฺริโลห).
  45. ตลับ ๑ : [ตะหฺลับ] น. ภาชนะอย่างหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของเช่นขี้ผึ้งสีปากหรือยา โดยมาก มีรูปกลม ๆ ขนาดไม่ใหญ่นัก มีฝาปิด. (เทียบมลายู ตลป ว่า กล่องเล็ก ๆ สําหรับ ใส่หมาก).
  46. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  47. ต๊อก ๑ : น. เรียกกลองเล็ก ๆ สําหรับเคาะจังหวะดังต๊อก ๆ ว่า กลองต๊อก.
  48. ต่อเติม : ก. ขยายหรือเพิ่มให้มากหรือใหญ่ขึ้น เช่น ต่อเติมข้อความ ต่อเติมบ้าน. ว่า แก้มตอบ. มีแต้มตั้งแต่ ๑ ถึง ๖; การเล่นไพ่ป๊อกฝรั่งระหว่าง ๒ หรือ ๔ คน โดยเรียงแต้ม ไพ่จากรูป ๗ แล้วต่อแต้มสูงขึ้นไปหรือต่อแต้มตํ่าลงมา.
  49. ตอบแทน : ก. ทําทดแทนแก่ผู้ทําก่อน, ให้ทดแทนแก่ผู้ให้ก่อน, เช่น ตอบแทนบุญคุณ, บางทีใช้สั้น ๆ ว่า ตอบ เช่น เลี้ยงตอบ.
  50. ต๋อม : ว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า เงียบไป (ใช้แก่กริยาหาย ว่า หายต๋อม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1557

(0.1117 sec)