Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พา , then , พะ, พา, วา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พา, 1557 found, display 551-600
  1. ขนาย : [ขะหฺนาย] น. งาช้างพัง. (ข. ขฺนาย ว่า เขี้ยวหมู).
  2. ขมเป็นยา : (สำ) น. คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด, มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา.
  3. ขมอง : [ขะหฺมอง] (ปาก) น. สมอง เช่น ปวดขมอง. (ข. ขฺมง ว่า ไขในกระดูก).
  4. ขม่อม : [ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่า ส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะ มีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่อ อ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
  5. ขมอย : [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่า ฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่ หรือของน้อง).
  6. ขลวน : [ขฺลวน] น. ตัว. (ข. ขฺลวน ว่า ตัว, ตน).
  7. ขลิบ : [ขฺลิบ] ก. เย็บหุ้มริมผ้าและของอื่น ๆ เพื่อกันลุ่ยหรือเพื่อให้งามเป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ขยิบ เช่น ขลิบตา ว่า ขยิบตา.
  8. ขลึง : [ขฺลึง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล่น เช่น พูดขลึง ว่า พูดเล่น.
  9. ขลุกขลุ่ย : ว. ง่วนอยู่, คลุกคลีอยู่; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) สบาย เช่น นอนหลับ ขลุกขลุ่ย ว่า นอนหลับสบาย.
  10. ขลุบ : [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  11. ขวง ๓ : (ถิ่น-พายัพ) น. กรง เช่น ขวงนก ว่า กรงนก.
  12. ขวง ๔ : น. ผี เช่น เสียขวง ว่า เสียผี.
  13. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  14. ขวัญอ่อน ๑ : น. เรียกผู้ตกใจง่ายคือเด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหาย บ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน.
  15. ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
  16. ขอก : น. เขต, แดน; (ถิ่น-พายัพ) ริม, ขอบ, เช่น ไปขอกฟ้า ว่า ไปริมฟ้า.
  17. ขอฉาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย คันฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
  18. ขัดตะหมาด : (ปาก) ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.
  19. ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
  20. ขาไก่ ๑ : น. เรียกขนมปังกรอบค่อนข้างแข็ง ขนาดโตเท่านิ้วหัวแม่มือ ยาวประมาณ ๘ นิ้ว ว่า ขนมปังขาไก่.
  21. ขาง ๑ : น. ไข่แมลงวัน เรียกว่า ไข่ขาง. (อะหม ขาง ว่า ขว้าง, วาง, ทิ้ง).
  22. ข่าง ๓ : (ถิ่น-พายัพ) ก. ระบาย, ถ่าย, เช่น ข่างนํ้า ว่า ระบายนํ้า.
  23. ขาง ๔ : (ถิ่น-อีสาน) ก. อัง, ทําให้ร้อน, ทําให้สุก, เช่น เอาขี้ผึ้งไปขางไฟ ว่า เอาขี้ผึ้งไปอังไฟ.
  24. ข้างควาย : น. เรียกไม้ขนาบใกล้สันหลังคา ๒ ข้างจากหลบ มีไม้ เสียบหนูยึดกลัดให้แน่น ว่า ไม้ข้างควาย.
  25. ขาน ๒ : ว. ใช้ประกอบต่อคํา ``ตาย'' ว่า ไม้ตายขาน หมายความว่า ต้นไม้ที่ ยืนต้นตายเป็นแถว ๆ.
  26. ข้าพเจ้า : [ข้าพะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  27. ข้าวเม่า ๒ : น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae เป็นปลาขนาด เล็ก ลําตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง แหลม และมักชี้กาง ทําให้ทิ่มตําเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียกปลาทะเลชนิด Ephippus orbis ในวงศ์ Ephippidae Chela วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย.
  28. ข้าวเส้น : (ถิ่น-พายัพ) น. ขนมจีน, ขนมเส้น ก็เรียก. (ไทยใหญ่ ว่า เส้นหมี่).
  29. ข้าวหลามตัด : น. ข้าวเหนียวนึ่งอัดใส่ถาดโรยถั่วทอง ตัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มักกินกับข้าวหมาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้าน ขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ก็เรียก.
  30. ข้าวใหม่ปลามัน : (สํา) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียก ช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.
  31. ขิก : (ปาก) น. เรียกรูปจําลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง ว่า ไอ้ขิก อ้ายขิก หรือ ปลัดขิก, ขุนเพ็ด ก็เรียก.
  32. ขิปสัทโท : [ขิปะ-] (ราชา) ก. กระแอม. (จินดามณี). (ป. ขิปิตสทฺท ว่า เสียงจาม).
  33. ขี้หดตดหาย : (ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจน ขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก.
  34. ขุก ๑ : ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลําบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
  35. ขุด : ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่ ต้องการ เช่น ขุดหลุม; เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือ ให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขุดเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาพูด, ขุดคุ้ย หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
  36. เขจร : [-จอน] ก. บินไป, เหาะไป. (ส. เขจร ว่า ไปในอากาศ).
  37. เขน ๒ : น. เรียกตัวแสดงโขนพวกหนึ่งซึ่งเป็นพลรบ มีหน้าที่ออกเต้น ในเวลายกทัพ ว่า พลเขน, เรียกอาการเต้นของพลเขนว่า เต้นเขน.
  38. เขมา ๒ : [ขะเหฺมา] น. โกฐเขมา. (ดู โกฐเขมา ที่ โกฐ). (ข. เขฺมา ว่า ดํา).
  39. เขยียวขยอน : [ขะเหฺยียวขะหฺยอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, เกรียวกราว. (ข. เขฺญียวขฺญาร ว่า เจื้อยแจ้ว).
  40. เขลาะ : [เขฺลาะ] ว. กําเลาะ, หนุ่ม, สาว. (ข. เขฺลาะ ว่า หนุ่ม).
  41. เข้าพรรษา : น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจําพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. ก. เข้าอยู่ประจําที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).
  42. เข้ารางลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น.
  43. แข่งดี : ก. มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กัน, มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมผ่อนปรนให้แก่กัน.
  44. โขมด ๑ : [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้ว ติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).
  45. โขลนทวาร : [โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทําเป็น ประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบน ร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพ ที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน).
  46. คงคา ๑ : น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้า สําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.
  47. คนดีผีคุ้ม : (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  48. คนธรรพ-, คนธรรพ์ : [คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชํานาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ).
  49. คนธรรพวิวาห์ : [คนทันพะ-] น. การได้เสียเป็นผัวเมียกันเองโดย ไม่แต่งงาน. (ส. คนฺธรฺววิวาห).
  50. คนร้ายตายขุม : (สำ) น. คนทำชั่วย่อมตกนรก, มักใช้เข้าคู่กับ คนดีผีคุ้ม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1557

(0.1019 sec)