Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หนังสือแนะนำ, หนังสือ, แนะนำ , then แนะนำ, หนงสอนนำ, หนังสือ, หนังสือแนะนำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หนังสือแนะนำ, 346 found, display 151-200
  1. นิพนธ์ : น. เรื่องที่แต่งขึ้น, (ราชา) พระนิพนธ์, พระราชนิพนธ์. ก. ร้อยกรอง ถ้อยคํา, แต่งหนังสือ, (ราชา) ทรงนิพนธ์, ทรงพระนิพนธ์, ทรงพระราช นิพนธ์. (ป., ส. นิพนฺธ).
  2. นิพันธ์ : น. นิพนธ์, เรื่องที่แต่งขึ้น. ก. ร้อยกรองถ้อยคํา, แต่งหนังสือ. (ป., ส.).
  3. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  4. นูน : ว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.
  5. บ ๒, บ่ : [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
  6. บทบรรณาธิการ : น. ข้อเขียนที่บรรณาธิการหรือนักเขียนชั้นนํา เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นแนวของหนังสือนั้น ๆ, บทนํา ก็ว่า.
  7. บน ๑ : ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของตอบ แทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บนบาน ก็ว่า. ว. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง, เช่น ข้างบน ชั้นบน เบื้องบน. บ. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ เช่น นั่งอยู่บนเรือน วางมือบนหนังสือ มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ.
  8. บรรณพิภพ, บรรณโลก : (แบบ) น. วงการหนังสือ.
  9. บรรณสาร : (โบ) น. หนังสือราชการ.
  10. บรรณาคม : [บันนาคม] น. ห้องหนังสือ.
  11. บรรณานุกรม : [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบ การค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใด ยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือ บทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.
  12. บรรทัด : [บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็น แนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่ เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียก ตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้น ว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตี หรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้นหรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.
  13. บริคณห์สนธิ : (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัท จํานวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของ กฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
  14. บริษัทมหาชนจำกัด : (กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจํากัดไม่เกิน จํานวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชําระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
  15. บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
  16. บอกคำบอก : ก. บอกหรืออ่านหนังสือให้เขียนตาม.
  17. บอด : ว. มืด, ไม่เห็น, (ใช้แก่ตา); สกปรก เช่น หัวเทียนบอด; ไม่มีแวว เป็น วงทึบไม่โปร่ง (ใช้แก่หัวตัวหนังสือ) เช่น เขียนหนังสือหัวบอด; เรียก นมที่หัวบุ๋มเข้าไปว่า นมตาบอด หรือ นมบอด.
  18. บัตรหมาย : น. หนังสือเกณฑ์ในทางราชการ.
  19. บันไดแก้ว : น. ที่รองพระคัมภีร์และลานสําหรับจารหนังสือ, ที่สําหรับ พาดพระแสง.
  20. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  21. บุพบท : น. คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.
  22. แบ : ก. แผ่ให้แบนออก เช่น แบมือ, กางแผ่ออก เช่น แบหนังสือไว้. ว. อาการที่เปิดแผ่หรือวางทิ้งไว้อย่างไม่เอาใจใส่เป็นต้น เช่น นอนแบ เปิดแบไว้ ทิ้งแบไว้.
  23. แบะ : ก. แบออก เช่น แบะหนังสือ, ทําให้อ้า เช่น แบะทุเรียน. ว. อ้า, ที่เปิดกว้างออกไป, เช่น ถูกฟันหัวแบะ; มีลักษณะกางออกหรือ ถ่างออก เช่น ล้อแบะ.
  24. โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
  25. ใบ : น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว; สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม; แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน; เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ; ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ.
  26. ใบจอง : (กฎ) น. หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดิน ชั่วคราวในเขตท้องที่ที่ยังมิได้ประกาศเขตสํารวจที่ดิน หรือ ในกรณีที่สภาพของที่ดินเป็นแปลงเล็กแปลงน้อย ซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นผู้ออกให้.
  27. ใบไต่สวน : (กฎ) น. หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนด ที่ดิน และหมายความรวมถึงใบนำด้วย.
  28. ใบเบิก : น. หนังสือเบิกสิ่งของต่าง ๆ.
  29. ใบเบิกทาง : (ปาก) น. หนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่าน, หนังสือเบิกทาง ก็เรียก.
  30. ใบปก : น. กระดาษหรือผ้าหรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุด หรือหนังสือ, ปก ก็เรียก.
  31. ใบรับ : น. หนังสือที่แสดงว่าได้รับเงินหรือสิ่งของเป็นต้น ไว้แล้ว.
  32. ใบสั่ง : น. หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้ เช่น ใบสั่งยา ใบสั่งจ่าย ใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับ.
  33. ใบสั่งจ่าย : น. หนังสือคําสั่งให้จ่ายเงินหรือสิ่งของ.
  34. ใบสำคัญประจำตัว : (กฎ) น. หนังสือประจำตัวของคนต่างด้าวซึ่ง นายทะเบียนได้ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว.
  35. ปก ๑ : ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้า หรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบ ลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.
  36. ปทานุกรม : น. หนังสือสําหรับค้นคว้าความหมายของคําที่เรียงตามลําดับบท.
  37. ประท้วง : ก. กระทําการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้าน เพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง เขียนหนังสือประท้วง.
  38. ประทวน : น. ฐานันดรที่ตํ่ากว่าชั้นสัญญาบัตร เช่น นายทหารชั้นประทวน; สมณศักดิ์ชั้นตํ่ากว่าพระครูสัญญาบัตร; (โบ) หนังสือแทนสารกรมธรรม์.
  39. ประทานบัตร : [ปฺระทานนะบัด, ปฺระทานบัด] (กฎ) น. หนังสือสําคัญ ที่ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เพื่อให้มีสิทธิทําเหมืองแร่ภายในเขต ที่กําหนดในหนังสือสําคัญนั้น; ใบอนุญาตซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดออก ให้แก่บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทําการประมงในที่ว่าประมูล.
  40. ประมวล : ปฺระมวน] ก. รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น ประมวญ ก็มี. น. หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.
  41. ประมวลการสอน : น. หนังสือหรือเอกสารที่แสดงเนื้อหาของหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน.
  42. ประโลมโลก : ว. เกี่ยวกับเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เช่น หนังสือประโลมโลก นิยายประโลมโลก.
  43. ปริทัศน์ : [ปะริทัด] น. การวิจารณ์; หนังสือประเภทวารสารที่วิจารณ์ข่าว หรือเรื่องราวต่าง ๆ. (ส. ปริ + ทรฺศน).
  44. ปรู๊ฟ : [ปฺรู๊บ] น. เรียกกระดาษที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพตํ่ากว่ากระดาษ ปอนด์และกระดาษอาร์ต ว่า กระดาษปรู๊ฟ; งานพิมพ์เป็นต้นเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย. (ปาก) ก. พิสูจน์อักษร.
  45. ปอนด์ : น. ชื่อหน่วยเงินตราของอังกฤษเท่ากับ ๑๐๐ เพนซ์, ปอนด์สเตอร์ลิง ก็เรียก; ชื่อหน่วยมาตราชั่งของอังกฤษ เท่ากับ ๔๕๔ กรัม หรือ ๑๖ ออนซ์; เรียกกระดาษฟอกเนื้อดี สีขาว ที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพ ดีกว่ากระดาษปรู๊ฟ ว่า กระดาษปอนด์. (อ. pound).
  46. ปอเนาะ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. โรงเรียนที่สอนหนังสือและอบรมศาสนาอิสลาม.
  47. ปักษ-, ปักษ์ : [ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดํา หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).
  48. ปัจฉิมลิขิต : [ปัดฉิม-] น. ''เขียนภายหลัง'' คือหนังสือที่เขียนเพิ่ม เติมลงท้ายเมื่อเซ็นชื่อแล้ว, ใช้อักษรย่อว่า ป.ล.
  49. ปากต่อปาก : ก. เล่าโดยการบอกต่อ ๆ กัน; เรียนโดยการบอกด้วย ปากเปล่า (มักใช้แก่ผู้ไม่รู้หนังสือ).
  50. ปากเปล่า : ก. ว่าโดยไม่ดูตัวหนังสือ เช่น เทศน์ปากเปล่า, เรียกวิธีสอบ โดยใช้วาจาแทนการเขียนคำตอบว่า สอบปากเปล่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-346

(0.0773 sec)