Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หนังสือแนะนำ, หนังสือ, แนะนำ , then แนะนำ, หนงสอนนำ, หนังสือ, หนังสือแนะนำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หนังสือแนะนำ, 346 found, display 251-300
  1. รับช่วง : ก. รับทอดต่อเนื่องกันไป เช่น รับช่วงงานที่คนเก่าทำค้างไว้ น้องรับช่วงหนังสือเรียนจากพี่.
  2. รางวัล : น. สิ่งของหรือเงินที่ได้มาเพราะความดีความชอบหรือความสามารถ เช่น รางวัลผู้มีมารยาทงามรางวัลสังข์เงิน รางวัลตุ๊กตาทอง หรือเพราะชนะ ในการแข่งขันเช่น รางวัลชนะเลิศในการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนา แก่เด็กรางวัลชนะเลิศฟุตบอล หรือเพราะโชค เช่นถูกสลากกินแบ่งรางวัล ที่ ๑; (กฎ) เงินตราที่จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทําความผิด; ค่าตอบแทนที่ให้แก่ผู้ซึ่งกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งสําเร็จตามที่บ่งไว้. ก. ให้สิ่งของโดยความชอบหรือเพื่อเป็นสินนํ้าใจเป็นต้น.
  3. ราชกิจจานุเบกษา : น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับ ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  4. รุ่มร่าม : ก. เกินพอดี, เกินที่ควรเป็น, เช่น หนวดเครารุ่มร่าม, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, เช่น แต่งหนังสือสำนวนรุ่มร่าม, ไม่เรียบร้อย เช่น กิริยารุ่มร่าม, ปรกติ ใช้เกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ยาวหรือใหญ่เกินตัว เช่น แต่งตัวรุ่มร่าม.
  5. เริงรมย์ : ว. ที่ทำให้รื่นเริงหรือบันเทิงใจ เช่น หนังสือเริงรมย์ สถาน เริงรมย์.
  6. เรียงความ : ก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะ ที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.
  7. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  8. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  9. โรงพิมพ์ : น. สถานที่พิมพ์หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ.
  10. ฤๅษีแปลงสาร : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษร ข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มี ความหมายตรงกันข้าม.
  11. ลบเลือน : ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนเห็นหรือจําได้แต่ราง ๆ เช่น ตัวหนังสือลบเลือน ความจําลบเลือน.
  12. ลับ ๒ : ว. ที่อยู่ในที่พ้นตา, ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็น, เช่น ที่ลับ ประตูลับ หายลับ, ที่ปกปิดหรือควรปกปิด เช่น ความลับ หนังสือลับ ห้องลับ, มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังอยู่ เช่น ของอยู่ลับฝา พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา.
  13. ลา ๓ : ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
  14. ลาตาย : น. การที่ทายาทหรือญาติของผู้ตายซึ่งขอพระราชทานนํ้า อาบศพนำธูปเทียนแพ กระทงกรวยดอกไม้ และหนังสือกราบถวาย บังคมลาตายไปกราบถวายบังคมลาที่สํานักพระราชวัง เป็นการ กราบทูลข่าวการตายของผู้นั้นให้ทรงทราบ.
  15. ลาน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
  16. ลามก : [–มก] ว. หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจ ของคนดีมีศีลธรรม, เช่น หนังสือลามก พูดลามก ทำลามก. (ป.).
  17. ลายมือ : น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลาย มือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมี ลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลาย มือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึง จดหมายของเจ้านายด้วย.
  18. ลายมือชื่อ : (กฎ) น. ชื่อของบุคคลซึ่งบุคคลนั้นเขียนลงไว้ในหนังสือ หรือเอกสารเพื่อรับรองหรือแสดงว่าตนเป็นผู้ทําหนังสือหรือเอกสาร นั้น และหมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมายซึ่งบุคคล ลงไว้แทนลายมือชื่อของตนด้วย; (ปาก) ลายเซ็น.
  19. ลายลักษณ์ : น. ตัวหนังสือ, เครื่องหมายเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร อียิปต์โบราณ.
  20. ลายลักษณ์อักษร : น. เครื่องหมายขีดเขียนเป็นตัวหนังสือ เช่น เรื่องนี้ ควรบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร.
  21. ลายสือ : (โบ) น. ตัวหนังสือ.
  22. ลิขิต : น. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์). ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. (ป., ส.).
  23. ลิปิ : น. ตัวหนังสือ. (ป., ส.).
  24. ลิปิกร, ลิปิการ : น. เสมียน, ผู้เกี่ยวกับการเขียนหนังสือ. (ป., ส.).
  25. ลุ : ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสําเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.
  26. ลูกเหม็น : น. สารอินทรีย์ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ทำเป็นลูกกลม มีกลิ่นไม่ชวนดม ใช้ใส่ตู้หนังสือเป็นต้นเพื่อกันแมลงบางชนิด.
  27. เลขานุการ : น. ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือหรืออื่น ๆ ตามที่ ผู้บังคับบัญชาสั่ง.
  28. เล่นเพลงยาว : (โบ; สํา) ก. ลอบมีจดหมายรักต่อกัน เช่น ไม่อยากเล่น เพลงยาวชื่อฉาวเอย. (สักวาของคุณพุ่ม), เขียนหนังสือโต้ตอบกัน ไปมาไม่รู้จักจบ.
  29. เล่นหาง : ว. เรียกลักษณะการเขียนหนังสือที่ตวัดปลายตัวอักษรให้ ยาวออกเกินปรกติว่า เขียนเล่นหาง; เรียกลักษณะท่าเต้นของการ เชิดสิงโตโดยม้วนตัวงับหางตัวเองว่า สิงโตเล่นหาง; อาการที่ว่าว ปักเป้าติดลมสะบัดหางพลิ้วไปมา.
  30. วกวน : ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือ วกวนอ่านไม่เข้าใจ.
  31. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  32. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  33. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี.
  34. วัตถุดิบ : น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้า สําเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
  35. วาน ๓ : ก. ขอให้ช่วยทําแทนตัว เช่น วานเขียนหนังสือให้หน่อย วานไปซื้อ ตั๋วรถไฟ.
  36. วารสาร : น. หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน วารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์.
  37. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  38. วิทยาทาน : น. การให้ความรู้ เช่น ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน จัดพิมพ์หนังสือแจกเป็นวิทยาทาน.
  39. วิทยุคมนาคม : น. การส่งหรือการรับเครื่องหมายสัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
  40. เว้นช่องไฟ : ก. เว้นช่องว่างระหว่างตัวหนังสือหรือลวดลายแต่ละตัว.
  41. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  42. โวหาร : น. ชั้นเชิงหรือสํานวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคําที่ เล่นเป็นสําบัดสํานวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).
  43. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  44. ไวยาวัจกร : [วัดจะกอน] น. คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต และมีอํานาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้า อาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ. (ป. เวยฺยาวจฺจกร).
  45. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  46. ศูนย, ศูนย์ : [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
  47. สงเคราะห์ : [เคฺราะ] น. การช่วยเหลือ, การอุดหนุน, เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์; การรวบรวม เช่น หนังสือนามสงเคราะห์. ก. อุดหนุน เช่น สงเคราะห์ เด็กกำพร้า. (ส. สงฺคฺรห; ป. สงฺคห).
  48. ส่งเสีย : ก. ให้การอุดหนุน, เกื้อกูล, เช่น ส่งเสียลูกเรียนหนังสือ.
  49. สนธิสัญญา : น. หนังสือสัญญาที่สําคัญยิ่งและทําเป็นตราสาร สมบูรณ์แบบ, ความตกลงระหว่างประเทศ; หนังสือสัญญาที่ทําขึ้น ระหว่างประเทศเอกราชตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไป. (อ. treaty).
  50. สนับมือ : น. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด; เครื่องสวมมือ มักทําด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสําหรับสวม นิ้วมือเวลาชก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-346

(0.0978 sec)