Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หนังสือแนะนำ, หนังสือ, แนะนำ , then แนะนำ, หนงสอนนำ, หนังสือ, หนังสือแนะนำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หนังสือแนะนำ, 346 found, display 51-100
  1. การ์ตูน ๑ : น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจ ล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆมีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
  2. การสื่อสาร : น. วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือเป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีก สถานที่หนึ่ง.
  3. กำกับ : ก. ดูแล, ควบคุม; ควบ ในความเช่น มีหนังสือกํากับมาด้วย.
  4. กำเนิด : [กําเหฺนิด] น. การเกิด เช่น บิดามารดาเป็นผู้ให้กําเนิดแก่บุตร, มูลเหตุดั้งเดิม เช่น ตัวหนังสือไทยมีกําเนิดมาอย่างไร. ก. เกิด, มีขึ้น, เป็นขึ้น, เช่น โลกกําเนิดมาจากดวงอาทิตย์.
  5. เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  6. เก็บเล่ม : ก. รวบรวมหนังสือหรือแผ่นภาพที่พิมพ์ไว้แล้ว เรียงตามลําดับเลขหน้าเข้าเป็นเล่ม (ใช้แก่การพิมพ์).
  7. เกลี้ยงเกลา : ว. หมดจดหรือเรียบร้อย เช่น หน้าตาเกลี้ยงเกลา หนังสือเล่มนี้สํานวนเกลี้ยงเกลา.
  8. เกษียน : [กะเสียน] น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคําสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน. ก. เขียน. ว. เล็กน้อย. (แผลงมาจาก เขียน).
  9. ข้อเสนอแนะ : น. ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำที่เสนอเพื่อพิจารณา.
  10. ข้าพระ : (โบ) น. ผู้ที่นายเงินทำหนังสือสำคัญยกให้เป็นคนใช้ของสงฆ์, คนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์ เพื่อรักษาวัดและ ปฏิบัติพระสงฆ์.
  11. ข้าม ๑ : ก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู, ผ่านจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง เช่น ข้ามฟาก ข้ามถนน, ล่วงพ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามมหาสมุทร, ล่วงพ้น ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามวันข้ามคืน, ผ่านเลยลําดับ เช่น ข้ามชั้น อ่านหนังสือข้าม.
  12. ขีดคั่น : ก. ขีดกั้นไว้, กำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น อ่านหนังสือไปถึงไหนแล้ว ให้ทำเครื่องหมายขีดคั่นไว้.
  13. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  14. เข้าปก : ก. เย็บปกหนังสือ. เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวัน ที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า.
  15. เข้าเล่ม : ก. เรียงหน้าหนังสือให้เป็นลําดับเพื่อเย็บเป็นเล่ม เรียกว่า เข้าเล่มหนังสือ.
  16. เขียดตะปาด : ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ, วาด, แต่งหนังสือ.
  17. คนละ : ว. คนหนึ่ง ๆ, แต่ละคน, เช่น เก็บเงินคนละ ๕ บาท; ต่างหากจากกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เช่น ผ้าคนละชนิด หนังสือคนละเล่ม.
  18. คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
  19. ควบคู่ : ก. เข้าคู่กัน, ทำพร้อมกัน, เช่น เขาเรียนหนังสือควบคู่กับทำงาน.
  20. คัด ๑ : ก. เลือก, แยกสิ่งที่รวมกันอยู่, เช่น คัดออก คัดเอาไว้, งัดให้เผยอหรือ เคลื่อนที่ เช่น คัดไม้ซุง, ใช้พายหรือแจวงัดนํ้าออกจากตัว, ตรงข้ามกับ วาดเรือ; ลอกข้อความหรือลวดลายออกมาจากต้นฉบับ เช่น เอาหนังสือนี้ ไปคัด. (อะหม คัด ว่า แยก, ทําให้แยก).
  21. คัมภีร-, คัมภีร์ : [คําพีระ-, คําพี] น. หนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์ เป็นต้น; ลักษณนามเรียกหนังสือตําราเหล่านี้ เช่น คัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์ โหราศาสตร์ ๒ คัมภีร์. ว. ลึกซึ้ง. (ป.).
  22. คำขอ : (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อ ขอให้ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
  23. คำแถลง : [-ถะแหฺลง] (กฎ) น. คําชี้แจงต่อศาลด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  24. คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
  25. คำนำ : น. คําอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น.
  26. คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
  27. คำปรารภ : น. คํากล่าวแสดงความดําริที่จัดพิมพ์หนังสือนั้น.
  28. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  29. คำฟ้อง : (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
  30. คุ้มห้าม : ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือ เป็นตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
  31. คู่ฉบับ : (กฎ) น. หนังสือหรือเอกสารที่ทําขึ้นเป็นต้นฉบับตั้งแต่ ๒ ฉบับขึ้นไป มีข้อความตรงกัน โดยฉบับหนึ่งเป็นคู่ฉบับของ อีกฉบับหนึ่ง.
  32. โคมูตร : [-มูด] น. เครื่องหมายสุดเรื่องในหนังสือรุ่นเก่า มีรูปดังนี้ ๛; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาววานร ดาวงอนไถ ดาวงูผู้ ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก.
  33. จดหมาย : น. หนังสือที่มีไปมาถึงกัน.
  34. จดหมายเวียน : น. (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงคนจํานวนมาก.
  35. จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
  36. จม : ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
  37. จัด ๒ : ก. ตกแต่ง เช่น จัดบ้าน, ทําให้เรียบ, วางระเบียบ, เรียงตามลําดับ, เช่น จัดแถว จัดหนังสือ; นับ เช่น จัดว่าเป็นความดี.
  38. จาร ๑ : [จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).
  39. จาว ๓ : ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย ตามคำแนะนำ).
  40. จ้ำ ๑ : ก. พายเรือแจวถี่ ๆ เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้ายจ้ำแทง. ว. อาการที่ทำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายเรือจ้ำเอา ๆ เขียนหนังสือจ้ำเอา ๆ.
  41. จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
  42. จุลวงศ์ : [จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.
  43. ฉบบ : [ฉะ-] น. แบบ, เล่มหนังสือ, เรื่อง. (ข. จฺบาบ่).
  44. ฉบับ : [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
  45. ฉลอง ๑ : [ฉะหฺลอง] ก. ทําบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดง ความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริก เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
  46. โฉนดที่ดิน : (กฎ) น. หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน.
  47. ชน ๒, ชน : [ชนนะ] น. คน (มักใช้ในภาษาหนังสือ).(ป., ส.).
  48. ชนวน ๑ : [ชะ] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่น และละเอียดมีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี;เรียกกระดานเขียน หนังสือทําด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้ จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไปติดดิน ระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน; เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยาย หมายความว่า ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม.
  49. ช่องไฟ : น. ช่องว่างระหว่างตัวหนังสือ; (ศิลปะ) บริเวณที่ เว้นไว้เป็นพื้นเท่า ๆ กันระหว่างลวดลายแต่ละตัว.
  50. ชอบ : ก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว; เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก, บางทีใช้หมายความไปในเชิง ว่ารักใคร่ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน; มีสิทธิ์ เช่น ชอบ ที่จะทําได้.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-346

(0.0889 sec)