Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หนังสือแนะนำ, หนังสือ, แนะนำ , then แนะนำ, หนงสอนนำ, หนังสือ, หนังสือแนะนำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หนังสือแนะนำ, 346 found, display 301-346
  1. สมใจ : ก. เป็นไปดังที่คิดไว้ เช่น เขาอยากได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว วันนี้มีคนเอามาให้ ก็เลยได้ไว้สมใจ.
  2. สมน้ำหน้า : ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  3. สร้อย ๓ : [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา สุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัย ราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.
  4. สลัก ๒ : [สะหฺลัก] ก. ทําให้เป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีใช้สิ่วสกัด ตัด ตอก ดุน เป็นต้น เช่น สลักไม้ สลักลูกนิมิต หรือใช้สิ่งอื่นขูด ขีด ให้เป็นตัวหนังสือเป็นต้น เช่น สลักชื่อบนหีบบุหรี่. (เทียบ ม. selak).
  5. ส่วนพระองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้า ขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์.
  6. สอด : ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับ เพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลัง พูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
  7. สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  8. สอนใจ : ว. ที่เตือนสติตนเอง เช่น สุภาษิตสอนใจ หนังสือสอนใจ.
  9. สอบทาน : ก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับ หรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น.
  10. สะดุด ๒, สะดุด ๆ : ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่าน หนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
  11. สะเพร่า : [เพฺร่า] ว. อาการที่ทําอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า ไม่สะอาด.
  12. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  13. หนังสือเดินทาง : น. หนังสือสําคัญประจําตัวซึ่งทางราชการของประเทศ หนึ่งออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อให้ความคุ้มครองในการ เดินทางไปในดินแดนต่างประเทศ.
  14. หน้าโฉนด : [-ฉะโหฺนด] (ปาก) น. หนังสือสำคัญของทางราชการ แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน.
  15. หนามเตย : น. ลายหยักบนตัวหนังสือขอม; ส่วนที่เป็นหยัก ๆบนหลัง จระเข้; โลหะที่มีลักษณะเป็นเขี้ยวคล้ายหนามสำหรับเกาะยึดหัวแหวน เป็นต้น.
  16. หมวด : [หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับ หมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้อง มียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือ หรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็น จุกเดียวกัน.
  17. หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
  18. หมายเกณฑ์ : (กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ที่ถูกเกณฑ์.
  19. หมายอาญา : (กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จําคุก หรือปล่อย ผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนาหมายเช่นนี้ อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับ แล้วด้วย.
  20. หมึก ๑ : น. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดําจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่า ดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียน หรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ ลายมือ.
  21. หวงแหน : [-แหนฺ] ก. หวงมาก เช่น หนังสือเล่มนี้หายาก เจ้าของหวงแหน เหลือเกิน.
  22. หวย ก ข : น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะ ในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีน มาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก.
  23. ห้องสมุด, หอสมุด : น. ห้องหรืออาคารที่มีระบบจัดเก็บรวบรวมรักษา หนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งต้นฉบับ ลายมือเขียน ไมโครฟิล์ม เป็นต้น เพื่อใช้เป็นที่ค้นคว้าหาความรู้.
  24. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  25. หัวเข้า : น. หัวของตัวหนังสือที่ม้วนเข้าอยู่ภายในเส้นกรอบของตัวอักษร เช่น ตัว ถ ตัว ผ, ตรงข้ามกับ หัวออก. (ดู หัวออก).
  26. หัวออก : น. หัวของตัวหนังสือที่ม้วนออกนอกเส้นกรอบของตัวอักษร เช่น ตัว พ ตัว ภ, ตรงข้ามกับ หัวเข้า.
  27. หาง : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ใน ราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้ง เช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสง ลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วน ที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของ ตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
  28. หิ้ง : น. ที่วางของซึ่งแขวนหรือติดไว้ข้างฝา เช่น หิ้งพระหิ้งหนังสือ.
  29. หูชอง : น. เชือกใบลานสําหรับมัดลานหนังสือ.
  30. อภิธาน : น. หนังสืออธิบายศัพท์เฉพาะเรื่อง เช่น อภิธานประวัติศาสตร์ไทย. (ป., ส.).
  31. อักขรวิธี : น. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).
  32. อักขรสมัย : [อักขะหฺระสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่าน การเขียน. (ป.).
  33. อักขร, อักขระ : [อักขะหฺระ] น. ตัวหนังสือ. (ป.; ส. อกฺษร).
  34. อักขรานุกรม : น. หนังสือสําหรับค้นชื่อเรียงลําดับตามตัวอักษร. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ น. หนังสือสําหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์ เรียงลําดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).
  35. อักษรเลข : [อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตําแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่ โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.
  36. อักษรศาสตร์ : [อักสอระสาด, อักสอนสาด] น. วิชาการหนังสือ เน้น ในด้านภาษาและวรรณคดี.
  37. อักษรสมัย : [อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่าน การเขียน. (ส.).
  38. อักษร, อักษร : [อักสอน, อักสอระ, อักสอน] น. ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ เช่น ฉลาดรอบรู้ในอักษรสยาม. (ส.; ป. อกฺขร).
  39. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  40. อ้างอิง : ก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง.
  41. อ่าน : ก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้า ไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้ เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).
  42. อ่านเล่น : ก. อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น เอาหนังสือไปอ่านเล่น สัก ๒ เล่มซิ. ว. ที่แต่งขึ้นให้อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ในคำว่า หนังสืออ่านเล่น.
  43. อาลักษณ์ ๑ : น. ผู้ทําหน้าที่ทางหนังสือในราชสํานัก.
  44. อุเทศ : น. การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง. ว. ที่ยกขึ้นแสดง, ที่ยกขึ้น ชี้แจง; ที่อ้างอิง เช่น หนังสืออุเทศ. (ส. อุทฺเทศ; ป. อุทฺเทส).
  45. เอกสาร : [เอกกะ] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือ วัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทําให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.
  46. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-346]

(0.0857 sec)